ดาวเคราะห์ 2 พวก
ดาวเคราะห์ 8 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ อาจแบ่งได้เป็น 2 พวก คือ ดาวเคราะห์ชั้นใน (Inner planets) และดาวเคราะห์ชั้นนอก (Outer planets) ดาวเคราะห์ชั้นใน คือ พวกที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ดาวเคราะห์ขั้นนอก คือ พวกที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ ตั้งแต่ดาวพฤหัสบดีออกไป ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน คำอื่นที่ใช้เรียกดาวเคราะห์ชั้นใน คือ ดาวเคราะห์แบบโลก (Terrestrial planets) หรือ ดาวเคราะห์หิน (Rocky planets) และคำที่ใช้เรียกดาวเคราะห์ชั้นนอก คือ ดาวเคราะห์ยักษ์ (Giant planets) หรือ ดาวเคราะห์แบบดาวพฤหัสบดี (Jovian planets) หรือดาวเคราะห์แก๊ส (Gaseous planets)
การแบ่งดาวเคราะห์ในลักษณะอื่น คือ การแบ่งตามขนาดของวงคจร กล่าวคือ ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรเล็กกว่าวงโคจรของโลก 2 ดวง ได้แก่ ดาวพุธกับดาวศุกร์ เรียกว่า ดาวเคราะห์วงใน (Inferior planets) ส่วนดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรใหญ่กว่าวงโคจรของโลก ได้แก่ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน เรียกว่า ดาวเคราะห์วงนอก (Exterior planets) ถ้าแบ่งดาวเคราะห์แบบนี้ทำให้โลกไม่อยู่ในพวกใดพวกหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการวัดคาบการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์
ภาพ 1 ดาวเคราะห์ 8 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์
คาบการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ดาวเคราะห์ทุกดวงจะเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ไปทางเดียวกันคือ จากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกด้วยความเร็วที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ดาวเคราะห์วงในเคลื่อนที่เร็วกว่าโลก และดาวเคราะห์วงนอกเคลื่อนที่ช้ากว่าโลก เวลาที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบเทียบกับดาวฤกษ์ เรียกว่า คาบดาราคติ (Siderial period) หรือ คาบที่เวลามองจากอวกาศจะเห็นดาวเคราะห์กลับมาถึงที่เดิมในวงโคจร คาบเหล่านี้สามารถคำนวณได้ โดยใช้กฎเคพเลอร์ หากทราบระยะห่างของดาวเคราะห์จากดวงอาทิตย์
ส่วนช่วงเวลาระหว่างการเห็นดาวเคราะห์อยู่ณ ตำแหน่งเดิม เทียบกับดวงอาทิตย์ครั้งแรกถึงครั้งถัดไปเรียกว่า คาบซินอดิก (Synodic period) เช่น เวลาระหว่างการเห็นดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (ตำแหน่งOpposition) ครั้งแรกถึงครั้งถัดไป เรียกว่า คาบซินอดิกของดาวอังคาร ในทางปฏิบัติ นักดาราศาสตร์สามารถวัดคาบซินอดิกของดาวเคราะห์ได้จากโลก แล้วนำไปคำนวณหาคาบดาราคติของดาวเคราะห์ดวงนั้นได้ ความสัมพันธ์ระหว่างคาบดาราคติ (P) และคาบซินอดิก (S) ของดาวเคราะห์วงในคือ 1/P - 1/S = 1 และของดาวเคราะห์วงนอก คือ 1/P+ 1/S = 1 เช่น ดาวอังคารมีคาบซินอดิกเท่ากับ 780 วัน หรือ780/365.25 ปี - 2.13 ปี จึงคำนวณได้ว่า ดาวอังคารมีคาบดาราคติ (P) = 1.88 ปี เป็นต้น
ดาวเคราะห์ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า 5 ดวง
มีดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 5 ดวงคือดาวพุธกับดาวศุกร์ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์วงใน และดาวอังคารดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์วงนอก ดาวเคราะห์วงนอกจะอยู่ใกล้โลกที่สุดปีละ 1 ครั้งทุกดวง ยกเว้นดาวอังคาร ซึ่งจะอยู่ใกล้โลกที่สุด ทุก ๆ 2 ปีกับ 50 วัน และทุกครั้งที่อยู่ใกล้กันที่สุด ก็มีระยะใกล้ที่สุดแตกต่างกันด้วยดาวอังคารจึงเป็นดาวเคราะห์ที่ผู้คนให้ความสนใจ ติดตามเฝ้าสังเกตในช่วงที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลกที่สุด
ดาวเคราะห์วงนอก 3 ดวงที่มองเห็นด้วยตาเปล่าและอยู่ใกล้โลกที่สุด
เรียงลำดับตามเวลาใน ค.ศ.20 18 คือดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ และดาวอังคาร
1.ดาวพฤหัสบดี อยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และอยู่ใกล้โลกที่สุดในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 2018โดยเริ่มปรากฏถอยหลังเมื่อ 3 มีนาคม ค.ศ. 2018 และสิ้นสุดการปรากฏถอยหลังในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 รวมปรากฏถอยหลังนาน 4 เดือน 23 วัน กลุ่มดาวที่ดาวพฤหัสบดีปรากฏถอยหลังคือ กลุ่มดาวคันชั่ง
2. ดาวเสาร์ อยู่ในตำแหนงตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และอยู่ใกล้โลกที่สุดในวันที่ 27 มิถุนายน ค.ศ. 2018 เริ่มปรากฏถอยหลังเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ. 2018 และสิ้นสุดการปรากฎถอยหลังในวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2018 รวมปรากฏถอยหลังนาน 4 เดือน 20 วัน กลุ่มดาวที่ดาวเสาร์ปรากฏถอยหลังคือ กลุ่มดาวคนยิงธนู
3. ดาวอังคาร อยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 และอยู่ใกล้โลกที่สุดในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เริ่มปรากฎถอยหลังในวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 2018 และสิ้นสุดการปรากฎถอยหลังในวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2018 รวมปรากฏถอยหลัง 2 เดือน 1 วัน กลุ่มดาวที่ดาวอังคารปรากฏอยู่ในขณะถอยหลังคือ กลุ่มดาวมกร
เกิดปรากฏการณ์อะไรบ้างขณะดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์และอยู่ใกล้โลกที่สุด
เมื่อดาวเคราะห์วงนอกอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ จะเกิดปรากฏการณ์ดังต่อไปนี้ คือ
ก. ดาวเคราะห์ขึ้นขณะดวงอาทิตย์ตก และตกขณะดวงอาทิตย์ขึ้น จึงมีโอกาสสังเกตดาวเคราะห์ได้นานที่สุดตลอดทั้งคืน โดยจุดที่ดีที่สุดคือ เมื่อดาวเคราะห์ผ่านเมริเดียนในเวลาเที่ยงคืน
ข. ดาวเคราะห์ปรากฏมีขนาดเชิงมุมใหญ่ที่สุด จึงเห็นรายละเอียดของพื้นผิว หรือ รายละเอียดของเมฆดาวเคราะห์ได้อย่างชัดเจน
ค. ดาวเคราะห์ปรากฏสว่างที่สุด เช่น โดยปกติดาวอังคารจะปรากฏริบหรี่มากเมื่อเทียบกับดาวพฤหัสบดี แต่ขณะอยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบ 15 - 17 ปี ดาวอังคารจะปรากฎสว่างกว่าดาวพฤหัสบดี โดยปรากฏมีสีแดงสุกใสท่ามกลางดาวฤกษ์ที่ให้แสงริบหรี่จำนวนมาก ชติมาตรปรากฏของดาวอังคารขณะสว่างที่สุดเท่ากับ -2.8 (วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 ดาวอังคารมีขนาดเชิงมุม 24.2 พิลิปดา คิดเป็น 94 % ของขนาดใหญ่ที่สุด)
ง. ดาวเคราะห์ปรากฏถอยหลัง การปรากฏถอยหลังหมายถึง การเห็นดาวเคราะห์เคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตกเป็นเวลานานต่าง ๆ กัน เช่น ดาวพฤหัสบดีปรากฏถอยหลังครั้งละประมาณ 4 เดือน 23 วัน ดาวเสาร์ปรากฏถอยหลังครั้งละประมาณ 4เดือน 20 วัน และดาวอังคารปรากฏถอยหลังครั้งละประมาณ 2 เดือน 1วัน สาเหตุที่เห็นดาวเคราะห์เดินถอยหลังเพราะทั้งโลกและดาวเคราะห์ทุกดวงต่างเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ไปทางทิศตะวันออกด้วยกัน แต่โลกเคลื่อนที่เร็วกว่า ดังนั้นคนบนโลกจึงเห็นดาวเคราะห์เคลื่อนที่ไปในทิศตรงข้ามคือตะวันตก คล้าย " กับการเห็นรถยนต์ที่วิ่งตามรถของเราด้วยความเร็วที่น้อยกว่า เราย่อมเห็นรถคันนั้นวิ่งถอยหลัง ปรากฏการณ์ถอยหลังของดาวเคราะห์ไม่ได้เริ่มเมื่อดาวเคราะห์อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ แต่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงที่โลกเคลื่อนที่ไปก่อนใกล้กันที่สุดเป็นเวลานับเดือน ดังได้กล่าวแล้ว
ระยะใกล้กันที่สุดของโลกกับดาวเคราะห์
ระยะใกล้โลกที่สุดของดาวอังคารขณะที่อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์แต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน ทั้งนี้เพราะความรีของวงโคจรของดาวอังคารมีค่ามากกว่าของโลกประมาณ 10 เท่า ทำให้ระยะใกล้กันที่สุด มีค่าอยู่ระหว่าง 0.37 หน่วยดาราศาสตร์ถึง 0.67 หน่วยดาราศาสตร์ โดยระยะใกล้ที่สุดจะเกิดขึ้นทุก 15 - 17 ปี ดังตาราง
ดาวอังคารใกล้โลกที่สุดใน 59,619 ปี
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2003 ดาวอังคารอยู่ห่างจากโลก 0.37272 หน่วยดาราศาสตร์หรือ 55.7 ล้านกิโลเมตรเป็นระยะที่ดาวอังคารอยู่ใกโลกที่สุดในเวลา 59.619 ปีหรือเกือบ 60,000 ปี ในครั้งก่อนเกิดขึ้นเมื่อ 57.617 ปีก่อนคริสต์ศักราชดาวอังคารจะปรากฎใกล้โลกที่สุดที่ระยะใกล้เคียงกันนี้อีกครั้งในวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 2287 หรือในเวลาอีก 269 ปีข้างหน้า
ถ้าพิจารณาวงใคจรของดาวอังคารและวงใคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์จะพบว่า เมื่อดาวอังคารอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ในขณะที่ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด (P) แล้ว ระยะระหว่างดาวอังคารกับโลกจะเป็นระยะใกล้กันที่สุด โดยอยู่ห่างกัน 55.7 ล้านกิโลเมตร ดังเช่นเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2003 ดังกล่าวข้างต้น ระยะใกล้โลกที่สุดของด่าวอังคารในตำแหน่งอื่นจะไกลกว่าระยะ 55.7 ล้านกิโลเมตร และระยะใกล้โลกมากที่สุดของดาวอังคารจะเกิดขึ้นได้ทุกเดือนในรอบปี โดยเกิดขึ้นทุกประมาณ 2 ปีกับ 50 วัน ดังนั้นจึงวนกลับมาใกล้กันที่สุดในทุก ๆ ประมาณ 15 - 17 ปี และตำแหน่งโลกขณะใกล้กันที่สุดในรอบ 15 - 17 ปี จะเป็นตำแหน่งในปลายเดือนสิงหาคมเสมอ
ดาวอังคารจะอยู่ใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 นี้ คืออยู่ห่างโลก 0.38496 หน่วยดาราศาสตร์ทำให้เชิงมุมมีขนาด 24.2 พิลิปดา และมีโซติมาตรปรากฎ -2.8 ดาวอังคารในช่วงนั้นจึงปรากฎสว่างยิ่งกว่าดาวพฤหัสบดีแต่สว่างน้อยกว่าดาวศุกร์ ซึ่งเป็นดาวประจำเมือง ที่เห็นอยู่ทางทิศตะวันตกในเวลาพลบค่ำ ขณะเดียวกันดาวอังคารจะมีสีแดงสุกสว่างทางตะวันออก
เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงในคืนวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 นอกจากในคืนวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 จะเห็นดาวอังคารสว่างสุกใสแล้ว ยังเห็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงด้วย โดยจะเห็นในเวลาหลังเที่ยงคืนของวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 จึงตรงกับวันที่ 28 กร๊กฎาคม ค.ศ. 2018 เวลาของการเกิดจันทรุปราคาที่เห็นได้ทั่วประเทศไทยมีดังต่อไปนี้
ก. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน : วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เวลา 01:24:27 น.
ข. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง: วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เวลา 02:30:15 น.
ค. กึ่งกลางของการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง:วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เวลา 03:21:44 น.
ง. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง: วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เวลา 04:13:11 น.
จ. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน: วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เวลา 05:19:00 น.
ดาวเคราะห์บนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำของวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018
วันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 2018 เป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 ครั้งที่ 2 ตรงกับวันอาสาฬหบูชา บนท้องฟ้าเวลาค่ำเป็นท้องฟ้าที่สวยงาม มีดวงจันทร์และดาวเคราะห์ดวงสว่างเรียงกันเป็นเส้นโค้งตามแนวสุริยวิถี จากทิศตะวันตกมาทางทิศตะวันออก คือ ดาวศุกร์ (โซติมาตร -4.2) เป็นดาวประจำเมืองที่โดดเด่นอยู่ทางทิศตะวันตก
ดาวพฤหัสบดี (โซติมาตร -2.3) เป็นดาวที่อยู่สูงเหนือขอบฟ้าทิศต้มีมุมเงยประมาณ 60 องศา ในกลุ่มดาวคันชั่ง
ดาวเสาร์ (โซติมาตร 0.2 อยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู เส้นโค้งขีดผ่านดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดีจะผ่านดาวเสาร์โดยดาวเสาร์จะอยู่ห่างดาวพฤหัสบดีไปทางตะวันออกประมาณ 30 องศา
ดาวอังคาร (โซติมาตร -2.8) อยู่ในกลุ่มดาวมกร ปรากฏมีสีแดง สว่างอยู่ใกล้ ๆ ดวงจันทร์ ซึ่งอยู่ใกล้ขอบฟ้ตะวันออกดาวอังคารสว่างกว่าดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ แต่สว่างน้อยกว่าดาวศุกร์และดวงจันทร์
ดวงจันทร์ เป็นจันทร์เพ็ญอยู่ใกล้ดาวอังคาร อยู่บนเส้นโค้งที่ลากผ่านดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์ ดวงจันทร์เรียงกันคล้ายเป็นสร้อยเพชรบนฟ้าเช่นนี้จึงดูสวยงามยิ่ง
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/
บรรณานุกรม
จันทรุปราคาเต็มดวง. สืบคั้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561. จากhttp:/thaiastro.nectec.or.th/skyevent/article/2214/.
ดาวเสาร์อยู่ใกล้โลกที่สุด. สืบคั้นเมื่อ 5 มีนาคม 2561, จา! https://www.ianridpath.com/satum.html.
ปรากฏการณ์จันทรุปราค. สืบคั้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561. จา https://danspace77.com/2018/01/28/total-lunar-eclipse-this-week/
ระยะใกล้กันที่สุตของโลกกับตาวเคราะห์. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2561. จากhttps:/www.iannidpath.com/jupiter.html.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)