logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

โครงการพระราชดำริ แกล้งดิน: พระอัจฉริยภาพด้านดิน ที่่คนไทยควรรู้

โดย :
ชาญณรงค์ พูลเพิ่ม
เมื่อ :
วันอังคาร, 31 สิงหาคม 2564
Hits
52324

soil 01

ภาพที่ 1 ตามรอยพระราชดำริ "ปรับปรุงตินเปรี้ยวตามทฤษฎีแกล้งติน" ที่บ้านควนโต๊ะ
ที่มา https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1468907891

ปลูกพืชไม่ได้ เนื่องจากดินเปรี้ยว

          ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2516 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน และทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ภาคใต้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระองค์ทรงทราบว่าราษฎรในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดใกล้เคียง ประสบปัญหาด้านพื้นที่ในการทำการเกษตร ขาดแคลนที่ทำกิน ซึ่งเนื่องมาจากพื้นที่ดินพรุที่มีการระบายน้ำออก ได้แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัดจนไม่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตร หรือถ้าจะปลูกพืชผลผลผลิตที่ได้จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงมีพระราชดำริให้จัดตั้ง "โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ขึ้น ณ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2524 เพื่อศึกษา ปรับปรุง และแก้ไขพื้นที่ให้สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและอื่น ๆ ได้ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถันโดยทรงแนะนำให้ทำเรื่องแกล้งดิน "...ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้ง และศึกษาวิธีการแกล้งดินเปรี้ยว เพื่อนำผลไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาเรื่องนี้ในเขตจังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลอง ภายในกำหนดเวลา 2 ปี และพืชที่ใช้ทดลองควรเป็นข้าว..."

soil 02

ภาพที่ 2 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ที่มา http://www.tsdf.or.th/th/royally-initiated-projects/10779-แกล้งดิน-พศ-2522/

 

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเคมีที่เกิดขึ้นในดินเปรี้ยว หาวิธีการปรับปรุงแก้ไขสภาพดินเปรี้ยวที่เกิดมาจากป่าพรุ และดินเปรี้ยวอื่น ๆ ให้สามารถปลูกพืชได้

 

ดินเปรี้ยว (Acid soil)

          หมายถึงดินที่มีกรดซัลฟิวริก(Sulfuric acid) อยู่ในดิน โดยมีค่า pH ต่ำกว่า 7 และถ้าค่า PH ต่ำกว่า 4 ดินจะมีสภาพเป็นกรดจัดหรือเปรี้ยวจัดหรือเรียกว่าดินกรดกำมะถัน (Acid sulfate soil)

soil 03

ภาพที่ 3 ดินเปรี้ยว
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=zSp6plCxnOc

ดินพรุ (Peat soil)

          เป็นภาษาท้องถิ่นของภาคใต้ ซึ่งแปลว่าพื้นที่ที่มีน้ำขัง มีซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยทับถมกันอยู่ข้างบน ในช่วงระดับความลึกของดินประมาณ 1-2 เมตรเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งเนื่องมาจากมีสารประกอบกำมะถันที่เรียกว่าสารประกอบไพไรท์อยู่มาก เมื่อสูบน้ำออกจากพื้นที่จนหมดจนดินแห้ง สารประกอบไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับออกชิเจนในอากาศ ได้กรดซัลฟิวริกเป็นผลให้ดินมีความเป็นกรด ซึ่งจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลายแร่ธาตุที่เป็นประโยซน์ต่อต้นไม้ และทำให้ธาตุบางชนิดที่อยู่ในดินเป็นพิษต่อตันไม้

 

soil 04

ภาพที่ 4 ดินพรุ
ที่มา http://www.pivotandgrow.com/blog/case/peat-soils-how-do-we-manage-them-for-organic-agriculture/

soil 05

ภาพที่ 5 แสดงขั้นตอนการเกิดดินเปรี้ยวในบริเวณพรุและที่ราบต่ำขอบพรุในท้องที่จังหวัดนราธิวาส
ที่มา http://0858921265.blogspot.com/2016/11/blog-post_77.html

แกล้งดินทำอย่างไร

          ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้ศึกษาวิจัยและปรับปรุงดิน โดยวิธีการ"แกล้งดิน" คือ การทำดินให้เปรี้ยวจัดหรือเป็นกรดมากที่สุด ด้วยการทำให้ดินเปียกและแห้งสลับกันไป โดยการทดน้ำเข้าแปลงทดลองระยะหนึ่งแล้วระบายน้ำออก เพื่อทำให้ดินแห้งเป็นระยะเวลาหนึ่งสลับกัน เท่ากับเป็นการกระตุ้นให้ดินมีความเป็นกรดยิ่งขึ้น โดยอาศัยหลักการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงให้เลียนแบบสภาพความเป็นไปในธรรมชาติ ที่มีฤดูแล้งและฤดูฝนสลับกันไป โดยปล่อยให้ดินแห้ง 1 เดือน และขังน้ำให้ดินเปียกนาน 2 เดือน สลับกันไป จึงเกิดภาวะดินแห้งและดินเปียก 4 รอบ ใน 1 ปี เสมือนกับมีฤดูแล้งและฤดูฝน 4 ครั้งในเวลา 1 ปี หลังจากที่เสร็จกระบวนการนี้แล้วจึงหาวิธีการปรับปรุงดินให้ดีขึ้น

 

วิธีการปรับปรุงดิน

เมื่อแกลังดินเสร็จแล้ว ต่อไปก็ต้องมีวิธีการปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยมีหลายวิธีการดังนี้

  1. ใช้ปูน เช่น ปูนขาว ปูนมาร์ล เปลือกหอยบด หรือหินปูนฝุ่นใส่ลงไปในดินประมาณ 1-3 ตันต่อไร่ แล้วผสมให้เข้ากันปูนซึ่งเป็นเบสจะทำปฏิกิริยาสะเทินกับกรดกำมะถันในดิน ทำให้ดินมีสภาพเป็นกลาง
  2. ใช้น้ำชะล้างกรดในดินโดยตรง วิธีการนี้ใช้เวลานานกว่าวิธีใช้ปูน แต่ได้ผลเหมือนกัน
  3. ยกร่องเพื่อปลูกพืชไร่ ไม้ผล หรือไม้ยืนต้น โดยต้องมีแหล่งน้ำอยู่ข้าง ๆ เพื่อถ่ายเทน้ำได้ ถ้าน้ำในร่องเป็นกรดเมื่อใช้น้ำชะล้ำางกรดบนสันร่อง กรดจะถูกน้ำชะไปยังคูที่อยู่ด้านข้าง แล้วระบายออกไป และต้องคำนึงถึงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ด้วย ถ้ามีโอกาสน้ำจะท่วม ก็ไม่ควรใช้วิธีนี้
  4. ควบคุมระดับน้ำใต้ดิน ไม่ให้ต่ำกว่า 1 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ดินชั้นล่างแห้ง หรือทำปฏิกิริยากับออกซิเจน ซึ่งควรจะต้องมีแหล่งน้ำจากระบบชลประทานเข้ามาช่วย
  5. ใช้พืชพันธุ์ที่ทนทานต่อความเป็นกรดมาปลูกในดินเปรี้ยว เช่น มะม่วง มะขาม กระท้อน ขนุน ฝรั่ง ยูคาลิปตัส สะเดา อื่น ๆ

          อย่างไรก็ตาม "โครงการแกล้งติน" ไม่ได้สิ้นสุดลงเฉพาะที่จังหวัดนราธิวาสเท่านั้น แต่ยังได้นำไปใช้กับจังหวัดอื่น ๆ ด้วย โดยในปีพ.ศ. 2535 ได้มีการนำไปใช้ในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช พื้นที่บางส่วนของจังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา และโครงการพัฒนาพื้นที่ พรุแฆแฆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานีและในปี พ.ศ. 2541 ได้นำมาใช้กับโครงการศึกษาทดลองการแก้ปัญหาดินเปรี้ยว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ดังนั้นโครงการนี้ จึงเป็นโครงการที่สร้างประโยชน์ให้แก่ราษฎรทั่วประเทศ

 

soil 06

ภาพที่ 6 โครงการศึกษาทดลองการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก

ที่มา http://www.dp.go.th/planing/special_project/2545/CentralDinPrew.htm

 

สิทธิบัตร

          จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้ดำเนินโครงการ "แกล้งดิน" ซึ่งเป็นโครงการที่ทดลอง แก้ไข ปรับปรุง จนได้วิธีที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว และด้วยพระปรีชาสามารถทางด้านการเกษตร และด้านนวัตกรรมของพระองค์ ทำให้สามารถยกระดับความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยให้ดีขึ้นสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) รู้สึกซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ที่ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจมากมายและหลากหลาย ซึ่งล้วนเป็นคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อชาวไทยและชาวโลก จึงได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์โครงการแกล้งดิน ไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญา และได้ทูลเกล้าฯ ถวายสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เรื่อง "กระบวนการปรับปรุงสภาพดินเปรี้ยว เพื่อให้เหมาะแก่การเพาะปลูก" (โครงการแกล้งดิน) ในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงดิน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

soil 07

ภาพที่ 7 สิทธิบัตรการประดิษฐ์เลขที่ 22637
ที่มา https://www.ipthailand.go.th

soil 09

ภาพ 8  ภาพตัวอย่าง หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ปฏิกิริยาคมี ซึ่งมีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการแกล้งดิน

 

 

          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

 

 

soil 08

บรรณานุกรม

แกลังดิน. (2559). สืบคั้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.tcdc.or.th/creativethailand/article/CoverStory/26660.

แกล้งดิน. (2559). สืบคั้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2560, จาก http://km.rdpb.go.th/Content/uploads/fles.

หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์วิชาเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี (2557). สืบคั้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2560, จาก https://play.google.com/store/apps/details?id=com.sa.chem2&hl=th.

หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์วิชาเคมี เรื่อง ปฏิกิริยาเคมี (2557. สืบคั้นเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2560, จาก https:/itunes.apple.com/us/app/ipst-chemistry-e-book-chemical-reaction/id1027856050?mt=8.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
แกล้งดิน, ดินเปรี้ยว, ดิน, โครงการพระราชดำริ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ชาญณรงค์ พูลเพิ่ม
  • 12420 โครงการพระราชดำริ แกล้งดิน: พระอัจฉริยภาพด้านดิน ที่่คนไทยควรรู้ /article-chemistry/item/12420-2021-08-23-06-06-47
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    โครงการพระราชดำริ ดินเปรี้ยว แกล้งดิน ดิน
คุณอาจจะสนใจ
วันดินโลก (World Soil Day)
วันดินโลก (World Soil Day)
Hits ฮิต (3938)
ให้คะแนน
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่ประซากรส่วนใหญ่มีรายได้จากผลผลิตที่ได้จากดิน เมื่อประซากรในประเทศมี ...
ความเชื่อเรื่อง ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ กับความเชื่อมโยงต่อการเปลี ...
ความเชื่อเรื่อง ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ กับควา...
Hits ฮิต (19876)
ให้คะแนน
การเปลี่ยนแปลงของสสารนั้นเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหลักการทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)