logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ความเชื่อเรื่อง ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ กับความเชื่อมโยงต่อการเปลี่ยนแปลงของสสาร

โดย :
ยารินดา อรุณ
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 11 มีนาคม 2564
Hits
17640

          การเปลี่ยนแปลงของสสารนั้นเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหลักการทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา ในสภาพแวดล้อมที่สามารถสังเกตหรือรับรู้ได้ด้วยการมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การสัมผัส และการลิ้มรส ซึ่งล้วนเป็นการรับรู้ได้ทางกายภาพทั้งสิ้น

          ในเวลาหลายร้อยหลายพันปีก่อนหน้านี้ มนุษย์เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของสสารนั้นเป็นการดำเนินไปด้วยพลังขับเคลื่อนในแบบที่เป็นธรรมชาติ สรรพสิ่งล้วนมีพลังงานในตัวเอง การค้นพบอารยธรรมเก่าแก่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความเชื่อนี้เอาไว้ด้วย ดังปรากฏในภาพวาดตามผนังถ้ำ และเมื่อมนุษย์มีอักษรใช้กัน ความเชื่อก็ได้ถูกบันทึกเอาไว้ในสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแท่นหิน กระดูก ไม้ หรือกระดาษ หรือแม้แต่ผนังของสุสานฝังศพ เช่น พีระมิด เป็นต้น มนุษยชาติมีความเชื่อว่าวัตถุทุกอย่างมีการหยุดนิ่ง เคลื่อนไหว แปรสภาพหรือสูญสลายอยู่ตลอดเวลา ซึ่งความเชื่อดังกล่าวจะเห็นได้เด่นชัดในอารยธรรมเอเชียตะวันออก ไม่ว่าจะด้วยมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรหรือการบอกเล่าแบบปากต่อปากก็ตาม

          มนุษย์ทั่วทุกมุมโลกเฝ้าสังเกตความเป็นไปของธรรมชาติและเรียนรู้อยู่เสมอ ซึ่งนั่นก็ก่อให้เกิด “วิวัฒนาการ” สิ่งที่น่าชื่นชมภูมิใจมากที่สุดก็คือวิวัฒนาการของ “สมอง”นั่นเอง

          สมองของมนุษย์ทำหน้าที่รับรู้ จดจำ และตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบๆตัวและภายในตัวมนุษย์อยู่เสมอ รวมทั้งการเป็นไปของธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเชื่อ อารยธรรม ประเพณี ก็รวมอยู่ในการตอบสนองต่อธรรมชาติรอบตัวด้วยเช่นกัน

          ความเชื่อว่าวัตถุทุกอย่างมีการหยุดนิ่ง เคลื่อนไหว แปรสภาพหรือสูญสลายอยู่ตลอดเวลานั้น เด่นชัดมากในอารยธรรมจีน ซึ่งอารยธรรมนี้ก็มีการส่งต่อ เปลี่ยนผ่านจากรุ่นสู่รุ่น มีนักปรัชญาจีนในอดีตหลายท่านที่ให้ความสำคัญกับธรรมชาติ อย่างที่หลายคนคุ้นเคยกันดีกับคำกล่าวที่ว่า “มนุษย์ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ” โดยหลักการนี้ได้แทรกซึมอยู่ในวิทยาการด้านการแพทย์ โหราศาสตร์-ดาราศาสตร์ และพิธีกรรมต่างๆด้วย เรียกได้ว่าตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย สิ่งมีชีวิตล้วนเป็นไปตามวัฏจักร คือ “กลับคืนสู่ผืนดิน”

          ด้วยเหตุนี้ ร่างกายของมนุษย์ที่สอดประสานกับการเปลี่ยนสถานะของวัตถุที่มีตามธรรมชาติซึ่งแบ่งทุกอย่างออกเป็น 5 ธาตุด้วยกัน คือ ธาตุดิน เปรียบเป็นของแข็ง ธาตุลมเป็นการเคลื่อนไหวของอากาศ ธาตุน้ำเป็นของเหลว ธาตุไฟคือความร้อน,การเผาไหม้ และอากาศธาตุ คล้ายธาตุลม แต่อากาศธาตุไม่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งนั่นก็คือที่ว่าง (Space) ธาตุทั้ง 5 ในธรรมชาติต่างก็มีปฏิกิริยาต่อกัน เป็นปฏิกิริยาโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศ จึงถูกเรียกว่าเป็น “พลังชี่” และมีปฏิกิริยาต่อมนุษย์ในรูปแบบของ “พลังปราณ” นั่นเอง ส่วนการแปรสภาพเช่น ดินฟ้าอากาศ ความร้อน แสงแดด ฝนตก ฟ้าแลบ ฯลฯ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการที่ธรรมชาติมีการหมุนเวียน เปลี่ยนผ่านพลังงาน เคลื่อนไหว ไม่คงที่ ซึ่งก็เรียกเป็นพลังชี่,หยิน,หยาง ได้เช่นกัน

11648 2

ภาพที่ 1 ธรรมชาติของธาตุต่างๆ
ที่มา pixabay.com/stux

          การแปรสภาพดังกล่าว สามารถเชื่อมโยงเข้ากับหลักฟิสิกส์ได้ เช่น ทฤษฎีการอนุรักษ์พลังงาน แรง งาน และการเคลื่อนที่ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงกับฟิสิกส์อะตอมได้เลยทีเดียว แต่เราสามารถสังเกตได้ดีกว่าหากรับรู้ได้ด้วยลักษณะทางกายภาพเป็นหลัก กล่าวคือ การเปลี่ยนสถานะของสสารมีความเชื่อมโยงกับความเชื่อของบรรพบุรุษที่สามารถอธิบายให้สอดคล้องกับหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้นั่นเอง

          เริ่มจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ไฟที่เกิดจากการเผาไหม้ ก็แสดงให้เห็นถึงการเรียนรู้ครั้งยิ่งใหญ่ ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของการทำให้สิ่งต่างๆเปลี่ยนสถานะ

          นอกจากนี้การเฝ้าสังเกตธรรมชาติอย่างความเป็นไปของดินฟ้าอากาศ ก็เป็นการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่อีกเช่นกัน ภูมิความรู้เหล่านี้ได้กล่าวถึงธรรมชาติด้วยการแบ่งเป็นธาตุทั้ง 5 ซึ่งเป็นพื้นฐานของวิชาการแพทย์แผนไทย ได้แก่ ดิน น้ำ ลมไฟ  และอากาศธาตุ ซึ่งชาวไทยโบราณนิยมแบ่งธาตุแบบนี้

          ถ้าในอารยธรรมหรือการแพทย์จีนอาจจะแบ่งเป็น 8 ธาตุ ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ เหล็ก ไม้ ทอง และอากาศธาตุ (ที่ว่าง/Space) ซึ่งธาตุทั้งหมดมีพลังงานขับเคลื่อนให้เปลี่ยนสถานะ

11648 3

ภาพที่ 2 เมฆ หิมะ น้ำในมหาสมุทร แสดงถึงสถานะต่างๆของธาตุน้ำ
ที่มา pixabay.com/ ,ID 12019

          เมื่อเทียบกับหลักการเปลี่ยนแปลงของสสารก็สามารถอธิบายได้ดังนี้

          การเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว เช่น การละลาย ก็เปรียบได้ว่ามีธาตุไฟตั้งตนเสริมด้วยธาตุลม โหมไฟให้ร้อนแรงขึ้น เกิดพลังงานขับเคลื่อนที่มีปฏิกิริยากับธาตุดิน ดังนั้น ความร้อนที่เกิดจากธาตุไฟและธาตุลมจึงทำให้ธาตุดินที่เป็นของแข็งกลายเป็นของเหลวได้ ซึ่งจะเห็นภาพได้ชัดเจนจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ‘ลาวา’ ที่เกิดจาก ‘แมกมา’ ที่เป็นหินหลอมเหลวอยู่ใต้เปลือกโลก

          การเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นก๊าซ หรือที่เรียกว่า การระเหิด เป็นการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นก๊าซโดยไม่ผ่านการหลอมละลายกลายเป็นน้ำก่อนที่จะเป็นก๊าซ เปรียบได้กับ การขับพลังงานจากช่องว่างที่เป็นอากาศธาตุให้มีความเคลื่อนไหว โดยมีธาตุไฟและลมเป็นตัวขับเคลื่อน แล้วเกิดการทำลายโครงสร้างภายในที่ว่าง(อากาศธาตุ) ทำให้เกิดการสลายจากธาตุที่แข็งกลายเป็นละอองธาตุน้ำที่อยู่นอกโมเลกุลของแข็ง ซึ่งก็คือธาตุดินนั่นเอง

          การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นก๊าซ หรือที่เรียกว่า การระเหย ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่า ธาตุน้ำที่เป็นธาตุตั้งต้นได้ถูกธาตุไฟและลม โหมให้เกิดความร้อน เกิดเป็นพลังงาน และได้ทำลายธาตุน้ำนั้นให้สลายโดยปะปนกับอากาศธาตุด้านนอกสสาร กลายเป็นละอองไอน้ำรวมเข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อรอการรวมกลุ่มเป็นของเหลวหรือธาตุน้ำตามวัฏจักรต่อไป

          การเปลี่ยนสถานะจากก๊าซเป็นของเหลว คือ การควบแน่น (condensation) สสารเปลี่ยนสถานะจากแก๊สเป็นของเหลว นั่นก็หมายถึงการที่ละอองธาตุน้ำที่แทรกตัวอยู่กับอากาศธาตุได้รวมตัวกัน มากขึ้นเรื่อยๆ จนมีมากพอจะเป็นหยดน้ำ เปรียบเทียบได้ว่าเป็นธาตุน้ำที่มีปริมาณมากขึ้น เช่น การเกิดฝน อธิบายได้ว่า เป็นการรวมตัวของละอองธาตุน้ำ ณ จุดจุดหนึ่งที่มีปริมาณหรือมีมวลมากพอจะเป็นหยดน้ำ ธาตุน้ำที่แฝงตัวอยู่กับอากาศธาตุและฝุ่นละอองของธาตุดินในก้อนเมฆ ก็จะแยกตัวออกมาเป็นสายฝนในที่สุด

แหล่งที่มา

LESA. การเปลี่ยนสถานะของน้ำ. สืบค้นวันที่ 9 กรกฎาคม, 2563. จาก http://www.lesa.biz/earth/atmosphere/state-of-water

ทีมงานทรูปลูกปัญญา. (25 มีนาคม 2563). การเปลี่ยนสถานะของสาร. สืบค้นวันที่ 9 กรกฎาคม, 2563. จาก http://www.trueplookpanya.com/learning/detail/33150-00

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. คลังความรู้. สืบค้นวันที่ 7 กรกฎาคม, 2563. จาก http://ttdkl.dtam.moph.go.th/Module7/frmc_journal_main.aspx

สมาพันธ์แพทย์แผนไทยล้านนา. หลักการรักษาโรคตามทฤษฎีแพทย์แผนไทย. สืบค้นวันที่ 7 กรกฎาคม, 2563. จาก www.lannahealth.com/หลักการรักษาโรคตามทฤษฎ-2/

วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสารธารณสุข กาญจนาภิเษก. คัมภีร์เวชกรรมไทย, คัมภีร์โรคนิทานและคัมภีร์ธาตุวิภังค์. สืบค้นวันที่ 5 กรกฎาคม, 2563. จาก http://www.kmpht.ac.th/Project61/ttm1/lession3.php

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ, ธาตุ, การเปลี่ยนแปลงของสสาร
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 10 กรกฎาคม 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ยารินดา อรุณ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11648 ความเชื่อเรื่อง ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ กับความเชื่อมโยงต่อการเปลี่ยนแปลงของสสาร /article-chemistry/item/11648-2020-06-30-03-43-08
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    การเปลี่ยนแปลงของสสาร ไฟ ธาตุ ดิน ลม น้ำ
คุณอาจจะสนใจ
ลมกับการบิน
ลมกับการบิน
Hits ฮิต (1659)
ให้คะแนน
เวลาใครขึ้นเครื่องบินแล้วมองจากหน้าต่างเครื่องบินลงมาด้านล่างขณะที่เครื่องบินกำลังทะยานขึ้นหรือร่อน ...
โครงการพระราชดำริ แกล้งดิน: พระอัจฉริยภาพด้านดิน ที่่คนไทยคว ...
โครงการพระราชดำริ แกล้งดิน: พระอัจฉริยภา...
Hits ฮิต (48436)
ให้คะแนน
ภาพที่ 1 ตามรอยพระราชดำริ "ปรับปรุงตินเปรี้ยวตามทฤษฎีแกล้งติน" ที่บ้านควนโต๊ะ ที่มา https://www.kha ...
สีพลุปีใหม่
สีพลุปีใหม่
Hits ฮิต (1131)
ให้คะแนน
เทศกาลปีใหม่ถือเป็นงานเฉลิมฉลองวันแห่งความสุขสุดยิ่งใหญ่ นอกจากกิจกรรมการแสดงและร้านค้าขายของต่าง ๆ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)