logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

4 ธาตุใหม่เติมเต็มตารางธาตุในคาบ 7

โดย :
ปุณิกา พระพุทธคุณ
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 19 สิงหาคม 2564
Hits
33607

          ตารางธาตุ (periodic table) เป็นตารางแสดงรายชื่อธาตุและสมบัติบางประการของธาตุ โดยจัดเรียงธาตุตามเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน (electron configuration) และสมบัติของธาตุที่ซ้ำกันหรือคล้ายกันตามหมู่ (แถวธาตุในแนวตั้ง และตามคาบ (แถวธาตุในแนวนอน) วิธีการจัดเรียงธาตุตามที่กล่าวมาแล้ว ทำให้สามารถใช้ประโยชน์ของตารางธาตุเพื่อการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุแต่ละธาตุ ใช้ทำนายสมบัติของธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบ สมบัติของธาตุที่คั้นพบใหม่ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้นได้ ทั้งนี้ เมื่อ 2 3 ปีที่ผ่านมา หลายท่านอาจได้ยินข่าวเกี่ยวกับการค้นพบธาตุใหม่ จำนวน 4 ธาตุ และเป็นการเติมเต็มธาตุในคาบที่ 7 ของตารางธาตุ ดังภาพ

 

iupac 01

ภาพ 1 ตารางธาตุ
ที่มา https://th.wikipedia.org/wilki/ตารางธาตุ

iupac 02

ภาพ 2  สัญลักษณ์ธาตุตามระบบตัวเลขเป็นภาษาลาดินและชื่อธาตุที่เป็นทางการ

 

          ตารางธาตุปัจจุบันมีธาตุทั้งสิ้น 118 ราตุ จัดเรียงธาตุตามเลขอะตอมและสมบัติที่คล้ายคลึงกันของธาตุ โดยธาตุที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 100 ขึ้นไป และยังไม่มีชื่อที่ยอมรับเป็นสากล IUPAC ได้กำหนดให้เรียกชื่อธาตุตามระบบตัวเลขเป็นภาษาละติน โดยธาตุที่มีเลขอะตอม 110 - 119 ให้ขึ้นต้นด้วยคำว่า "Unun-" และใช้สัญลักษณ์เป็น "Uu-" เช่น ธาตุที่มีเลขอะตอม 115 มีชื่อว่า Ununpenium ใช้สัญลักษณ์เป็น Uup ซึ่งจากภาพจะเห็นว่าในตารางธาตุมี 4 ช่องที่มีสัญลักษณ์เป็น Uut Uup Uus และ Uuo นั่นแสดงว่าเป็นธาตุที่ยังไม่ถูกคันพบ หรือเป็นธาตุที่ถูกค้นพบแล้วแต่ยังไม่มีชื่อสากล และเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ.2559 ทั้งสี่ธาตุนี้ได้รับการประกาศชื่อและสัญลักษณ์ธาตุอย่างเป็นทางการจาก IUPAC ที่ Research Triangles Park รัฐ North Carolina ประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนี้

iupac 03

 

การตั้งชื่อธาตุมีหลักการอย่างไร

          ชื่อธาตุที่มีการค้นพบใหม่ไม่ใช่ว่าอยากตั้งชื่ออะไรก็ได้ การตั้งชื่อต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ IUPAC  โดยชื่อธาตุอาจมีที่มา หรือมีรากศัพท์มาจากชื่อของเทพเจ้าในตำนานโบราณ ชื่อของแร่ ชื่อสถานที่ค้นพบ ชื่อนักวิทยาศาสตร์หรือตั้งชื่อตามสมบัติของธาตุ นอกจากนี้คำลงท้ายของชื่อธาตุต้องมีความคล้ายคลึงกับธาตุในหมู่เดียวกันคือ ธาตุหมู่ 1 - 16 ให้ลงท้ายด้วยคำว่า "เนm" ธาตุหมู่ 17 ลงท้ายด้วยคำว่า "-ine" และธาตุหมู่ 18 ลงท้ายด้วยคำว่า " 0" ตัวอย่างชื่อธาตุที่สอดคล้องกับหลักการตั้งชื่อธาตุที่ IUPAC กำหนด เช่น ธาตุ titanium (T) มาจากชื่อของเทพเจ้ากรีกโบราณที่ชื่อว่า "titanos หรือ titan" ธาตุ carbon (C) มาจากรากศัพท์ภาษาละตินว่า "carbo หรือ coaI" แปลว่าถ่านซึ่งเป็นแร่ที่ถูกเผาแล้วเกิดการลุกไหม้ ให้ความร้อน ธาตุ caliomium (C) มาจากสถานที่ที่คั่นพบคือ University of California ที่ Berkeley รัฐแคลิฟอร์เนีย ธาตุ einsteinium (Es) มาจากชื่อนักวิทยาศาสตร์คือ อัลเบิร์ต ไอส์ไตน์ ธาตุ radon (Rn) ตั้งซื่อตามสมบัติของธาตุเรเดียม ซึ่งสามารถแผ่รังสีได้

          สำหรับชื่อของธาตุที่ถูกคันพบใหม่ 3 ใน 4 ถูกตั้งชื่อตามสถานที่คันพบ ได้แก่ กาตุ nihonium (Nh) ถูกสังเคราะห์ขึ้นที่ห้องปฏิบัติการ RIKEN Nishina Center for Accelerator Based Science ประเทศญี่ปุ่น คำว่า "nihon" ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ญี่ปุ่น หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงแดนอาทิตย์อุทัย นับเป็นธาตุแรกที่ถูกค้นพบในเอเชีย

          ธาตุ moscovium (Mc) และธาตุ tennessine (Ts) คันพบโดยความร่วมมือของสถาบันร่วมวิจัยนิวเคลียร์ (The Joint Institute for Nuclear Research: JINR) ซึ่งมีสมาชิกทั้งในประเทศรัสเซีย และสหรัฐอเมริกา โดยธาตุ moscovium มาจากคำว่า "Moscow” ซึ่งเป็นชื่อเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย มีความเจริญทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเงิน และการศึกษา และยังเป็นที่ตั้งของสถาบัน JINP ที่ทำการทดลองสังเคราะห์ธาตุ Mc ด้วย และธาตุ tennessine มาจากคำว่า "Tennessee" ซึ่งเป็นชื่อรัฐหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นที่ตั้งของสถาบันวิจัย Oak Ridge National Laboratory มหาวิทยาลัย Vanderbiltและมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเทนเนสซี ณ เมือง Knoxville ที่ได้ทำการวิจัยร่วมกับสถาบัน JINR เพื่อทดลองสังเคราะห์ธาตุ Ts ส่วนธาตุ oganesson (Og) เป็นธาตุเดียวที่ตั้งตามชื่อนักวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับศาสตราจารย์ Yuri Organessian (เกิดในปี ค.ศ. 1933) ซึ่งยังมีชีวิตและเป็นผู้ได้อุทิศตนให้แก่การศึกษาวิจัยธาตุในกลุ่ม transacinoid หรือ transactinides หรือ super heavy elements การสังเคราะห์ธาตุ Og เป็นความร่วมมือระหว่างประเทศของสถาบัน JINR ประเทศรัสเซียและสถาบัน Lawrence Livermore National Laboratory ประเทศสหรัฐอเมริกา

iupac 04

ที่มา https://chemiis.files.wordpress.com/2016/06/e0b898e0b8b2e-0b895e0b8b8e0b983e0b8abe0b8a1e0b988.jpg7w-646

 

ธาตุทั้งสี่เหมือนและแตกต่างอย่างไร

          สมบัติที่ว่าเหมือนกันคือ ธาตุทั้งสี่เป็นธาตุสังเคราะห์ (Manmade) ซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในห้องปฏิบัติการ เป็นธาตุกัมมันตรังสีและเป็นธาตุในกลุ่ม transactinoid แต่ธาตุทั้งสี่ก็มีสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม มวลอะตอม จำนวนไอโซโทปและครึ่งชีวิต

          อย่างไรก็ตามการค้นพบธาตุทั้งสี่ได้ทำให้ตารางธาตุปัจจุบันมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทุกธาตุมีชื่อและสัญลักษณ์ของตัวเอง นอกจากนี้นักวิทยาศาสตร์ยังคงดำเนินการค้นหาธาตุต่อจากคาบที่ 7 ในตารางธาตุ อีกต่อไปด้วย

 

          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

 

บรรณานุกรม

Burge. J. & Overby. J. (2017). Chemistry Atoms First. 3rd ed. New York: MoGraw-Hill.

Periodic table. (2016). Retrieved December 15. 2017. from http://www.rsc.org/periodic-table.

Reedjik. J. (2016). How to name new chemical elements. Retrieved December 8. 2017. from https:/iupac.org/recommendation/how-to-name-new-chemical-elements.

Soby L. M. (2016). IUPAC is naming the four new elements nihonium. moscovium, tennessine and ogness ognesson. RetrievedDecember 8. 2017. from https://upac.orgiupac-is-naming-the-four-new-elements-nihonium-mosoovium-tennessine-and-oganesson.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ธาตุ, ตารางธาตุ, หมู่, คาบ, IUPAC
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ปุณิกา พระพุทธคุณ
ระดับชั้น
ปฐมวัย
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12417 4 ธาตุใหม่เติมเต็มตารางธาตุในคาบ 7 /article-chemistry/item/12417-4-7
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    IUPAC คาบ หมู่ ตารางธาตุ ธาตุ
คุณอาจจะสนใจ
เชื้อโรค...อยู่ส่วนไหนของบ้านมากที่สุด
เชื้อโรค...อยู่ส่วนไหนของบ้านมากที่สุด
Hits ฮิต (17661)
ให้คะแนน
คุณคิดว่าเชื้อโรคอยู่ส่วนไหนของบ้านมากที่สุด หลังจากได้ทำการทดสอบจากบ้านหลายต่อหลายหลัง โดยนักวิทยา ...
วัฒนธรรมการเกษตรในแอ่งสกล
วัฒนธรรมการเกษตรในแอ่งสกล
Hits ฮิต (17731)
ให้คะแนน
ภูมิประเทศโดยทั่วไปของภาคอีสานเป็นแอ่งที่ราบขนาดใหญ่ มีทิวเขากั้นเป็นขอบสูงชันทางทิศตะวันตกและทิศใต ...
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสุขภาพ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสุขภาพ
Hits ฮิต (17689)
ให้คะแนน
ปัจจุบันนิ้ แม้จะมีการกระจายข้อมูลข่าวสารทางด้านการแพทย์และสุขภาพออกไปหลายสื่อ และสามารถเข้าถึงคนได ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)