logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

Alien (species) บุก !

โดย :
จิรวัฒน์ ดำแก้ว
เมื่อ :
วันอังคาร, 28 พฤศจิกายน 2560
Hits
21420

ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา ได้มีการนำเสนอข่าวและมีการแชร์ไปทั่วสังคมออนไลน์ ถึงการแพร่ระบาดของหนอนชนิดหนึ่งในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย นั่นคือหนอนตัวแบนนิวกินีซึ่งเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien species) นอกจากมีการนำเสนอข่าวและแชร์ไปทั่วสังคมออนไลน์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดแล้ว ก็ยังมีวิธีการกำจัดวิธีต่าง ๆ อีกด้วย ก่อนที่เราจะตื่นตระหนกกับข่าวการแพร่ระบาด เราก็ควรมาทำความรู้จักกับเจ้าหนอนตัวนี้กันดีกว่า

 Platydemus manokwari

ภาพ หนอนตัวแบนนิวกินี หรือ New Guinea flatworm (Platydemus manokwari)
ที่มาของภาพ https://en.wikipedia.org/wiki/Platydemus_manokwari

 

หนอนตัวแบนนิวกินี หรือ New Guinea flatworm มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Platydemus manokwari เป็นสัตว์ท้องถิ่นในป่าฝนเขตร้อนของเกาะนิวกินี ในมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นหนอนตัวแบนที่มีขนาดความยาวประมาณ 1.6-2.6 นิ้ว และกว้างประมาณ 0.16-0.28 นิ้ว มีสีน้ำตาลเข้มบริเวณผิว ด้านหลังมีแถบสีที่อ่อนกว่าในแนวแกนกลางลำตัว และมีสีเทาอ่อนบริเวณส่วนท้อง หนอนตัวแบนนิวกินีถือว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจของหอยทากบกหลายชนิด เป็นส่วนใหญ่ หนอนตัวแบนชนิดนี้จึงถูกนำเข้าไปพื้นที่ต่าง ๆ ของผืนทวีปหลักของเอเชีย เพื่อใช้ในการกำจัดหอยทากยักษ์แอฟริกา ซึ่งเป็นหอยชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเช่นกันที่เป็นศัตรูพืช แต่หนอนตัวแบนนิวกินีกลับไปไล่ล่าหอยทากที่เป็นสัตว์จำเพาะถิ่นจนสูญพันธุ์ไปจำนวนมาก การสืบพันธุ์ของหนอนชนิดจะสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศแล้ว แต่ยังเพิ่มจำนวนได้ตามจำนวนร่างที่ขาด (regenerate) ทำให้หอยชนิดนี้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในทวีปเอเชีย นอกจากนี้ยังพบการระบาดในพื้นที่อื่นของโลกด้วย เช่น หมู่เกาะฮาวาย เป็นต้น

 

map

ภาพการพบเจอของหนอนตัวแบน ตามที่ต่าง ๆ
ที่มาของภาพ https://www.cabi.org/isc/datasheet/42340

 

นอกจากหนอนตัวแบนนิวกินีแล้ว สัตว์ต่างถิ่นชนิดอื่น ๆ ก็ค่อยๆ เข้ามาอย่างเงียบๆ แทรกซึมไปตามพื้นที่ต่าง ๆ จนกระทั้งเกิดการระบาดและทำลายระบบนิเวศท้องถิ่น อย่างเช่น ปลาเทศบาลหรือปลาซัคเกอร์ (Hypostomus Plecostomus) ที่เริ่มต้นจากการนำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ด้วยความที่มีรูปลักษณ์แปลกตาไปจากปลาท้องถิ่น บวกกับสีสันและความสามารถในการดำรงชีวิตในสภาพต่าง ๆ ทำให้เป็นที่นิยมเลี้ยงในหมู่นักเลี้ยงปลาสวยงาม แต่เมื่อเบื่อก็ทิ้งลงแหล่งน้ำธรรมชาติ นับเป็นภัยมหันต์แก่แหล่งน้ำนั้น นอกจากปลาซัคเกอร์จะมาจากความเบื่อและไม่อยากเลี้ยงของนักเลี้ยงปลาแล้ว ปลาซัคเกอร์เหล่านี้ยังมาจากความเชื่อของคนไทยเรื่องการปล่อยปลาเพื่อสะเดาะเคราะห์และเสริมบุญให้กับตนเองและครอบครัว จนมีพ่อค้าแม่ค้านำปลาซัคเกอร์มาเป็นหนึ่งในปลาที่ใช้สะเดาะเคราะห์ในนามปลาดำราหู ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ ซึ่งผลร้ายที่ตามมากับการปล่อย ปลาซัคเกอร์นั้นสร้างความเสียหายร้ายแรงต่อระบบนิเวศท้องถิ่นและสัตว์น้ำประจำถิ่นในบริเวณนั้น

 

 Hypostomus plecostomus 

ปลาเทศบาลหรือปลาซัคเกอร์ (Hypostomus Plecostomus)
ที่มาของภาพ https://en.wikipedia.org/wiki/Hypostomus_plecostomus 

 

นอกจากนี้ก็ยังมีปลาหมอสีคางดำ (Sarotherodon melanotheron) ที่สร้างปัญหาให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาและกุ้งในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงครามและจังหวัดใกล้เคียงเป็นอย่างมาก เนื่องจากปลาหมอสีคางดำเหล่านี้มีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วมาก และมีช่วงเวลาในการเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วกว่าสัตว์ประจำถิ่น อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย ทนความเค็มได้สูง บวกกับปลาหมอสีคางดำเป็นสัตว์ที่กินทั้งพืชและสัตว์ เช่น แพลงก์ตอน ลูกกุ้ง ลูกปลา ลูกหอยสองฝา รวมถึง ซากของสิ่งมีชีวิต ปลาหมอสีคางดำเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้ายและกินอาหารอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากมีทางเดินอาหารที่ยาวและระบบย่อยอาหารที่ดีมาก จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมสัตว์ในพื้นที่ที่มีการรุกรานถึงได้หายไป

 

 Sarotherodon

 ภาพปลาหมอสีคางดำ (Sarotherodon melanotheron)
ที่มาของภาพ ชัยวุฒิ สุดทองคง ชมพู สามห้วย และจีรวรรณ ศรีทองชื่น (24 กรกฎาคม 2560)

 

ดูเหมือนสัตว์ต่างถิ่นเหล่านี้อยู่รอบตัวเรามากขึ้น และนับวันยิ่งเพิ่มจำนวนและชนิดมากขึ้น นอกจากตัวอย่างเหล่านี้ก็ยังมีสัตว์ต่างถิ่นชนิดอื่นที่เข้ามารุกรานระบบนิเวศของประเทศไทยอีกประมาณ 100 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือแม้แต่จุลินทรีย์ คงจะถึงเวลาที่ทุกคนจะต้องตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ ไม่ใช่แค่ทำตามกระแสในหน้าข่าว แต่การสร้างจิตสำนึกและการให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสัตว์ต่างถิ่น รวมถึงผลกระทบเมื่อสัตว์ต่างถิ่นเหล่านั้นหลุดไปยังระบบนิเวศท้องถิ่นนั้น ยังคงต้องทำอย่างต่อเนื่องในทุกระดับเพื่อไม่ให้สัตว์ประถิ่นในบ้านเราหายไปจนเหลือแค่คำบอกเล่าของคนรุ่นเก่าเท่านั้น

 

แหล่งที่มา

ผศ. ดร. อาจอง ประทัตสุนทรสาร. 2555, คู่มือประกอบสื่อการสอน วิชาชีววิทยา เรื่อง ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น, ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด. 2553 ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่น. กรมประมง, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ 130 หน้า.

Wikipedia. (2017, November). Platydemus manokwari. Retrieved from Wikipedia: https://en.wikipedia.org/wiki/Platydemus_manokwari

ไบรท์ทีวี . (2017, July 6). วิกฤตยี่สาร! ปลาหมอสีคางดำระบาดหนัก เจ้าของบ่อโอดขาดทุนยับ. Retrieved from ไบรท์ทีวี: https://www.brighttv.co.th/latest-news/social/87997

คมชัดลึก. (2017, July 15). ทำบุญได้บาปปล่อยปลาราหูดำ‘เอเลี่ยน สปีชีส์’มหันตภัยระบบนิเวศ. Retrieved from คมชัดลึก: http://www.komchadluek.net/news/scoop/233820

สุดทองคง, ช. (2017, July 28). ปลาหมอสีคางดำ. Retrieved from ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขต 2 (สมุทรสาคร):http://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20171114193058_1_file.pdf

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Alien Species, หนอนตัวแบน, ปลาซัคเกอร์, ปลาหมอ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
จิรวัฒน์ ดำแก้ว
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7685 Alien (species) บุก ! /article-biology/item/7685-alien-species
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ปลาหมอ ปลาซัคเกอร์ หนอนตัวแบน Alien Species
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)