logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

สิ่งที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับพันธุศาสตร์

โดย :
ดร. นันทยา อัครอารีย์
เมื่อ :
วันอังคาร, 09 พฤศจิกายน 2564
Hits
1834

             พันธุศาสตร์อาจจะเป็นยาขมสำหรับนักเรียนหลายคน เวลาเรียนชีววิทยา เพราะเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรามองไม่เห็น และจับต้องไม่ใด้ อีกทั้งมีคำศัพท์เฉพาะมากมายที่สร้างความสับสนให้แก่นักเรียน จึงทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ยาก และอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน (misconception) ในสาระของพันธุศาสตร์ได้ ความรู้พื้นฐานทางพันธุศาสตร์นั้นนอกจากจะมีความสำคัญในการเรียนรู้เนื้อหาอื่น ๆ เช่น เรื่องวิวัฒนาการแล้ว ยังเป็นพื้นฐานในการเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองและเทคโนโลยีดีเอ็นเอที่มีรอบตัวเราในปัจจุบันตัวย เมื่อครูตระหนักถึงความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของนักเรียน การรู้นี้จะช่วยให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ 1:
การแสดงออกของลักษณะต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิตถูกควบคุมด้วยยีนเท่านั้น

นักเรียนอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า เมื่อลูกได้รับยืนหนึ่ง ๆ จากพ่อและแม่แล้วลูกจะต้องแสดงลักษณะนั้นอย่างแน่นอน แม้ลักษณะทางพันธุกรรมบางลักษณะจะถูกกำหนดด้วยพันธุกรรม เช่น หมู่เลือด ลักษณะผิวเผือก และโรคธาลัสซีเมีย แต่ธรรมชาติมีหลายลักษณะที่ถูกกำหนดด้วยยืนและสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน เช่น ความสูงซึ่งนอกจากจะขึ้นกับยีนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโต (growth hormone) แล้วนั้น ยังมีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมด้วยเช่น การรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย

            อีกหนึ่งตัวอย่างที่การควบคุมลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมคือโรคหัวใจ โดยบางกลุ่มอาการของโรคหัวใจได้รับจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่นมีมิวเทขันที่ทำให้การทำงานของโปรตีนในการรับส่งโซเดียมไอออนบริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ แต่ความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจจากการมีความดันโลหิตสูงอาจเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารรสเค็ม ความเครียด ดังนั้นการที่เรามียืนต่าง ๆ มากมายไม่ได้เป็นการกำหนดว่าเราจะต้องมีลักษณะนั้นเสมอไป เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตด้วย

 

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ 2:
ลักษณะทางพันธุกรรม 1 ลักษณะดูกควบคุมด้วยยีน 1 ยีนเท่านั้น

            ลักษณะทางพันธุกรรมที่สอนกันในชั้นเรียนส่วนใหญ่อาจเป็นไปตามคำกล่าวที่ว่า one gene = one protein = one trait นั่นคือ ยืนหนึ่งยืนมีหน้าที่ควบคุมการสร้างสายพอลิเพปไทด์หนึ่งสาย ซึ่งจะส่งผลต่อฟิโนไทป์หรือลักษณะที่ปรากฎหนึ่งลักษณะ ยกตัวอย่างเกี่ยวกับลักษณะของตันถั่วลันเตาเช่น ความสูง สีดอก และรูปร่างเมล็ด อย่างไรก็ตามในธรรมชาตินั้น ลักษณะทางพันธุกรรมส่วนใหญ่ถูกควบคุมด้วยยืนหลายยืน(polygenes) ในตำแหน่งต่าง ๆ บนคู่ฮอมอโลกัส (homologous) โครโมซม เช่น สีผิวของมนุษย์ถูกควบคุมด้วยยืนหลายตำแหน่งที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสารสี ซึ่งทำให้เรามีสีผิวที่แตกต่างกันหลายระดับนั่นเอง

 

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ 3:
ยีนและแอลลีลมีความหมายเหมือนกัน

            นักเรียนอาจเข้าใจสับสนในความหมายของ น (gene) และแอลลีล(allele)เนื่องจากมีการใช้คำว่ายีนและแอลลีลแทนความหมายกันบ่อยในบริบทต่าง ๆ ทั้งที่สองคำนี้มีความหมายแตกต่างกัน เช่น กล่าวว่าต้นถั่วมีทั้งยืนดอกสีม่วงและยืนดอกสีขาว ซึ่งไม่ถูกต้อง เนื่องจากลักษณะสีดอกไม่ได้เกิดจากยืนสองยืนที่อยู่คนละตำแหน่งของโครโมโซม แต่ลักษณะสีดอกถูกควบคุมด้วยยืนหนึ่งยืนที่มีหลายแอลลีล ตัวอย่างในที่นี้มีสองรูปแบบ ได้แก่ แอลลีลเด่น (P) ควบคุมดอกสีม่วงและแอลลีลด้อย (p) ควบคุมดอกสีขาว คำว่ายืนจะใช้เวลากล่าวถึงหน่วยที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรม และใช้คำว่า แอลลีล เมื่อกล่าวถึงรูปแบบต่าง ๆ ของยืน

            เมื่อเมนเดลศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของตันถั่ว ความรู้ทางพันธุศาสตร์ยังไม่ก้าวหน้าอย่างในปัจจุบัน จึงยังไม่มีการอธิบายว่าตันถั่วที่มีแอลลี่ลเด่นนั้นให้ดอกสีม่วงได้อย่างไร ใน ค.ศ. 2010 กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ (Hellens R.P. และคณะ: 2010 ได้ศึกษาลำดับนิวคโอไทด์ของยืนควบคุมสีดอกในต้นถั่ว และพบว่าลำตับนิวคลีโอไทในแอลลีลต้อยแตกต่างจากในแอลลีลเด่นโดยแอลลีลเด่นควบคุมการสร้างสารสี (pigment) ซื่อ anthocyanin ทำให้กลีบดอกมีสีม่วง และกระบวนการสร้าง anthocyanin นั้นเป็นปฏิกิริยาต่อเนื่องที่ต้องอาศัยเอนไซม์หลายชนิดมาทำงานร่วมกัน โดยยืนควบคุมสีดอกที่เมนเดลศึกษาทำการควบคุมการสังเคราะห์เอนไซม์ chalcone synthase ซึ่งเป็นเอนไซม์ตัวแรกในกระบวนการสังเคราะห์ anthocyanin

dna 01

            ในต้นถั่วที่มีดอกสีขาวซึ่งถูกควบคุมด้วยแอลลีลด้อยนั้นมีลำดับนิวคลีโอไทด์แตกต่างไปจากตันถั่วที่มีดอกสีม่วง จาก...CTA...เป็น ...ATA...ทำให้ดอกสีขาวไม่มีการสร้างเอนไซม์ chalcone synthase จึงไม่มีการสร้างสารสี anthocyanin

dna 02

 

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ 4:
เซลล์ที่ทำหน้าที่ต่างกันมีข้อมูลทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน

"ดีเอ็นเอในเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมีความแตกต่างจากดีเอ็นเอในเซลล์ประสาทของบุคคลเดียวกันหรือไม่ ?"

            คำถามนี้สามารถระบุได้ว่านักเรียนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือไม่ เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจทำหน้าที่บีบและคลายหัวใจเพื่อส่งเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ และเซลล์ประสาททำหน้าที่รับส่งกระแสประสาท นักเรียนอาจเข้าใจว่าเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมีข้อมูลทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันเพราะเซลล์แต่ละชนิดทำหน้าที่แตกต่างกัน แต่แท้จริงแล้วเซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายมีข้อมูลทางพันธุกรรมที่เหมือนกันไม่ว่าจะเป็นเชลล์ชนิดใดเพราะแต่ละเซลล์มีการควบคุมการแสดงออกของยีนที่แตกต่างกัน เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจมียีนเหมือนกับเซลล์ประสาท แต่มีการแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างและการทำงานของระบบหัวใจแตกต่างจากของเซลล์ประสาท

dna 03

ที่มา https://www.sciencelearn.org.nz/images/198-cell-chromosomes-and-dna

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ 5:
ลักษณะเด่นคือลักษณะที่พบมากในประชากร

            ลักษณะเด่นมิใช่ลักษณะที่พบมากในประชากร คำว่าเด่นในที่นี้หมายถึงแอลลีลเด่นที่สามารถข่มการแสดงออกของแอลลีลด้อยได้ นั่นคือจีโนไทป์ที่เป็น heterozygote จะแสดงฟิโนไทป์ที่เป็นลักษณะเด่น การระบุว่าลักษณะใดเป็นลักษณะเด่นหรือลักษณะด้อยไม่สามารถบอกได้จากความถี่ที่พบในประซากร แต่สามารถระบุได้จากการศึกษาการถ่ายทอดลักษณะนั้นจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ตัวอย่างของลักษณะเด่นที่มีโอกาสพบได้น้อยในประชากรคือลักษณะนิ้วเกิน(polydactyly) ซึ่งพบประมาณ 0.3-6.2 ในประชากร 1,000 คน ทั้งนี้ขึ้นกับเชื้อชาติและโรคคนแคระ (achondroplasia) ที่พบประมาณ 1 ในประซากร 10,000 คน

dna 04

ที่มา https://runkle-science.wikispaces.com/Polydactyly

dna 05

ที่มา http://www.healthhype.com/achondroplasia.html

 

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ 6:
ถ้าครอบครัวหนึ่งมีโอกาส 1 ใน 4 ที่ลูกจะเป็นโรคทางพันธุกรรม เมื่อลูกคนแรกเป็นโรคลูกคนถัดไปจะไม่มีโอกาสเป็นโรคทางพันธุกรรมอีกเลย

            เราสามารถทำนายความน่าจะเป็นที่ลูกๆ ในครอบครัวหนึ่งจะมีโอกาสเป็นโรค หรือมีลักษณะพันธุกรรมต่าง ๆ ได้ โดยพิจารณาจากการถ่ายทอดแอลลีลของพ่อและแม่สู่รุ่นลูก แต่เราไม่สามารถระบุได้อย่างแน่นอนว่าลูกแต่ละคนจะมีลักษณะใด ถ้าพ่อและแม่เป็นพาหะของโรคโลหิตจางแบบซิกเคิลเซลล์ครอบครัวนี้มีโอกาสมีลูกที่เป็นโรคในสัดส่วน1 ต่อ 4 โดยลูกคนแรกมีโอกาสเป็นโรคในสัดส่วน 1 ต่อ 4 และลูกคนที่สองยังมีโอกาสเป็นโรคในสัดส่วนเท่ากันคือ 1 ต่อ 4 แม้ลูกคนแรกจะเป็นโรคโลหิตจางแล้วก็ตาม โอกาสในการเป็นโรคของลูกคนถัดไปจะเท่ากันทุกครั้งที่แม่ตั้งครรภ์ การคำนวณการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมเป็นเพียงการทำนายความน่าจะเป็นที่อาจเกิดขึ้นในครรภ์ในแต่ละครั้งเช่นเดียวกับการที่จะมีลูกเพศชายหรือเพศหญิงที่มีโอกาสเป็น 50% เราไม่สามารถกำหนดได้ว่าลูกคนที่จะเกิดมามีเพศใด ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโอกาสการเกิดโรคทางพันธุกรรมจะช่วยในการวางแผนครอบครัวได้

dna 06

ความเข้าใจคลาดเคลื่อนที่ 7:
มิวเทชันทำให้เกิดโรค และมีผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตเท่านั้น

            มิวเทชัน (mutation) เป็นการเปลี่ยนแปลงลำดับนิวคลีโอไทด์ในสายดีเอ็นเอ ซึ่งอาจส่งผลให้ฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลง มิวเทชันบางอย่างทำให้เกิดโรคทางพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของร่างกายและอาจส่งผลต่อการอยู่รอดของสิ่งมีชีวิต เช่น โรคโลหิตจางขนิดซิกเคิลเซลล์ซึ่งเกิดจากมิวเทขันในดีเอ็นเอส่งผลให้โปรตีนที่สังเคราะห์ได้มีลำดับกรดอะมิโนเปลี่ยนจากกรดกลูตามิกเป็นวาลีน ส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างเป็นรูปเคียวจึงทำให้เกิดการอุดตันของเม็ดเลือดแดงในหลอดเลือดได้ง่ายกว่ารูปร่างปกติ อย่างไรก็ตาม มิวเทชันไม่ได้ทำให้เกิดโรคร้ายแรงเท่านั้น แต่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตได้ดีกว่าเดิม และสิ่งมีชีวิตมีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างหลากหลายก่อให้เกิดการมีความหลากหลายทางพันธุกรรมซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่นำไปสู่วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ตัวอย่างของการเกิดมิวเทชันที่ไม่ทำให้เกิดโรค เช่น ในยีน CCR5 มีมิวเทชั่นที่นิวคลีโอไทด์ในดีเอ็นเอหายไป จึงส่งผลให้การสร้างโปรตีน CCR5  มีความผิดปกติ โดยโปรตีนนี้ทำหน้าที่เป็น co-receptor บนเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด -cell การเกิดมิวเทชันจะส่งผลให้ไวรัส HIV ไม่สามารถจับกับเซลล์เพื่อเข้าสู่โฮสต์ได้ ดังนั้นบุคคลที่เป็น homozygous ของแอลลีลนี้จะมีความต้านทานต่อการติดเชื้อ HIV บางสายพันธุ์ได้ (Marmor และคณะ: 2006)

dna 07

ที่มา What is Sickle Cell Anemia. (Online) Available:
http://www.nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/sca/ (retrieved 26/09/2014).

            พันธุศาสตร์เป็นเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน นักเรียนเรียนรู้เกี่ยวกับพันธุศาสตร์ทั้งจากในชั้นเรียน จากประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน หรือจากสื่อต่าง ๆ บางครั้งความเข้าใจคลาดเคลื่อนของนักเรียนอาจเกิดจากประสบการณ์ เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจวิชาพันธุศาสตร์มากขึ้น ครูอาจใช้คำถามเหล่านี้เพื่อวัดความรู้เบื้องต้นและความข้าใจคลาดเคลื่อนของนักเรียนก่อนสอน เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องมากขึ้น

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

บรรณานุกรม

Chi. M. (2008). Three types of conceptual change: Belief revision, mental model transformation. and categorical shift.In S. Vosniadou (Ed.), Handbook of research on conceptual change (pp. 61-82). Hillsdale, NU: Erlbaum.

Hellens, R. P.. Moreau C.. Lin-Wang K.. Schwinn K.E., Thomson S.J.. et al. 2010. Identification of Mendel's White Flower Character. PLOS ONE. 5(10)

Lewis, J.. & Kattmann, U. (2004). Traits, genes, particles and information: revisiting students' understandings of genetics.International Journal of Science Education, 26(2). 195-206.

Marmor M.. Hertzmark K.. Thomas S. M.. Halkitis P. N. & Vogler M. (2006 January). Resistance to HIV Infection. J Urban Health, 83(1). 5-17.

Tsui. C.. & Treagust, D. F. (2007). Understanding genetics: Analysis of secondary students' conceptual status. Journal of Research in Science Teaching, 44(2), 205-235.

Venville, G.. & Treagust. D. F. (1998). Exploring conceptual change in genetics using a multidimensional interpretive framework. Journal of Research in Science Teaching, 35(9), 1031-1055.

Things You May Not Know About DNA. Retrieved  February 2,2009. From http:/learn.genetics.utah.edu/content/molecules/dnathings/.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
พันธุศาสตร์, ยีน, แอลลีน, มิวเทชัน
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ดร. นันทยา อัครอารีย์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12470 สิ่งที่คุณอาจไม่รู้เกี่ยวกับพันธุศาสตร์ /article-biology/item/12470-2021-10-19-04-13-24
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    มิวเทชัน แอลลีน ยีน พันธุศาสตร์
คุณอาจจะสนใจ
มลพิษทางอากาศ (Air Pollution)
มลพิษทางอากาศ (Air Pollution)
Hits ฮิต (85003)
ให้คะแนน
มลพิษทางอากาศ... เราสามารถหยุดมันได้ ยุวศรี ต่ายคำ ปัจจุบันเราต้องเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย ซึ ...
Refined salt (เกลือบริสุทธิ์) อันตรายจริงหรือ???
Refined salt (เกลือบริสุทธิ์) อันตรายจริ...
Hits ฮิต (44360)
ให้คะแนน
Refined salt และ Unrefined salt เกลือก็คือเกลือใช่หรือ?? แน่นอนว่าบางทีก็ไม่ใช่เสมอไป เช่นเดียวกับร ...
เคมีในชีวิตประจำวัน สำคัญกับเราจริงหรือ?
เคมีในชีวิตประจำวัน สำคัญกับเราจริงหรือ?
Hits ฮิต (63911)
ให้คะแนน
เคมีในชีวิตประจำวัน สำคัญกับเราจริงหรือ? ท่านผู้อ่านเคยสังเกตบ้างไหมคะว่าในชีวิตประจำวันของเรา จะต้ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)