logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

สิทธิบัตร สิทธิ์ที่นักประดิษฐ์ต้องรู้

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันศุกร์, 02 พฤศจิกายน 2561
Hits
22654

          หลายปีที่ผ่านมานี้ หลายคนคงเคยได้เห็นข่าวการฟ้องร้องเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรของกันและกันระหว่างบริษัทชั้นนำแนวหน้าของโลกด้านการผลิตอุปกรณ์สื่อสารทั้ง 2 ค่าย ไม่ต้องเอ่ยชื่อก็คงพอจะเดากันได้ ซึ่งต่างก็มีข้อพิพาทฟ้องร้องกันอยู่เรื่อย ๆ  เราเองก็คงจะไม่พูดถึงคดี แต่สิ่งที่จะนำมาฝากกันวันนี้ก็คือความรู้เรื่องของสิทธิบัตร ว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ก็อยากให้ผู้อ่านศึกษาข้อมูลเบื้องต้นกันเอาไว้เพื่อเป็นประโยชน์ในอนาคต เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องไม่สำคัญ แต่เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ควรเรียนรู้เอาไว้

8484 1

ภาพที่ 1 สิทธิบัตร
ที่มา http://creative-commons-images.com/handwriting/p/patent.html

          ก่อนอื่นอยากให้ทุกคนทำความเข้าใจก่อนว่าจริง ๆ แล้ว สิทธิบัตรเป็นประเภทหนึ่งของทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน สามารถดูภาพที่ 2 ประกอบ จะทำให้เข้าใจมากขึ้น ทั้งนี้คงไม่อธิบายในเชิงลึกเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาไว้ทั้งหมด แต่สามารถอ่านเพิ่มเติมทั้งหมดได้ตามแหล่งทีมาที่ให้ไว้

          ในทางสากลกำหนดทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property) และลิขสิทธิ์ (Copyright) ซึ่งสิทธิบัตรนั้นเป็นประเภทหนึ่งของทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)

8484 2

ภาพที่ 2  แผนภูมิทรัพย์สินทางปัญญา
ที่มา http://www.am.mahidol.ac.th/web/images/documents/Research department/Manual/11 Introduction to Intellectual Property.pdf

สิทธิบัตร (Patent) คืออะไร

          กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ให้คำจำกัดความของสิทธิบัตรไว้สั้น ๆ ว่า สิทธิบัตร  คือ หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ ทั้งนี้ขออธิบายขยายให้ชัดเจนขึ้นมาอีกขั้นก็คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ผู้ทรงสิทธิบัตร มีสิทธิเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวในการแสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้น ภายในช่วงเวลาหนึ่ง ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น

          ทั้งนี้ตามที่กฎหมายกำหนดในที่นี้ก็คือ ระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีข้อกำหนด รูปแบบหรือประเภทของสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ. สิทธิบัตร ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภท คือ

          1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การเก็บรักษา หรือการปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม

          2. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะภายนอกของผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบของลวดลาย หรือสีของผลิตภัณฑ์ ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับการผลิตเชิงอุตสาหกรรม รวมทั้งหัตถกรรมได้

          3. อนุสิทธิบัตร (Petty patent) เป็นการให้ความคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์คิดค้น เช่นเดียวกับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ แต่แตกต่างกันตรงที่การประดิษฐ์ที่จะขอรับอนุสิทธิบัตร เป็นการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น

การจดสิทธิบัตร มีข้อดีอย่างไร

          ด้านประชาชน  สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคประชาชน ที่จะได้รับของดีมีคุณภาพและให้ความปลอดภัย

          ด้านเจ้าของสิทธิบัตร ได้รับผลตอบแทนจากสังคม คือ การได้รับความคุ้มครองสิทธิบัตรอันนำมาซึ่งค่าตอบแทนได้

          ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่อยากให้อ่านไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้น รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการจดสิทธิบัตรสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในแหล่งที่มา

แหล่งที่มา

กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์. สิทธิบัตรคืออะไร . สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2561, จาก http://www.ipthailand.go.th/th/patent-001.html

ความรู้เบื้องต้นด้านทรัพย์สินทางปัญญา . สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2561, จาก http://www.am.mahidol.ac.th/web/images/documents/Research department/Manual/11 Introduction to Intellectual Property.pdf

สิทธิบัตร . สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2561, จาก  http://www.trueinnovationcenter.com/ip_patent.php

สิทธิบัตร . สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2561, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/สิทธิบัตร

         

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ละเมิดสิทธิ, สิทธิ, ฟ้องร้อง, ทรัพย์สินทางปัญญา, กรมทรัพย์สินทางปัญญา, สิทธิบัตร, Patent, การประดิษฐ์, คุ้มครอง, ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม, Industrial Property, ลิขสิทธิ์, Copyright, สิทธิบัตรการประดิษฐ์, สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์, อนุสิทธิบัตร, Petty patent, ผลิตภัณฑ์, ออกแบบ, เจ้าของ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 02 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
อื่น ๆ
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8484 สิทธิบัตร สิทธิ์ที่นักประดิษฐ์ต้องรู้ /other-article/item/8484-2018-07-18-04-21-20
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
การสื่อสารยุคที่ห้า (5G: fifth generation)
การสื่อสารยุคที่ห้า (5G: fifth generatio...
Hits ฮิต (17136)
ให้คะแนน
ในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา ผู้อ่านหลายท่านคงมีโอกาสรับฟังข่าวสารจากภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับ 5G หรือการ ...
วีดิโอและหนังสั้น: สื่อทางเลือกในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ที่หาได ...
วีดิโอและหนังสั้น: สื่อทางเลือกในชั้นเรี...
Hits ฮิต (27373)
ให้คะแนน
วีดิโอและหนังสั้น : สื่อทางเลือกในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ ที่หาได้ฟรีจากอินเทอร์เน็ต สุทธิพงษ์ พงษ์วร ...
ความท้าทายของข้อมูลในยุคแห่งดิจิทัล
ความท้าทายของข้อมูลในยุคแห่งดิจิทัล
Hits ฮิต (15665)
ให้คะแนน
กล่าวได้ว่าปัจจุบันนี้ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก และเรียกได้ว่าใครที่มีข้อมูลก็จะเป็นผู้ได้เปรียบ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)