logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เส้นทางวิศวกรการบิน

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันอังคาร, 14 สิงหาคม 2561
Hits
24380

          อาชีพวิศวกรเป็นอาชีพในฝันและได้รับความนิยมอันดับต้น ๆ ของคนส่วนใหญ่ เนื่องด้วยเป็นอาชีพที่มีความท้าทาย มีค่าตอบแทนที่สูง คนที่จะเป็นวิศวกรได้ต้องเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ เรียนเก่ง มีความเฉลียวฉลาดในทุก ๆ ด้าน และที่สำคัญมีความเชี่ยวชาญในเฉพาะด้านสาขาที่ตนสนใจอีกด้วย วันนี้ผู้เขียนขอแนะนำสาขาหนึ่งที่เป็นสาขาที่น่าสนใจเป็นอย่างมากคือ สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ และก็นำข้อมูลดี ๆ สำหรับผู้มีใจอยากเป็นวิศวกรการบินและอวกาศมาฝากกัน

7947 1

ภาพ เครื่องจักรกลภายในเครื่องบิน
ที่มา https://pixabay.com/th , coltsfan

         วิศวกรรมการบินและอวกาศ เป็นสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวกับที่เกี่ยวข้องโดยรวมทั้งหมดเกี่ยวกับเครื่องบิน ตัวอย่างเช่น การวิจัย ออกแบบ และวิเคราะห์โครงสร้างรูปร่างทางพลศาสตร์เครื่องยนต์ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการทำงานของเครื่องบิน และรวมไปถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการบิน รวมทั้งการวางแผนและควบคุมการสร้าง การทดสอบหรือการซ่อมบำรุง ทั้งการออกแบบเครื่องบิน ขีปนาวุธ ยานอวกาศ และดาวเทียม

         ในการทำงานจริงนั้น สถานที่ทำงานของวิศวกรการบินและอวกาศก็ไม่พ้นที่จะต้องทำงานในบริเวณสถานที่ตั้งของสนามบิน อาจมีบ้างที่อาจทำในสถานที่ที่เป็นบริษัทออกแบบและผลิตเครื่องบินเพื่อการจำหน่ายหรือเช่า วิศวกรที่ทำหน้าที่ตรงนี้ จะต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานของระบบงานต่าง ๆ เช่น ระบบขับเคลื่อน วัสดุ และกรรมวิธี งานวางแผนและควบคุม งานระบบนักบินกลนำร่องอัตโนมัติ

         และด้วยเหตุที่งานด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศ ซึ่งจำเป็นต้องใช้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถ แต่ปัจจุบันกำลังคนที่สามารถจบออกมาทำงานทางด้านนี้ยังมีจำนวนไม่มาก ซึ่งอาจเรียกได้ว่ากำลังขาดแคลน ทำให้วิศวกรในสาขานี้มีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนเฉลี่ยที่สูงมาก

          คุณสมบัติที่ควรมีสำหรับคนที่อยากเป็นวิศวกรการบินและอวกาศ

  • มีกล้า มีความทะเยอทะยาน ชอบความท้าทาย และมีความคิดสร้างสรรค์
  • มีความเฉลียวฉลาดและชำนาญในการแก้ปัญหา
  • เป็นคนที่มีความสนใจในด้านเทคนิคการรื้อประกอบชิ้นส่วน หรือประดิษฐ์คิดค้นอุปกรณ์ต่าง ๆ
  • มีความชอบและสนใจในเรื่องของอิเล็กทรอนิกส์
  • มีความชอบและสนใจในเรื่องเครื่องจักร เครื่องกล และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย
  • มีความรับผิดชอบสูง ละเอียดรอบคอบ ทำงานภายใต้ความกดดันได้ดี
  • มีความสนใจและความสามารถในการออกแบบ สร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์และการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบได้เป็นอย่างดี
  • มีความสนใจเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมทางอากาศและตรรกะในการผลิตเครื่องบิน
  • มีความรู้พื้นฐานด้านวิศกรรมเป็นอย่างดี
  • มีความเชี่ยวชาญในวิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และภาษาอังกฤษ

วิศวกรรมการบินและอวกาศ เรียนอะไรบ้าง?

           สำหรับ วิศวกรรมการบินและอวกาศ โดยพื้นฐานก็ต้องเรียนศาสตร์วิทยาศาสตร์ทางด้านฟิสิกส์เป็นตัวพื้นฐานอยู่แล้ว  เช่น พลศาสตร์ หรือสมการของการเคลื่อนไหวสำหรับพลศาสตร์การบิน เป็นต้น และมีการเรียนที่เข้มข้นโดยเน้นการนำไปปฏิบัติงานจริงในเรื่องขององค์ประกอบทั้งหมดที่สร้างขึ้นมาเป็นยาพาหนะการบินและอวกาศ เช่น ระบบย่อยรวมทั้งพลังงาน แบริ่ง การสื่อสาร การควบคุมอุณหภูมิ การสนับสนุนการดำรงชีวิต วงจรการทำงานของระบบต่าง ๆ การออกแบบอุณหภูมิความดันการแผ่รังสีความเร็วและอายุการใช้งานของพวกวงจรการทำงานของทุกระบบภายในเครื่องบิน นอกจากนี้ก็จะมีแต่จะมีการเรียนเฉพาะทางในด้านสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องเช่น การออกแบบ การสร้าง การซ่อมบำรุง และการบริการธุรกิจทางด้านการบิน โดยที่จะเป็นการเรียนตั้งแต่ขั้นพื้นฐานของการออกแบบ การสร้างทางกายภาพของอากาศยาน จรวด ยานบิน และยานอวกาศ ซึ่งจะครอบคลุมไปถึงลักษณะทางอากาศพลศาสตร์และพฤติกรรม พื้นผิวการควบคุมการบิน การยกตัว การลากทางอากาศพลศาสตร์ เป็นต้น

           เป็นอย่างไรกันบ้าง ที่กล่าวไปทั้งหมดนั้นเป็นสาขาที่น่าสนใจและน่าเรียนมากเลยใช่ไหม ใครจะดูว่าสาขานี้เปิดสอนที่ไหนกันบ้างและต้องเตรียมตัวอย่างไร ก็สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมในแหล่งที่มาได้เลย

แหล่งที่มา

Toeybeast. (2561 , 5 มกราคม) . แนะนำสาขาน่าเรียน วิศวกรรมการบินและอวกาศ | เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
          https://campus.campus-star.com/education/59215.html

แนะนำหลักสูตรและสาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศ. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
          https://www.hotcourses.in.th/study-abroad-info/subject-guides/aerospace-engineering/

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
เครื่องบิน, การบิน, วิศวกรรม, วิศกรรมการบินและอวกาศ, วิศกรรมการบิน, วิศวกรการบิน, วิศวกร
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 11 มิถุนายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
อื่น ๆ
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7947 เส้นทางวิศวกรการบิน /other-article/item/7947-2018-03-20-08-16-42
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
สารเคมีฝนหลวง
สารเคมีฝนหลวง
Hits ฮิต (53242)
ให้คะแนน
ฝนที่เกิดจากจากพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงพบเห็นความทุกข์ยากลำ ...
ความเชื่อเรื่อง ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ กับความเชื่อมโยงต่อการเปลี ...
ความเชื่อเรื่อง ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ กับควา...
Hits ฮิต (6370)
ให้คะแนน
การเปลี่ยนแปลงของสสารนั้นเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหลักการทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิ ...
ก๊าซธรรมชาติ และ เซลเชื้อเพลิง เพื่อ สิ่งแวดล้อม
ก๊าซธรรมชาติ และ เซลเชื้อเพลิง เพื่อ สิ่...
Hits ฮิต (31408)
ให้คะแนน
น้องๆ ทราบหรือไม่คะ ว่าเชื้อเพลิงที่เราใช้กันในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ หรือ ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)