logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • อื่น ๆ
  • รู้ไว้ ทำความเข้าใจให้ดี PrEP (เพร็ป) และ PEP (เป๊ป)

รู้ไว้ ทำความเข้าใจให้ดี PrEP (เพร็ป) และ PEP (เป๊ป)

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันศุกร์, 01 ธันวาคม 2560
Hits
13205

           ในไม่กี่ปีที่ผ่านมา เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างเกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการติดเชื้อ HIV ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ต่างก็ให้ความสำคัญและมีการหาแนวทางป้องกันไม่ให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

 7738 1ภาพที่ 1 PrEP และ PEP
ที่มา https://thevillagepharmacy.ca

           จากแนวโน้มที่มีแต่จะมากขึ้นของผู้ติดเชื้อรายใหม่  ซึ่งบ่งบอกให้เห็นว่าในอนาคตการติดเชื้อจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างแน่นอน การป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อและติดเชื้อจึงเป็นวิธีการลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ ที่ดีที่สุด

           ปัจจุบันในประเทศไทย มีการใช้ยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV โดยหลังจากที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ประเทศสมาชิกจ่ายยาต้านไวรัสให้กับกลุ่มเสี่ยงที่มีอัตราการติดเชื้อรายใหม่  โดยเฉพาะกลุ่มชายรักชายและสาวประเภทสอง

           การใช้ยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อ HIV ในประเทศไทย มีแนวทางดังนี้ 

PrEP 

            PrEP (Pre-Exposure Prophylaxis) อ่านว่า  เพร็ป   เป็นยาต้านไวรัสสำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เหมาะสำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง หรือมีคู่สัมพันธ์ที่มีเชื้อ HIV

            เพร็ป เป็นการให้ยา 2 ตัว ร่วมกันก่อนการสัมผัสเชื้อ คือ ยาทีโนโฟเวียร์ (TDF) ให้ร่วมกับเอมทริซิตาบีน (FTC) สามารถป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้ร้อยละ 92  ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับการทานยา โดยมีข้อกำหนดการใช้ยาคือ ทานทุกวัน โดยยาที่แนะนำให้ใช้ในปัจจุบันคือ Tenofovir 300 มิลลกรัม Emtricitabine 200 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง   ทั้งนี้มีข้อสำคัญว่า ผู้ใช้ยาจะต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีเชื้อ HIV มาก่อนเท่านั้น ดังนั้น ก่อนการใช้ยาจะต้องเข้ารับการตรวจเชื้อ HIV ในขั้นตอนแรกของการรับบริการก่อน นอกจากนี้ยังต้องตรวจสภาพร่างกายและการทำงานของตับและไต ว่าปรกติหรือไม่ เพราะมีผลข้างเคียงต่อตับและไตอยู่บ้างเหมือนกัน สำหรับการใช้ยาตัวนี้

          ทั้งนี้จำเป็นต้องเรียนรู้และป้องกันการติดเชื่อร่วมไปกับวิธีอื่น ๆ ไปด้วย เช่น  การใช้ถุงยางทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ การตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอ แนะนำว่าทุก ๆ 3 เดือน  และการลดจำนวนคู่นอน เป็นต้น

PEP

         PEP (Post -Exposure Prophylaxis) อ่านว่า  เป๊ป    เป็นยาต้านไวรัสสำหรับผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ HIV แต่พึ่งไปสัมผัสหรือรับเชื้อ HIV มา เราอาจเรียกได้ว่า ยาเป๊ปเป็นยาฉุกเฉิน โดยจำเป็นต้องกินยาให้เร็วที่สุดภายหลังการสัมผัสเชื้อ ภายในเวลา 72 ชั่วโมง จากภาวะเสี่ยงต่าง ๆ อาทิมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน

         PEP ประกอบด้วยยาต้านไวรัสประมาณ 3ชนิด ที่ทำงานโดยช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของสารพันธุกรรมในเชื้อ และยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันในการป้องกันก่อนจะแพร่กระจายในร่างกายได้ การรับประทานยาชนิดนี้ จำเป็นต้องทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหนึ่งเดือน และต้องทานยาต้านไวรัสเหมือนกับผู้ติดเชื้อ HIV ประกอบกันไปอีก 2-3 ชนิด ทั้งนี้อาจมีผลข้างเคียงโดยเกิดอาการท้องเสีย ปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน โดยจำเป็นต้องอยู่ในการดูแลและควบคุมโดยแพทย์

         สรุปก็คือ PrEP (เพร็ป) และ PEP (เป๊ป) มีข้อจำแนกอย่างชัดเจนดังนี้

  1. PrEP คือยาป้องกันก่อนการเสี่ยงในการได้รับหรือสัมผัสเชื้อ HIV
  2. PEP  คือยาฉุกเฉินที่ต้องทานหลังการเสี่ยงการได้รับหรือสัมผัสเชื้อ HIV ภายในเวลา 72 ชั่วโมง

       การป้องกันการมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ โดยการใช้ PrEP (เพร็ป) และ PEP (เป๊ป) อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์ จะช่วยลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ HIV ได้จริง ดังจะเห็นได้จาก แนวทางการรักษาและป้องกันการติดเชื้อ HIV ของสถาบันที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ซึ่งนำไปสู่การลดการระบาดของโรคเอดส์ได้อย่างได้ผลในอนาคตนั่นเอง

แหล่งที่มา

ยาต้านไวรัสเอชไอวีเพื่อป้องกัน (ยาเพร็พ-ยาเป๊ป).  สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2560, จาก
         http://adamslove.org/d.php?id=72

PEP (เป๊ป).  สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2560, จาก
         http://www.lovefoundation.or.th/th/pep-post-exposure-prophylaxis#prep

วันทนีย์ โลหะประกิตกุล (2559, 2  สิงหาคม).   “เพร็พ” และ “เป็ป” ก็ต้านเอดส์เหมือนกัน.  สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2560, จาก
         http://haamor.com/th/เพร็พและเป็ปก็ต้านเอดส์เหมือนกัน-2

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
PrEP (เพร็ป) , PEP (เป๊ป)
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 01 ธันวาคม 2560
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
อื่น ๆ
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7738 รู้ไว้ ทำความเข้าใจให้ดี PrEP (เพร็ป) และ PEP (เป๊ป) /other-article/item/7738-pep-prep
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการให้น้ำเกลือ
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการให้น้ำเกลือ
Hits ฮิต (6039)
ให้คะแนน
เป็นเพราะได้มีโอกาสดูละครเรื่องหนึ่งที่มีฉากตัวละครนอนให้น้ำเกลืออยู่ในโรงพยาบาล และมีประโยคเด็ดที่ ...
แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนกับยานยนต์ไฟฟ้า
แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนกับยานยนต์ไฟฟ้า
Hits ฮิต (19171)
ให้คะแนน
ปัจจุบันเทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองกับความต้องการของคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิตอล และเ ...
เตรียมตัวอย่างไรดี เมื่ออยากไปสัมผัสแสงเหนือที่ขั้วโลก
เตรียมตัวอย่างไรดี เมื่ออยากไปสัมผัสแสงเ...
Hits ฮิต (1564)
ให้คะแนน
อยากไปดูแสงเหนือต้องไปนอร์เวย์จริงหรือไม่? แล้วที่เราเห็นนักท่องเที่ยวเขาไปตามล่าแสงเหนือกัน เขาไปด ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)