logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

พลังของความเศร้า

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 28 สิงหาคม 2560
Hits
26970

          ในโลกที่ผู้คนมักจะแสดงออกว่าเรามีความสุขอยู่ตลอดเวลาบนสื่อสังคมออนไลน์นั้น อารมณ์เชิงลบได้กลายเป็นสัญญาณของความอ่อนแอและความไม่ดีพอ จนบางครั้งทำให้เราเข้าใจว่าเราแปลกกว่าผู้อื่น ซึ่งนั่นอาจจะนำมาซึ่งปัญหาที่ใหญ่ขึ้นได้

7390 01

ภาพที่ 1 : เศร้าซึม (Sadness) ตัวละครจากภาพยนตร์เรื่อง Inside Out
ที่มา : Pixar Animation Studios

          ในวัฒนธรรมของเรา อารมณ์ปกติที่เกิดขึ้นได้โดยทั่วไปเช่น “ความรู้สึกเศร้า” มักถูกมองว่าเป็นความผิดปกติ การโฆษณาหรือการตลาดในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงมักแสดงออกให้เห็นแต่ในด้านดี เพราะเชื่อว่าความสุขเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการมากที่สุด และในบางครั้งยังชี้นำว่าอารมณ์ความรู้สึกเศร้าเป็นอารมณ์เชิงลบ แม้ว่าอารมณ์ดังกล่าวนั้นจะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในชีวิตที่เกิดขึ้นได้เป็นประจำสม่ำเสมอในทุกวันก็ตาม

         มนุษย์มีศาสนาและความมั่งคั่งทางวัตถุ แต่ความสุขและความพึงพอใจในชีวิตก็ยังมีไม่เพียงพอ ดังนั้นเราควรจะประเมินว่าแท้จริงแล้ว อารมณ์ความรู้สึกเชิงลบนั้นเป็นเรื่องปกติที่ควรยอมรับ

เรื่องราวสั้นๆ เกี่ยวกับอารมณ์เชิงลบ

      ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์  อารมณ์เศร้าหรือความรู้สึกแย่ ๆ (ดิสโทเปีย) ได้รับการยอมรับเสมอว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของมนุษย์ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วหลายความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษย์ก็เกี่ยวข้องกับการจัดการจิตใจ การฝึกซ้อม หรือแม้กระทั่งการปลูกฝังความรู้สึกเชิงลบ

 7390 02

ภาพที่ 2 : ภาพวาดเฟรเดริก โชแปง (Fryderyk Chopin)
ที่มา : ©Rue des Archives/Varma

        บทประพันธ์เชิงโศกเศร้าของชาวกรีก มักจะอธิบายและปลูกฝังให้ผู้อ่านยอมรับและรับมือกับความโชคร้ายที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้นั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์  อย่างบทประพันธ์ของเช็คสเปียร์ก็เป็นเรื่องราวคลาสสิกที่สะท้อนให้เห็นในรูปแบบเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีผลงานของศิลปินที่ยิ่งใหญ่มากมาย เช่น บทเพลงของเบโทเฟน (Beethoven) และโชแปง (Chopin) วรรณกรรมของเชคอฟ (Chekhov)  และอิบเซน (Ibsen) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเศร้า  ก็เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประโยชน์และมีคุณค่า

      นักปรัชญาโบราณเชื่อว่า การยอมรับอารมณ์เชิงลบเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ปราชญ์ชาวกรีกโบราณอย่างเอพิคิวรัส (Epicurus) ก็ทำให้เราได้รู้จักกับการยอมรับชีวิตที่มักจะเกี่ยวข้องการตัดสินใจ การรู้จักยับยั้งชั่งใจ การควบคุมตนเอง และการยอมรับความทุกข์ยากที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ หรือแม้แต่สโตอิก (stoics) ก็เน้นความสำคัญของการเรียนรู้ที่จะคาดการณ์และยอมรับความโชคร้าย เช่น การสูญเสีย ความเศร้าโศก หรือความอยุติธรรม

จุดประสงค์ของความเศร้าคืออะไร?

       นักจิตวิทยาที่ศึกษาอารมณ์เชิงลบกล่าวว่า ความรู้สึกและพฤติกรรมของคนเราที่พัฒนาไปได้อยู่ตลอดเวลานั้นเป็นบทบาทที่มีประโยชน์ ในความเป็นจริงแล้ว อารมณ์ของมนุษย์มีหลากหลายแง่มุม จะมีอารมณ์ในแง่ลบมากกว่าความรู้สึกในทางบวก อารมณ์เชิงลบ เช่น ความกลัว ความโกรธ ความอับอาย หรือความน่ารังเกียจ อารมณ์เหล่านั้นล้วนช่วยให้เรารู้จักหลีกเลี่ยงและเอาชนะสถานการณ์อันตรายได้ 

        ความเศร้าที่รุนแรงและยาวนาน เช่น ภาวะซึมเศร้า เป็นโรคร้ายแรงที่สามารถทำให้ร่างกายทรุดโทรม และอาจทำให้บางคนคิดจบชีวิตตัวเองได้ อย่างไรก็ตามอารมณ์เชิงลบที่ไม่รุนแรง ก็ทำให้เกิดการปรับตัวที่สำคัญและช่วยให้เราสามารถรับมือกับความท้าทายในชีวิตประจำวันและสถานการณ์ที่ยากลำบากได้ ทั้งนี้ยังทำหน้าที่เป็นสัญญาณทางสังคมที่สื่อถึงความเป็นอิสระ การถอนตัวจากการแข่งขัน  และการได้รับความคุ้มครอง เนื่องจากในเวลาที่คนเรารู้สึกเศร้าหรืออยู่ในโหมดแย่ๆ ผู้คนมักกังวลและมีแนวโน้มที่จะให้ความช่วยเหลือ

      นอกจากนี้ความเศร้ายังสามารถเพิ่มการเอาใจใส่ ความเห็นอกเห็นใจ ความรู้สึกผูกพัน ความรู้สึกทางศีลธรรม และความละเอียดอ่อนต่อความงามของศิลปะ ซึ่งช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะอีกด้วย

       การทดลองทางวิทยาศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้ระบุถึงประโยชน์ของอารมณ์เชิงลบที่ไม่รุนแรง  ซึ่งมักทำงานเป็นสัญญาณเตือนภัยโดยอัตโนมัติที่ส่งเสริมรูปแบบและรายละเอียดทางความคิดมากขึ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า อารมณ์เชิงลบช่วยให้เราใส่ใจและสนใจอยู่กับสถานการณ์ที่ยากลำบากมากขึ้น  ในทางตรงกันข้าม  อารมณ์เชิงบวก (เช่นความรู้สึกมีความสุข) มักจะทำหน้าที่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงสถานการณ์ที่คุ้นเคยและปลอดภัย ซึ่งมักจะทำให้เราเพิกเฉยต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเป็นอันตรายได้

ประโยชน์ทางจิตวิทยาของความเศร้า

  • หน่วยความจำที่ดี  ในการศึกษาหนึ่ง ๆ ให้ข้อมูลว่า อารมณ์ความรู้สึกแย่ (ที่เกิดจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย) ทำให้คนจดจำรายละเอียดของร้านที่เพิ่งออกมาได้ดียิ่งขึ้น กล่าวคือ ถ้าวันไหนคุณติดฝนทั้งที่รีบไปสัมภาษณ์งานอยู่ในร้านหนึ่ง เมื่อคุณออกมาได้แล้ว คุณจะจำได้ดีว่าร้านนี้เป็นที่หลบฝนจากเหตุการณ์แย่ ๆ ในวันนั้น ทั้งนี้อารมณ์ไม่ดียังช่วยปรับปรุงความทรงจำของผู้เห็นเหตุการณ์หรือพยานในที่เกิดเหตุได้ดีขึ้น โดยจะช่วยลดผลกระทบจากสิ่งรบกวนต่าง ๆ เช่น ข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง  ข้อมูลเท็จ หรือข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิด
  • การตัดสินที่ถูกต้อง  อารมณ์เชิงลบที่เกิดขึ้นเล็กน้อยจะช่วยลดความอคติบางประเภทและการบิดเบือนข้อมูลจากท่าทางแสดงออกของผู้คน  ตัวอย่างเช่น ผู้พิพากษาที่อยู่ในอารมณ์เศร้าเล็กน้อยจะสามารถตัดสินได้อย่างถูกต้องแม่นยำและเชื่อถือได้มากขึ้น และสามารถประมวลรายละเอียดต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องมาจากอารมณ์แย่ ๆ จะช่วยลดความใจกว้างและเพิ่มความขี้สงสัยเมื่อต้องประเมินเรื่องราวหลอกลวงหรือข่าวลือ หรือแม้แต่ความสามารถในการตรวจจับเรื่องโกหกก็จะดีมากยิ่งขึ้นด้วย คนที่อยู่ในอารมณ์กรุ่น ๆ เล็กน้อยมักจะไม่ประเมินสถานการณ์แย่ ๆ ในวิธีที่ง่ายเกินไป
  • แรงจูงใจ จากการทดลอง พบว่าเมื่อให้ผู้เข้าร่วมที่มีความสุขและเศร้าได้รับการขอให้ทำภารกิจที่ยากลำบากเหมือนกัน  ผู้ที่อยู่ในภาวะอารมณ์ที่แย่จะพยายามอย่างหนักและอดทนมากกว่า  พวกเขาจะใช้เวลาอย่างมากในภารกิจเพื่อพยายามสอบถามเพิ่มเติมและให้คำตอบที่ถูกต้องมากกว่า
  • การสื่อสารที่ดีขึ้น คนที่อารมณ์ไม่ดีจะมีรูปแบบการคิดที่ใส่ใจรายละเอียดมากขึ้น เนื่องจากพวกเขาสามารถหาเหตุผลมาโน้มน้าวจิตใจผู้อื่น ทั้งยังสามารถเข้าใจประโยคสนทนาที่คลุมเครือได้ดีกว่า จึงมีการสื่อสารที่ดีกว่า
  • ความยุติธรรมที่มากขึ้น จากการทดลองพบว่า อารมณ์เสียจะทำให้คนให้ความสำคัญกับบรรทัดฐานและความคาดหวังทางสังคมมากขึ้น ทำให้พวกเขาปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเห็นแก่ตัวลดลงและมีความเป็นธรรมมากขึ้น

แหล่งที่มา
Benefits of sadness. สืบค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2560. จาก www.sciencealert.com/why-bad-moods-are-good-for-you-the-surprising-benefits-of-sadness.

Positive effects of negative emotion. สืบค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2560. จาก http://elitedaily.com/life/negative-emotions-good-for-you/881761/.

Psychological benefits of sadness. สืบค้นวันที่ 12 มิถุนายน 2560. จาก https://theconversation.com/why-bad-moods-are-good-for-you-the-surprising-benefits-of-sadness-75402.

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
อารมณ์, ความเศร้า, เศร้า ,ความรู้สึก ,พฤติกรรม ,จิตวิทยา
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
อื่น ๆ
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7390 พลังของความเศร้า /other-article/item/7390-2017-07-20-07-33-07
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)