logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ทำไมกระดาษบาดจึงรู้สึกเจ็บมากกว่า?

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 21 สิงหาคม 2560
Hits
38949

          โบราณว่า ไม่ค่อยอ่านหนังสือจึงถูกกระดาษบาด แต่ปัจจุบันว่าเปิดหน้ากระดาษไม่ระวังมากกว่าจึงได้แผล  แม้จะเป็นแผลเล็กๆ ไม่ได้ลึกมาก แต่หลายคนคงมีประสบการณ์กับบาดแผลถูกกระดาษบาด  และยังคงสงสัยว่า ทำไมแผลจากการถูกกระดาษบาดนั้นถึงได้รู้สึกเจ็บแปลบได้มากขนาดนี้?

7386 01

ภาพที่ 1 : บาดแผลจากการถูกกระดาษบาด
ที่มา : http://www.cosmopolitan.com/

ทำความเข้าใจประสาทรับความรู้สึก

          Cortical  Homunculus เป็นแบบจำลองทางกายภาพของร่างกายมนุษย์ ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ของขนาดของสมองส่วน cortex กับเขตความรู้สึกต่าง ๆ บนร่างกายของมนุษย์   โดยสมองส่วนสำคัญเกี่ยวกับระบบรับความรู้สึกทางกายของมนุษย์ หรือคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) จะตั้งอยู่บริเวณรอยนูนหลังร่องกลาง (postcentral  gyrus) ของสมอง  ซึ่งเป็นเขตรับสัญญาณความรู้สึกหลักของระบบรับความรู้สึกทางกาย (somatosensory system) โดย "Cortical Homunculus” จะเป็นแผนผังที่ช่วยแสดงให้เห็นว่า คอร์เทกซ์ส่วนใดเป็นตัวแทนของเขตความรู้สึกส่วนใดในร่างกาย

 7386 02
ภาพที่ 2 :ภาพแสดง Cortical Homunculus แบบจำลองทางกายภาพของร่างกายมนุษย์
ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ของขนาดของสมองส่วน cortex กับเขตความรู้สึกต่าง ๆ บนร่างกายของมนุษย์
ที่มา : https://en.wikipedia.org

 

 7386 03

ภาพที่ 3 :ภาพแสดงตำแหน่ง primary motor  area และ primary somatosensory area ของ cerebral cortex
ที่มา : http://www.schoolbag.info

         จากภาพส่วนของ somatosensory area  จะเห็นว่าบริเวณของริมฝีปากและมือจะมีขนาดใหญ่  เนื่องจากเซลล์ประสาทที่ประมวลข้อมูลที่มาจากเขตบริเวณนั้นนั้นมีจำนวนมากกว่าเขตอื่น ๆ จึงทำให้ในอวัยวะดังกล่าวสามารถรับความรู้สึกที่ละเอียดได้มากกว่าอวัยวะส่วนอื่น ๆ 

         เนื่องจากระบบรับความรู้สึกทางกาย (somatosensory system) ประกอบด้วยตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) และศูนย์ประมวลผลต่าง ๆ มากมาย เพื่อสามารถรับตัวกระตุ้นได้หลายรูปแบบ รวมทั้งสัมผัส อุณหภูมิ และ Nociceptor  ซึ่งเป็นตัวรับที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่สร้างความเสียหายซึ่งเกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวด

7386 04
ภาพที่ 4 :  Nociceptor 
ที่มา : Wikipedia.com

ทำไมกระดาษบาดจึงรู้สึกเจ็บมากกว่า?

          จากการศึกษาของด๊อกเตอร์ Hayley Goldbach  แพทย์ผิวหนังจากมหาวิทยาลัย UCLA ประเทศสหรัฐอเมริกา อธิบายว่า บริเวณปลายนิ้วนอกจากจะเป็นบริเวณที่รับความรู้สึกละเอียดได้มากกว่าบริเวณอื่นแล้ว ยังเป็นอีกบริเวณหนึ่งที่มีตัวรับความรู้สึกต่อความเจ็บปวดหรือ nocicertor อยู่มาก ซึ่งนั่นเป็นกลไกหนึ่งในการป้องกันตัวเองของร่างกาย 

          ขอบกระดาษที่เรามองเห็นด้วยตาเปล่าว่ามีขอบที่เรียบเนียน เป็นเส้นตรงราวกลับใบมีด แท้จริงแล้วเมื่อขยายดูในบริเวณดังกล่าวแล้ว ขอบกระดาษเหล่านั้นกลับมีลักษณะคล้ายใบเลื่อยมากกว่าใบมีด ซึ่งเมื่อมันได้เปิดผิวหนังของคุณแล้ว จะทิ้งรอยหยักเหล่านั้นไว้ในบาดแผล และนั่นจะทำให้เรารู้สึกเจ็บมากกว่าแผลที่เป็นขอบเรียบจากใบมีดโกนหรือใบมีดเสียอีก

          แพทย์ผิวหนังท่านนี้ยังได้อธิบายต่ออีกว่า การที่บาดแผลจากการถูกกระดาษบาดรู้สึกเจ็บมากกว่าการถูกของมีคมอย่างอื่นบาดลึกกว่า นั่นเป็นเพราะเมื่อมีเลือดออกจากบาดแผลลึก ร่างกายมนุษย์จะมีกลไกในการห้ามเลือด จนแผลตกสะเก็ด และพัฒนาการรักษาตัวเองภายใต้ผิวหนังบริเวณนั้น  แต่แผลจากการถูกกระดาษบาดนั้นไม่ได้รับการรักษาแบบเดียวกันกับกลไกดังกล่าว เพราะบริเวณผิวหนังที่เปิดจากกระดาษเป็นแผลตื้นๆ  ที่ตัวรับความเจ็บปวดสามารถส่งสัญญาณไปยังสมองได้ และก็ยังคงสัมผัสกับสิ่งต่างๆ ที่คุณจับต้อง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ถ้าหากไม่อยากรู้สึกเจ็บแปลบๆ ที่มือตลอดทั้งวันก็ควรระมัดระวังกระดาษแผ่นบางๆ แต่ร้ายกาจนี้ไว้

 

แหล่งที่มา

Cortical homunculus. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2560. จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Cortical_homunculus.
Nociceptor. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2560. จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Nociceptor.
The science behind why paper cuts hurt so much. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2560. จาก www.sciencealert.com/here-s-the-science-of-why-paper-cuts-hurt-so-much.
Why paper cuts hurt so much. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2560. จาก www.bbc.com/future/story/20160902-why-paper-cuts-hurt-so-much.
The nervous system. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2560. จาก http://schoolbag.info/biology/humans/9.html.

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
กระดาษ, บาด, รู้สึก, บาดแผล ,ห้ามเลือด, ผิวหนัง
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
อื่น ๆ
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7386 ทำไมกระดาษบาดจึงรู้สึกเจ็บมากกว่า? /other-article/item/7386-2017-07-20-07-29-12
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)