logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ตรรกศาสตร์กับคอมพิวเตอร์

โดย :
วีระ ยุคุณธร
เมื่อ :
วันศุกร์, 21 กันยายน 2561
Hits
18183

        คอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวก และแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการสั่งงานในรูปของอัลกอริทึม ซึ่งมีการอธิบายการทำงานแตกต่างกันไปตามชนิดของเครื่องมือที่เลือกใช้อาทิ

  • ภาษาธรรมชาติ หรือภาษาที่ใช้ในชีวิตประจำวัน(ภาษาอังกฤษ) ทำให้เข้าถึงได้รวดเร็วไม่จำเป็นต้องศึกษาภาษาอื่นเพิ่มเติมแต่อาจมีอุปสรรคเพราะการสั่งงานด้วยภาษาธรรมชาติมักเกิดความคลุมเครือทำให้ไม่ได้ผลลัพธ์ในแบบที่ต้องการ ในขณะที่อัลกอริทึมนั้นไม่ต้องการให้มีความคลุมเครือในการทำงาน

  • ภาษาเครื่องจักร หรือ ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการทำงานแบบเป็นเหตุเป็นผลที่แน่นอน ปราศจากความสำนึกรู้ นั้นทำให้รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ต้องถูกตัดทิ้งไปในการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์

  • การเขียนแผนผังเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเข้าใครโครงสร้างของอัลกอริทึมได้ชัดเจน แต่ข้อเสียคือถ้าขั้นตอนการทำงานนั้นมีความซับซ้อนมีความเป็นอิสระในการควบคุม เงื่อนไขที่ซับซ้อน และวงวนเหล่านี้อาจทำให้การเขียนแผนผังเป็นไปได้ยาก และมีความซับซ้อนเกินกว่าจะเข้าใจได้ง่าย

  • ซูโดโคด (Pseudo code) เป็นโครงสร้างภาษาที่คล้ายกับภาษาคอมพิวเตอร์ และภาษาธรรมชาติทำให้ง่ายต่อการเปลี่ยนซูโดโคดไปเป็นภาษาธรรมชาติร่วมไปถึงการแปลงไปเป็นภาษาคอมพิวเตอร์อื่นอีกด้วย

        ดังที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าซูโดโคดนั้นใช้รูปแบบภาษาที่ผสมผสานระหว่างภาษาธรรมชาติและภาษาคอมพิวเตอร์ที่ยังคงรักษาความแจ่มชัดในการทำงานทำให้สอดคล้องการภาษาทางตรรกศาสตร์ที่มีความรัดกุมแจ่มชัดทำให้การสั่งงานคอมพิวเตอร์อยู่ในรูปของประโยคแบบมีเงื่อนไง (If-Then)

8789 1

ภาพที่ 1 ปกบทเรียนเรื่องตรรกศาสตร์กับคอมพิวเตอร์

ที่มา วีระ ยุคุณธร ดัดแปลงจาก https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/3a/Russell1907-2.jpg,https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/82/CharlesBabbage.jpg,https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a1/Alan_Turing_Aged_16.jpg

ประโยคแบบมีเงื่อนไข

          ในทางตรรกศาสตร์ข้อความ”ถ้า-แล้ว” เป็นข้อความที่ใช้แสดงความเป็นเหตุเป็นผลเช่นข้อความ ถ้า P แล้ว Q เราจะเรียก P ว่าสมมติฐานและเรียก Q ว่าข้อสรุปหลักการนี้จึงถูกนำมาใช้ในการสั่งงานคอมพิวเตอร์โดยที่ P คือเงื่อนไข และ Q คือคำสั่งเปรียบเทียบภาษาทั้ง 4 แบบจะได้ว่า

          ภาษาธรรมชาติ ถ้าเงื่อนไข P เป็นจริงให้ทำตามคำสั่ง Q

          ภาษาโปรแกรม excel  =If(P,Q)

          แผนผัง

8789 2

ภาพที่ 2 แผนผังอัลกอริทึม If-then
ที่มา วีระ ยุคุณธร ดัดแปลงจาก Skvarcius R. and Robinson W.B., หน้า 12

Psudocode If P then Q

แต่ในทางคอมพิวเตอร์นั้นถ้าจากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขเราสามารถสั่งคำสั่งทางเลือกได้โดยใช้รูปแบบคำสั่ง If-then-else

ภาษาธรรมชาติ ถ้าเงื่อนไข P เป็นจริงให้ทำตามคำสั่ง Q1 แต่ถ้าเงื่อนไข P เป็นเท็จให้ทำตามคำสั่ง Q2

ภาษาโปรแกรม excel  =If (P,Q1,Q2)

8789 3

ภาพที่ 3 แผนผังอัลกอริทึม If-then-else
ที่มา วีระ ยุคุณธร ดัดแปลงจาก Skvarcius R. and Robinson W.B., หน้า 12

Psudocode If P then Q1 else Q2

ตัวอย่างที่ 1 การหาค่าสัมบูรณ์ของจำนวนเต็ม

ภาษาธรรมชาติ จากนิยามค่าสัมบูรณ์ | x | จะพบว่าถ้า x เป็นจำนวนจริงที่ไม่เป็นลบแล้ว | x | =  x แต่ถ้า x เป็นจำนวนจริงที่เป็นลบ | x | =  -x

ภาษาโปรแกรม excel  =If ( x<0 , |x| = -x , |x| = x)

8789 4

ภาพที่ 4 ผลการทำงานตามอัลกอริทึมหาค่าสัมบูรณ์ด้วยโปรแกรม excel
ที่มา วีระ ยุคุณธร

แผนผัง

8789 5

ภาพที่ 5 แผนผังอัลกอริทึมการหาค่าสัมบูรณ์
ที่มา วีระ ยุคุณธร

Psudocode If x<0 then |x|=-x else |x|=x

ตัวอย่างที่ 2 การวิเคราะห์ชนิดของค่ารากสมการกำลังสองด้วย discriminant

พิจารณาสมการกำลังสองในรูปของ ax2 + bx + c = 0

                                             ax2 + bx + c = a [ x2 + (b/a)x + (c/a) ]

                                                                =a[ {x – (b/2a) }2 – (b/2a)2+(c/a) ]

                                                                =a[ {x – (b/2a) }2 – (b/2a)2+(c/a) ]

                                                                =a[ {x – (b/2a) }2 – { (b2-4ac) / (2a) } ]

       แยกพิจารณาค่า b2-4ac เรียกว่า discriminant ได้ดังนี้

ภาษาธรรมชาติ

       กรณีที่ 1 ถ้า b2-4ac < 0 จะได้สมการไม่มีรากเป็นจำนวนจริง

       กรณีที่ 2 ถ้า b2-4ac = 0 จะได้สมการมีรากซ้ำ

       กรณีที่ 3 ถ้า b2-4ac > 0 จะได้ว่าสมการมีรากเป็นจำนวนจริงที่แตกต่างกัน

ภาษาโปรแกรม

        excel  ==IF(F3^2-4*E3*G3<0,"สมการไม่มีรากเป็นจำนวนจริง",IF(F3^2-4*E3*G3=0,"สมการมีรากซ้ำ","สมการมีรากเป็นจำนวนจริงที่แตกต่างกัน"))

8789 6

ภาพที่ 6 ผลการทำงานตามอัลกอริทึมวิเคราะห์ค่ารากสมการกำลังสองด้วยโปรแกรม excel

ที่มา วีระ ยุคุณธร

แผนผัง

8789 7 edit

ภาพที่ 7 แผนผังอัลกอริทึมการวิเคราะห์ค่ารากสมการกำลังสอง

ที่มา วีระ ยุคุณธร

Psudocode If b2-4ac < 0 then แสดงข้อความ”สมการไม่มีรากเป็นจำนวนจริง”

else, If b2-4ac = 0 then แสดงข้อความ”สมการมีรากซ้ำ”

else แสดงข้อความ”สมการมีรากเป็นจำนวนจริงที่แตกต่างกัน”

แหล่งที่มา

Skvarcius R., Robinson W.B. (1986). Discrete mathematics with computer science applications. The Benjamin/Cummings Publishing Company.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ตรรกศาสตร์, อัลกอริทึม ,แผนผัง, flow chart, psudocode
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 20 สิงหาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วีระ ยุคุณธร
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.4
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8789 ตรรกศาสตร์กับคอมพิวเตอร์ /lesson-mathematics/item/8789-2018-09-21-01-56-47
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)