logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ความหลากหลายของสัตว์

โดย :
พจนา เพชรคอน
เมื่อ :
วันอังคาร, 02 มิถุนายน 2563
Hits
62785

          ประเทศไทยเรา เป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางสภาพที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยในการขยายพันธ์ของสิ่งมีชีวิตต่างๆ การที่มีสภาพที่อยู่อาศัยอย่างหลากหลาย เช่น ลักษณะป่าแต่ละพื้นที่ ลักษณะระบบนิเวศที่หลากหลาย จึงก่อให้เกิดความหลากหลายของสัตว์เช่นกัน

9434 edit1

ภาพเต่า สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง
ที่มา https://pixabay.com , Capri23auto

         ความหลากหลาย หมายถึง ลักษณะที่แตกต่างกันของสิ่งมีชีวิต ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน โดยเกิดจากผลของการแสดงออกทางพันธุกรรมหรือยีนและกลุ่มสิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์กัน  การแบ่งประเภทของสัตว์นั้นมี

         หลักเกณฑ์ในการจัดหมวดหมู่สัตว์ ตามโครงสร้างของร่างกายของสัตว์สามารถบ่งบอกถึงวิวัฒนาการและต้นกำเนิดของ สัตว์แต่ละชนิดได้ สัตว์ที่มีโครงสร้างที่คล้ายคลึง กันหรือโครงสร้างที่มีต้นกำเนิดมาด้วยกันจะมีความสัมพันธ์กันในเชิงวิวัฒนาการ การจัดหมวดหมู่ของสัตว์จะอาศัยลักษณะของโครงสร้างของร่างกายเป็นหลัก โดยเปรียบเทียบความเหมือนหรือแตกต่าง รวมทั้งเปรียบเทียบการจัดเรียงตัว และการพัฒนาการต่างๆ

         หลักการแบ่งสามารถแบ่งได้หลายประเภท สัตว์ต่างชนิดกันย่อมมีรูปแบบการดำรงชีวิตที่แตกต่างกัน สัตว์บางชนิดมีขนาดใหญ่ เช่น ช้าง ม้า สิงโต ปลาฉลาม เป็นต้น  ในพื้นที่เดียวกันก็อาจมีสัตว์ที่ขนาดเล็กมาก เช่น มด ยุง เห็บ ไร และยังมีรูปร่างที่ต่างกัน ทั้งจำนวนขา บางชนิดก็ไม่มีขา  การเจริญเติบโตก็เป็นสิ่งที่บ่งบอกความหลากหลายของสัตว์ได้ ดังนี้ สัตว์บางชนิด มีการเจริญเติบโตโดยการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง มีขนาดโตขึ้นเท่านั้น เช่น สุนัข แมว วัว แต่สัตว์บางชนิดมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างขณะเจริญเติบโตด้วย เช่น กบ ยุง ผีเสื้อ เป็นต้น นี้คือสิ่งที่บ่งบอกความหากหลายของสัตว์เพียงเบื้องต้นเท่านั้น

         นักวิทยาศาสตร์ ได้มีการจำแนกสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันไว้เป็นกลุ่มเดียวกัน โดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระดูกสันหลัก การสืบพันธ์ อุณหภูมิร่างกาย การหายใจ เป็นต้น

         โดยการแบ่งประเภทสัตว์ที่เน้นให้ศึกษาได้ง่ายมักใช้เกณฑ์ของกระดูกสันหลังของสัตว์ในการแบ่ง สามารถแบ่งออก ได้ 2 ประเภทดังนี้  สัตว์มีกระดูกสันหลัง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์ในกลุ่มมีกระดูกสันหลังมีลักษณะกระดูกที่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ ส่วนสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือ สัตว์ที่ไม่มีกระดูกแข็งเป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์

สัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่มีเนื้อเยื่อของร่างกายเจริญเป็นอวัยวะที่มีการทำงานซับซ้อน ส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่อาศัยอยู่ทั้งในน้ำและบนบก จัดว่าเป็นสัตว์ชั้นสูง แบ่งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลัง ได้ดังนี้ 

  • สัตว์พวกปลา เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือก มีแผ่นปิดเหงือก มีครีบ บางชนิดมีเกล็ด บาง ชนิดไม่มีเกล็ด เช่น ปลาตะเพียน ปลากระเบน ฉลาม ม้าน้ำ ฯลฯ

  • สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก เป็นสัตว์เลือดเย็น ผิวหนังเปียกชื้น ไม่มีเกล็ด ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ หายใจ ด้วยเหงือก เมื่อโตขึ้นหายใจด้วยปอดและผิวหนัง อาศัยอยู่บนบก มี 4 ขา เช่น กบ อึ่งอ่าง คางคก จิ้งจกน้ำฯลฯ

  • สัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์เลือดเย็น ผิวหนังแห้ง ลำตัวมีเกล็ดปกคลุม หายใจด้วยปอด วางไข่บน บก ไข่มีเปลือกแข็งหุ้ม เช่น เต่า จระเข้ กิ้งก่า จิ้งจก ฯลฯ

  • สัตว์จำพวกนก เป็นสัตว์เลือดอุ่น หายใจด้วยปอด ขาคู่หน้าพัฒนาไปเป็นปีก มีขนเป็นแผง มี เกล็ดที่ขาและนิ้วเท้า ไข่มีเปลือกแข็งหุ้ม มีจะงอยปากแข็ง เซลล์เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียสตลอด ชีวิต เช่น นกพิราบ นกนางนวล นกยูง นกกระจอกเทศ ฯลฯ

  • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม สัตว์เลือดอุ่น ผิวหนังเรียบ มีต่อมน้ำนมหรับสร้างน้ำนมให้ตัวอ่อน หายใจด้วยปอด มีขนแบบ เส้นผม ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่ จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น โลมา วาฬ พะยูน ฯลฯ สัตว์ปีกมีชนิดเดียวคือ ค้างคาว สัตว์เลี้ยง ลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็นไข่ สัตว์ประเภทนี้ มีทั้งสัตว์ชนิดที่กินพืชและกินสัตว์เป็นอาหาร

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือ เป็นสัตว์ที่ไม่มี สัตว์ที่ไม่มีกระดูกแข็งเป็นแกนกลางภายในร่างกาย มักจะมีขนาดเล็ก ถ้ามีขาจะมีจำนวนขามาก และมีการเคลื่อนที่แตกต่างกัน แบ่งตามประเภทของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังได้ดังนี้

  • พวกฟองน้ำ ลักษณะลำตัวมีโพรง มีรูพรุน สืบพันธุ์ได้ทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ส่วนใหญ่อยู่ในน้ำเค็ม เช่น ฟองน้ำ ฟองน้ำแก้ว ฯลฯ

  • พวกลำตัวกลวงหรือมีโพรง ลักษณะลำตัวคล้ายทรงกระบอกกลวง มีช่องเปิดออกจากลำตัวเพียงช่อง เดียว กลางลำตัวเป็นโพรง เป็นทางให้อาหารเข้าและกักอาหารออกจากลำตัว มีเข็มพิษไว้ ป้องกันตัวและจับเหยื่อ สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศบางชนิดอาศัยในน้ำจืด เช่น ไฮดรา และบางชนิดอาศัยในน้ำเค็ม เช่น แมงกะพรุน ปะการัง ดอกไม้ทะเล ฯลฯ

  • พวกหนอนตัวแบน ลักษณะลำตัวแบนยาว มีปากแต่ไม่มีทวาร สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและ ไม่อาศัยเพศ อาศัยอยู่ในน้ำเค็มและน้ำจืด เช่น พยาธิใบไม้ พยาธิตัวตืด ฯลฯ

  • พวกหนอนตัวกลม ลักษณะลำตัวยาว ผิวเรียบ ไม่เป็นปล้อง เพศผู้เพศเมียแยกคนละตัว สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ ดำรงชีวิตแบบปรสิต เช่น พยาธิตัวจี๊ด พยาธิปากขอ ฯลฯ

  • พวกหอยทะเลและหมึกทะเล ลักษณะลำตัวนิ่มมีหัวใจสูบฉีดเลือด เคลื่อนที่โดยใช้กล้ามเนื้อ หายใจด้วยปอด สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ออกลูกเป็นไข่ เช่น หอยขี้กา หอยทาก หมึกทะเล ฯลฯ

  • พวกสัตว์ทะเล ผิวขรุขระ ลักษณะตามผิวลำตัวหยาบ ขรุขระ มีสารพวกหินปูนเป็น องค์ประกอบ ร่างกายแยกเป็นแฉก สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ออกลูกเป็นไข่ เช่น ดาวทะเล ปลิงทะเล เม่นทะเล ฯลฯ

  • พวกที่มีขาเป็นข้อ ลักษณะขาต่อกันเป็นข้อๆ มีระบบหมุนเวียนเลือด ระบบทางเดินอาหารที่ สมบูรณ์ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เช่น กุ้ง ปู กิ้งกือ แมลงปอ แมงมุม ฯลฯ

  • พวกที่มีล้ำตัวเป็นปล้อง ลักษณะล้ำตัวกลมยาวคลำยวงแหวน ต่อกันเป็นปล้อง ผิวหนังเปียก ชื้น มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ เช่น ไส้เดือน ปลิง ฯลฯ

แหล่งที่มา

กลิ่นสุคนธ์  จอมไพรศรี. (2552).  ความหลากหลายทางชีวภาพ. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561, จาก

http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/science03/19/biodiversity/web/topic6.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ความหลากหลายของสัตว์, การแบ่งประเภทสัตว์
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 13 ตุลาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวพจนา เพชรคอน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ป.4
ป.5
ป.6
ช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9434 ความหลากหลายของสัตว์ /lesson-biology/item/9434-2018-11-14-08-52-40
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)