logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

โดย :
พจนา เพชรคอน
เมื่อ :
วันอังคาร, 26 พฤษภาคม 2563
Hits
290161

          สิ่งมีชีวิตบนโลกนี้มีจำนวนมากมาย หลากหลายสายพันธุ์ทั้งสิ่งมีชีวิตจำพวกพืช สัตว์และอื่น ๆ มีทั้งขนาดเล็กมาก จนไม่สามาถมองเห็นด้วยตาเปล่าต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ช่วยในการศึกษาลักษณะต่างๆ ในบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นประกอบด้วยหน่วยต้นเกิดสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า เซลล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต เซลล์ของสิ่งมีชีวิตอาจมีรูปร่างและส่วนประกอบที่แตกต่างกันเพื่อความเหมาะสมกับหน้าที่การงาน สิ่งมีชีวิตมีทั้งที่กำเนิดมาจากเซลล์เพียงเซลล์เดียวจนกระทั่งจำนวนล้านเซลล์ ถ้านำสิ่งมีชีวิตทั้งหมดมาจัดเป็นกลุ่มโดยใช้เกณฑ์ต่างๆ ในการจำแนก สามารถจำแนกได้หลายรูปแบบ แต่ถ้าใช้จำนวนเซลล์เป็นเกณฑ์ในการจำแนก จะจำแนกได้เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ โดยในบทเรียนนี้จะเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวดังนี้

  1. ลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

          สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว (Unicellular organism) มีลักษณะที่สำคัญ คือ ทั้งร่างกายจะประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว เป็นเซลล์เดี่ยวที่มีนิวเคลียส โดยสารในนิวเคลียสจะกระจายอยู่ทั่วเซลล์ โครงสร้างภายในเป็นแบบง่ายๆ พบได้ทั้งในน้ำและบนบก ดำรงชีวิตอย่างอิสระ กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต เช่น การกินอาหาร การย่อยอาหาร การขับถ่าย การสืบพันธุ์ และกิจกรรมอื่น ๆ จะเกิดขึ้นภายในเซลล์เพียงเซลล์เดียว ส่วนมากนิวเคลียสมีเยื่อหุ้ม สามารถดำรงชีวิตตอยู่เป็นอิสระได้ ตัวอย่างเช่น สาหร่ายเซลล์เดียว อะมีบา พารามีเซียม ยูกลีนา ยีสต์ ไดอะตอม เป็นต้น บางชนิดนิวเคลียสไม่มีเยื่อหุ้ม เช่น แบคทีเรีย ดังนั้น DNA (Deoxyibonucleic acid) จะกระจายอยู่ในไซโทพลาซึม ทำให้ไม่มีนิวเคลียสเป็นก้อนเหมือนสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ

  1. การเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

           2.1 การเคลื่อนไหวโดยอาศัยการไหลของไซโทพลาซึม ซึ่งไซโทพลาซึม (Cytoplasm) หมายถึง ส่วนของโพรโทพลาซึมภายในเซลล์ทั้งหมด การเคลื่อนไหวโดยใช้ไซโทพลาซึมนี้ จะเคลื่อนไหวโดยการยืดส่วนของ ไซโทพลาซึมออกจากเซลล์ เช่น การเคลื่อนไหวของราเมือก อะมีบา เป็นต้น 

           2.2 การเคลื่อนไหวโดยอาศัยเฟลกเจลลัมหรือซีเลีย เฟลกเจลลัมหรือซีเลียเป็นโครงสร้างเล็กๆที่ยื่นออกมาจากเซลล์สามารถโบกพัดไปมาได้ ทำให้สิ่งมีชีวิตเคลื่อนที่ได้  โดยเฟลกเจลลัมมีลักษณะเป็นเส้นยาวๆ คล้ายหนวดยาวกว่าซีเลีย

  1. สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่นักเรียนควรรู้จัก

        อะมีบา (Amoeba) มีรูปร่างไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อะมีบาเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวประเภทโปรโตซัว มีลักษณะเฉพาะคือการ ใช้ส่วนของไซโทพลาซึม (cytoplasm) เป็นอวัยวะที่ช่วยในการเคลื่อนไหว หรือที่เรียกว่า ขาเทียม (pseudopodia) อะมีบาสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแบ่งตัวจากหนึ่งเป็นสอง อะมีบาบางชนิดก่อให้เกิดโรคในคนได้ อะมีบาอาศัยอยู่อย่างอิสระในธรรมชาติตามแหล่ง น้ำ ดิน โคลน เลน เป็นต้น

       พารามีเซียม (Paramecium) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กประเภทโปรโตซัว สามารถพบได้ตามแหล่งน้ำจืดในธรรมชาติ ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีลักษณะรูปร่างคล้าย รองเท้าแตะ ทุกระบบการทำงานของพารามีเซียมจะเกิดขึ้นได้ในเซลล์เดียว มีขนสั้นๆ รอบตัวที่เรียกว่า ซีเลีย ที่ใช้สำหรับการเคลื่อนที่ และช่วยในการกินอาหาร อาหารของพารามีเซียม คือ แบคทีเรียและเศษเนื้อเยื่อต่างๆ ของสัตว์ และประโยชน์อีกด้านของพารามีเซียมที่สำคัญต่อระบบนิเวศ คือ ช่วยควบคุมจำนวนแบคทีเรียให้สมดุลในธรรมชาติอีกด้วย

9433edit
ภาพพารามีเซียม (Paramecium) สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กประเภทโปรโตซัว
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/File:Paramecium.jpg , Barfooz

       ยูกลีนา (Euglena) เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขยายพันธุ์โดยการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ ใช้วิธีแบ่งเซลล์ มีลักษณะเป็นรูปกระสวย หน้าป้าน ท้ายเรียว ตัวของยูกลีนาเป็นสีเขียว เนื่องจากมีคลอโรพลาสต์กระจาย อยู่ในไซโทพลาซึม ยูกลีนาจะสร้างคลอโรฟิลล์ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ เนื่องจากเกิดการกลายพันธุ์ การเคลื่อนที่ของยูกลีนาจะใช้แฟลกเจลลัม เส้นยาวพัดโบกไปมาเหมือนการว่ายน้ำ ถ้าในสภาพไม่มีน้ำจะยืดหดตัวให้เกิดคลื่นในลำไส้ทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้

       ยีสต์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากมีเยื่อหุ้มนิวเคลียส จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกเห็ด รา (Fungi) แต่มีการดำรงชีวิตในสภาพเซลล์เดียวแทนการเจริญแบบเส้นใยเหมือนเชื้อราทั่วไป  ปกติยีสต์เพิ่มจำนวนและแบ่งเซลล์โดยการแตกหน่อเซลล์ของยีสต์จะมีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรีย มีนิวเคลียสที่เห็นได้ชัดเจนเมื่อย้อมสี  ภายในเซลล์มักจะเห็นแวคิวโอล (vacuole) ขนาดใหญ่ ยีสต์ไม่มีรงควัตถุ และไม่เคลื่อนที่  แต่มีการเคลื่อนไหวแบบบราวเนียน ยีสต์ มีทั้งที่เป็นประโยชน์และโทษต่ออาหาร 

       ไดอะตอม เป็นสาหร่ายเซลล์เดียว ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตโดยลอยอยู่เป็นอิสระตามผิวน้ำ สามารถพบได้ในแหล่งน้ำทั่วไป ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ลักษณะทั่วไปของไดอะตอมคือ เป็นเซลล์เดียวที่ประกอบด้วยฝา 2 ฝาครอบกันสนิทและมีรูปร่างหลายแบบ โครงสร้างของไดอะตอมประกอบด้วย ซิลิกา ห่อหุ้มไซโทพลาซึม ซึ่งเป็นที่เก็บออร์แกเนลล์ทั้งหมด ไดอะตอมมีประมาณ 10,000 ชนิด แต่ละชนิดก็จะมีรูปร่างที่แตกต่างกัน มีการขยายพันธุ์โดยการแบ่งเซลล์ ในสภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่เหมาะสม ประโยชน์ของไดอะตอมในแหล่งน้ำตามธรรมชาติสามารถเป็นอาหารของปลา หอย สัตว์น้ำต่างๆได้ ไดอะตอมมีหลายประการต่อสิ่งแวดล้อม เช่น มนุษย์นำไดอะตอมมาใช้ขัดโลหะ ใช้เป็นฉนวนของเตาไฟ เครื่องทำความเย็น และอุตสาหกรรมต่างๆ

แหล่งที่มา

โรจน์รวี   ชัยรัตน์. (2550 , มิถุนายน).  การจำแนกสิ่งมีชีวิต.  สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2561, จาก

http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/BP1/Program/chapter7/p6.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว , การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว ,การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 13 ตุลาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นางสาวพจนา เพชรคอน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ป.4
ป.5
ป.6
ช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
  • 9433 สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว /lesson-biology/item/9433-2018-11-14-08-51-53
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)