จากปัญหาการมีบุตรยาก สร้างความทุกข์ใจให้แก่คู่รักคู่สมรสหลายคู่ที่ต้องการมีทายาทอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ด้วยวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์และการทำเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ก็สามารถช่วยเหลือให้ปัญหานี้ให้คู่สมรสมีโอกาสหรือมีช่องทางช่วยเหลือให้สามารถมีบุตรได้
ภาพ การปฏิสนธิภายนอกร่างกาย (IVF)
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/การปฏิสนธินอกร่างกาย
แนวทางการแก้ปัญหานี้สามารถใช้วิทยายาศาสตร์ทางการแพทย์ที่เรามักได้ยินคุ้นหูว่า การปฏิสนธินอกร่างกาย หรือ เด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilisation/Fertilization - IVF) ซึ่งเป็นเทคนิคของการปฏิสนธิสังเคราะห์ โดยมีขั้นตอนการเก็บไข่ออกมานอกร่างกายของฝ่ายหญิง ทำการคัดเลือกไข่ที่ดีและอสุจิที่แข็งแรงของฝ่ายชาย และปล่อยให้สเปิร์มนั้นทำปฏิสนธิกับไข่ ซึ่งเปรียบเสมือนการสังเคราะห์ภายนอกนั่นเอง และนำมาเพาะเลี้ยงนอกร่างกายภายในภาชนะบรรจุของเหลวจนเจริญเติบโตจำนวนในระดับ 4-8 เซลล์ จากนั้นจึงฉีดไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว หรือเอ็มบริโอกลับเข้าไปในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อให้ฝังตัวและเจริญต่อไปเป็นทารกในครรภ์หรือทำให้การตั้งครรภ์นั้นสมบูรณ์ในที่สุดนั่นเอง
ที่มาของคำว่าหลอดแก้ว มาจากคำว่า "In Vitro" เป็นภาษาละตินแปลว่า "ภายนอกสิ่งมีชีวิต" ซึ่งก็สามารถให้ความหมายในทางวิทยาศาสตร์ได้ว่า อยู่ภายในแก้ว หรือภายในหลอดทดลองนั่นเอง แต่ในความเป็นจริงแล้วทั้งแก้วและหลอดทดลองต่างไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับการทำเด็กหลอดแก้ว
เด็กหลอดแก้วคนแรกของโลก
วันที่ 25 กรกฎาคม 2521 นับเป็นวันถือกำเนิดของเด็กหลอดแก้วคนแรกของโลก โรงพยาบาล Royal Oldham Hospital เมืองโอลด์แฮม ประเทศอังกฤษ เป็นทารกเพศหญิง ชื่อ “หลุยส์ บราวน์” (Louise Joy Brown) ผู้ซึ่งเป็นบุตรของ นางเลสลีย์ บราวน์ (Lesley Brown) แม่ผู้ให้กำเนิด และนั่นเป็นประวัติศาสต์สำคัญที่ทำให้ศาสตราจารย์ เซอร์ โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด (Prof Sir Robert Edwards) ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาผู้ให้กำเนิดเด็กหลอดแก้ว ศาสตราจารย์ เซอร์ โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด ทำการทดลองวิจัยนี้จนสำเร็จโดยมีทีมงานร่วมคนสำคัญคือ ดร.แพทริค สเต็ปโต (Dr. Patrick Steptoe) ณ คลินิกบอร์นฮอล์ (bourn hall) มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
การทำงานของศาสตราจารย์โรเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด เป็นที่ยกย่องจนได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ และถือเป็นผู้วางรากฐานสำคัญด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ แต่ในขณะเดียวกันก็มีกลุ่มต่อต้ายซึ่งรวมกลุ่มและก่อตั้งกันในนาม “สมาคมการเจริญพันธุ์ของมนุษย์และคัพภวิทยาแห่งยุโรป” (European Society for Human Reproduction and Embryology)
หลายคนเข้าใจผิดว่าเด็กหลอดแก้วก็คือการผสมเทียม ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่ เด็กหลอดแก้วแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงกับการผสมเทียม เพราะการผสมเทียม (Articial Insemination) หมายถึง การฉีด "เชื้ออสุจิ" เข้าไปในช่องคลอดหรือมดลูก โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ช่วยเหลือ จะมีการปฏิสนธิหรือไม่ ยังไม่ทราบ และหากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ก็เป็นการปฏิสนธิภายในร่างกาย ในขณะที่การทำเด็กหลอดก้วทำขึ้นเพื่อให้การปฏิสนธิภายนอกโดยการนำเอา "ไข่" ของสตรีออกมาภายนอกร่างกายแล้วมาผสมกับ "เชื้ออสุจิ" ในหลอดแก้วทดลอง เพื่อให้มี บรรยากาศภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเกิดขึ้นและดำรงชีวิตของ "ตัวอ่อน" ได้
ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้วมีขั้นตอนสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 "การกระตุ้นไข่" จากการใช้ยาหรือฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้ากระตุ้น เพื่อให้ได้ไข่จำนวนมาก ๆ
ขั้นตอนที่ 2 "การเก็บไข่" โดยส่วนใหญ่เจาะเก็บไข่ผ่านทางช่องคลอดเก็บไข่ของสตรี โดยใช้เข็มยาวที่สร้างขึ้นมาโดยเฉพาะ
ขั้นตอนที่ 3 การเตรียม "เชื้ออสุจิ" ซึ่งต้องเป็นการ "คัดเชื้อ" เพื่อให้ได้ตัว "เชื้ออสุจิ" ที่มีคุณสมบัติดี แข็งแรง ขนาดความเข้มข้นประมาณ 100,000 ตัวต่อไข่ 1 ใบ โดยวิธีการเก็บเชื้ออสุจิที่ดีที่สุดคือการให้ฝ่ายชาดหลังสารคัดหลังหรืออสุจิด้วยวิธี ช่วยตัวเอง (masturbation) จะได้ผลดีที่สุด
ขั้นตอนที่ 4 การเลี้ยง "ตัวอ่อน" ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ไข่ที่เก็บมาแล้วต้องอยู่ในอุณหภูมิที่เหมาสมคือ 37 องศาเซลเซียส โดยเลี้ยงในหลอดแก้วประมาณ 3-6 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงทำการใส่ "เชื้ออสุจิ" เพื่อรอการปฏิสนธิ ในช่วงเวลาประมาณ 18 ชั่วโมง ซึ่งอาจจะสำเร็วในครั้งแรก หรืออาจต้องใส่เชื้ออสุจิอีกเป็นครั้งที่สอง ถ้าไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น อาจเกิดจากมีตัวอ่อนที่ผิดปกติ ก็ตัดคัดตัวอ่อนที่ผิดปกติออกไป เหลือไว้ แต่ "ตัวอ่อน" ที่ปกติเท่านั้น ในช่วงสองวันหากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น "ตัวอ่อน" แต่ละตัวอยู่ระหว่าง 2-8 เซลล์ "ตัวอ่อน" แต่ละตัวจะมีความสมบูรณ์ไม่เท่ากัน เราจัดลำดับความสมบูรณ์ของตัวอ่อน ออกเป็นเกรดต่าง ๆ ซึ่งเราต้องคัดเลือกตัวอ่อนเกรดดีที่สุดไว้ และเกรดรองสำรองเอาไว้
ขั้นตอนที่ 5 การนำ "ตัวอ่อน" กลับเข้าสู่ร่างกาย เราสามารถนำ "ตัวอ่อน" กลับเข้าสู่ร่างกายได้ 2 ทาง คือ ทางปากมดลูก หรือทางปีกมดลูก
ขั้นตอนที่ 6 การแช่แข็ง "ตัวอ่อน" ตัวอ่อนของมนุษย์ที่เหลือจากการใส่กลับเข้าสู่ร่างกายเรา จะนำมา แช่แข็งที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส "ตัวอ่อน" จะหยุดการเจริญเติบโต แต่ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้นานเป็นปีทีเดียว เมื่อไรจำเป็นต้อง ใช้ก็เพียงแต่ละลายกลับมาสู่อุณหภูมิปกติอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ยังมีความเข้าใจผิดว่า การทำ "เด็กหลอดแก้ว" กับการทำ "กิ๊ฟ" เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่เหมือนกัน เพราะการทำ "เด็กหลอดแก้ว" เป็นกระบวนการที่ก่อให้เกิดการปฏิสนธิภายนอกร่างกายในหลอดแก้วทดลอง จากนั้นจึง นำกลับเข้าสู่ร่างกายแต่การทำ "กิ๊ฟ" เป็นกระบวนการนำเอา "เชื้ออสุจิ" และ "ไข่" เข้าไปใส่ไว้ในปีกมดลูก เพื่อให้มีการปฏิสนธิภายในร่างกาย
ความสำเร็จในช่วยให้สามีภรรยาหลายคู่ได้พบกับความสำเร็จในการที่จะมีบุตร ซึ่งอาจต้องใช้เวลา ใช้ความอดทน และค่าใช้ใช้ที่มีราค่าสูง ซึ่งในในปัจจุบันก็มีสถานบริการที่ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินงานด้านเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ในสถานพยาบาลทั่วไปอยู่มากมายหลายที่ด้วยกัน
แหล่งที่มา
15 คำถาม ? น่ารู้ เด็กหลอดแก้ว. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2561.จาก https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/may11/child.htm
การปฏิสนธินอกร่างกาย. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2561.จาก https://th.wikipedia.org/wiki/การปฏิสนธินอกร่างกาย
เด็กหลอดแก้วคนแรกของโลกและไทย. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2561.จาก https://www.hfocus.org/content/2014/09/8230
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)