ทำไมเเมลงจึงประสบความสำเร็จในการดำรงอยู่บนโลกใบนี้
1. การมีโครงร่างเล็ก ทำให้สามารถหลบซ่อนตัวจากภัยธรรมชาติได้ง่าย รวมทั้งมีความต้องการพื้นที่และอาหารน้อยลงเพื่อการดำรงชีพ
2. การมีปีกซึ่งทำให้แมลงสามารถเคลื่อนที่ได้ในระยะทางที่ไกลๆ เพื่อการหาอาหาร การสืบพันธ์ และทำให้แมลงสามารถบินหลบหนีศัตรูได้ด้วย
3. การมีโครงร่างแข็งภายนอก(exoskeleton) เปรียบเสมือนเป็นเกราะป้องกันแมลงจากศัตรูธรรมชาติ จากการกระแทก รวมทั้งการเปลี่ยนแปลของสิ่งแวดล้อม
4. การมี 6 ขา ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อการจับเหยื่อ หรือหลบหนีศัตรูได้อย่างรวดเร็ว
5. การมีปากหลายรูปแบบ ทำให้แมลงสามารถกินอาหารได้หลายรูปแบบ
6. การมี metamorphosis ซึ่งแต่ละระยะของการเจริญเติบโต มีการใช้ทรัพยากรที่แตกต่างกัน ทำให้ลดการแก่งแย่งการใช้ทรัพยากร
7. แมลงมีความหลากหลายของรูปแบบการสืบพันธ์ คือมี sexual reproductive system ซี่งทำให้แมลงสามารถสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมที่เกิดจากขบวนการสร้าง cell สืบพันธ์ และการคัดเลือกโดยธรรมชาติ เพื่อค้นหาและเลือกคู่ผสมพันธ์และ ขณะเดียวกัน แมลงซึ่งดำรงชีพอยู่ในสภาพที่ขาดแคลนหรือยากลำบากต่อการหาคู่ผสมพันธ์ ก็จะมีการสืบพันธ์แบบไม่อาศัยเพศ แบบ parthenogenesis
8. แมลงมีอายุสั้นประกอบกับมีความสามารถผลิตลูกหลานในแต่ละรุ่นได้คราวละมากๆ ทำให้แมลงสามารถสร้างความหลากหลายทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นได้สูงมากและเปิดโอกาสให้แมลงสามารถรอดจากขบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาติได้โดยง่าย
9. แมลงมีความสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำในร่างกายได้ดีเยี่ยม โดยเฉพาะแมลงบางชนิดที่ดำรงชีพบนอาหารที่แห้งมากๆ เช่น เมล็ดพันธ์พืชและแป้งเป็นต้น โดยแมลงเหล่านี้สามารถสกัดน้ำได้จากอากาศ หรือสามารถย่อยสลายแป้งให้กลายเป็นน้ำกับพลังงาน ซึ่งเพียงพอต่อการดำรงชีพของแมลง
10. การมีตาประกอบ (compound eye) ขนาดใหญ่ในแมลงบางชนิด ซึ่งทำให้แมลงสามารถมองเห็นสภาพแวดล้อมในภาพที่กว้างมาก
จำนวนชนิดของแมลงภายในพื้นที่ต่างๆจะขึ้นอยู่กับ
1. ความสม่ำเสมอของพื้นที่ (habitat heterogeneity) ซึ่งสภาพพื้นที่ที่ไม่สม่ำเสมอจะรองรับจำนวนชนิดของแมลงได้มากกว่าพื้นที่ที่สม่ำเสมอ โดยสภาพพื้นที่นี้จะรวมถึงพื้นที่ที่มีความ
หลากหลายของพันธุ์พืชด้วย เพราะพันธุ์ไม้จะให้พื้นที่ใหม่ๆซึ่งอยู่ภายในต้นไม้กับสภาวะโดยรวมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต
2. ลักษณะโครงสร้างของพืช (plant architecture) โดยลักษณะโครงสร้างของพืชมีความซับซ้อนมากกว่า พืชที่มีโครงสร้างซับซ้อนน้อยจะสามารถรองรับจำนวนชนิดของแมลงได้มากกว่า
3. สารเคมีที่พืชสร้างขึ้น (plant chemistry)
4. ความชุกชุมของจำนวนพื้นที่ (habitat abundance)
5. ขนาดของพื้นที่และการแยกออกจากกันของพื้นที่ (habitat size and isolation) โดยขนาดพื้นที่ที่ใหญ่จะรองรับจำนวนชนิดของแมลงได้มากว่าพื้นที่เล็กๆ
6. Longitude and altitude โดยนอกจากขนาดพื้นที่ ความไม่สม่ำเสมอของพื้นที่และความชุกชุมของพื้นที่ ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวกับ เส้นรุ้ง เส้นแวง และความสูงจากระดับน้ำทะเลที่ได้รับอิทธิพลจาก ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ และความชื้น จะเป็นตัวกำหนดลักษณะของดิน ปริมาณน้ำในดิน ลักษณะพันธุ์พืช พันธ์สัตว์และอื่นๆ ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อจำนวนชนิดของแมลงด้วย
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)