ในการศึกษาทางด้านจุลชีววิทยาซึ่งเป็นการศึกษาสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงจำเป็นต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ซึ่งเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ สำหรับผู้ที่จะศึกษาวิชาจุลชีววิทยาจึงควรเรียนรู้เกี่ยวกับกล้องจุลทรรศน์และวิธีใช้ที่ถูกต้อง ในปัจจุบันวิทยาการในด้านต่างๆ ได้เจริญก้าวหน้าไปมาก รวมทั้งมีการประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์แบบใหม่ๆขึ้น จึงทำให้การศึกษาในวิชาจุลชีววิทยารุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว
กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้กันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ แบบใช้แสงธรรมดาและแบบใช้แสงอิเล็กตรอน
แบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกัน
ส่วนต่าง ๆ ของกล้องจุลทรรศน์ชนิด compound light microscope (Olympus)
www.biology.sc.chula.ac.th/2303106/2303106BU.pdf
λ = ความยาวคลื่นแสง
N.A. = numerical aperture
*** ถ้า N.A. มีค่าสูง resolving power มีค่าน้อย แสดงว่ากล้องมีการแจกแจงรายละเอียดได้ดี
แหล่งที่มา
การใช้กล้องจุลทรรศน์ (Microscope).สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560.จาก
www.kruseksan.com/book/microscope.pdf
กล้องจุลทรรศน์ - SMD : E- Learning.สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560.จาก
www.learning.smd.kku.ac.th/home/images/documents/Microscope.pdf
บทปฏิบัติการที่ 1 กล้องจุลทรรศน์ เซลล์ และองค์ประกอบของเซลล์.สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560.จาก
www.biology.sc.chula.ac.th/2303106/2303106BU/บทปฏิบัติการที่%201.pdf
นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ, และปรีชา สุวรรณพินิจ. (2554). จุลชีววิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเป็นเครื่องมือที่พัฒนามาจากกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงธรรมดา เหตุผลที่ทำให้ประดิษฐ์เครื่องมือนี้ขึ้นมาเนื่องจากว่า ประสิทธิภาพในการขยายภาพของกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสงแบบธรรมดานั้นไม่สามารถศึกษารายละเอียดของโครงสร้างภายในของสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่มีขนาดเล็กมากๆอย่างเช่น ดีเอ็นเอ (Deoxyribo nucleic acid : DNA) ก็ไม่สามารถมองเห็นได้ และเครื่องมีนี้ได้ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ในปีค.ศ.1932 โดยนักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน คือ Max Knoll และ Ernst Ruska ซึ่งแสงที่ใช้เป็นลำแสงอิเล็กตรอน ที่มีขนาดของความยาวคลื่นประมาณ 0.025 อังสตรอม (oA) มีกำลังขยายถึง 500,000 เท่า หรือมากกว่าแหล่งกำเนิดแสงอิเล็กตรอนได้จากปืนยิงอิเล็กตรอน (Electron gun) ซึ่งเป็นขดลวดทังสเตน มีลักษณะเป็นรูปตัววี เมื่อขดลวดทังสเตนรั้นขึ้นโดยการเพิ่มกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวด ทำให้อิเล็กตรอนถูกปลดปล่อยออกมาจากขดลวดทังสเตน เนื่องจากอิเล็กตรอนมีขนาดเล็กมาก และเพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของมวลอากาศกับลำแสงอิเล็กตรอน ซึ่งจะทำให้เกิดการหักเหได้ จึงต้องมีการดูดอากาศจากตัวกล้องให้เป็นสุญญากาศระบบเลนส์ที่ใช้เป็นระบบเลนส์แม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic lens) แทนเลนส์แก้วในกล้องจุลทรรศน์ชนิดแสงธรรมดา เลนส์แม่เหล็กไฟฟ้าประกอบด้วยขดลวดพันรอบแท่งเหล็ก เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าไปทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น สนามแม่เหล็กไฟฟ้าจะทำให้ลำแสงอิเล็กตรอนเข้มขึ้น เพื่อไปตกกระทบกับตัวอย่างวัตถุที่จะศึกษา เลนส์ของกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนประกอบด้วยเลนส์รวมแสง (Objective lens) และ Projector Lens โดยที่ Projector lens ทำหน้าที่ฉายภาพจากวัตถุ Electron Microscope ตัวอย่างที่จะศึกษาลงบนจอภาพคล้ายกับ Eyepiece ของกล้องจุลทรรศน์ชนิดแสงธรรมดา จอภาพฉาบด้วยสารเรืองแสงพวกฟอสฟอรัส เมื่อลำแสงอิเล็กตรอนตกลงบนจอ จะทำให้เกิดการเรืองแสงขึ้นซึ่งเป็นสารสีเขียวแกมเหลืองที่มองได้ด้วยตาเปล่า
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนในปัจจุบันมี 2 ชนิดด้วยกัน
เอิร์นสต์ รุสกา สร้างสำเร็จเป็นคนแรก ในปี ค.ศ.1932 ใช้ในการศึกษาโครงสร้างภายในของเซลล์โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องผ่านเซลล์ หรือวัตถุตัวอย่างที่ศึกษา ซึ่งต้องมีลักษณะบางเป็นพิเศษ ขั้นตอนในการเตรียมตัวอย่างที่ศึกษายุ่งยาก
เอ็ม วอน เอนเดนนี (M Von Andenne) สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1938 โดยใช้ศึกษาผิวของเซลล์หรือผิวของตัวอย่างวัตถุที่นามาศึกษา โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องกราดไปบนผิวของวัตถุ
เกิดจากการที่ Primary electron วิ่งไปกระทบพื้นผิวของวัตถุ ทำให้มีการสะท้อนกลับของพลังงานในรูปแบบต่างๆ เช่น back-scatter electron, รังสีเอ็กซ์ (X-ray) หรือ secondary electron เป็นต้น และในลำกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด จะมีตัวรับสัญญาณที่ทำหน้าที่รับและเปลี่ยน secondary electron ให้เป็นสัญญาณอิเล็กตรอน (electrical signal) แล้วส่งสัญญาณไปยังจอภาพ (Cathode ray tube) เพื่อทำให้เกิดภาพที่ตามองเห็นได้ โดยภาพที่ออกมานั้นจะมีลักษณะ 3 มิติ จากนั้นจะบันทึกภาพลง Photographic
เนื่องจากกล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่มีราคาค่อนข้างสูงและมีส่วนประกอบที่อาจเสียหายง่ายโดยเฉพาะเลนส์ จึงต้องใช้และเก็บรักษาด้วยความระมัดระวังให้ถูกวิธี ซึ่งมีวิธีปฏิบัติดังนี้
https://pccpcell.wordpress.com
แหล่งที่มา
กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน.สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560.จาก
https://sites.google.com/site/aomsupaporn2535/hnwy-thi2/hnwy-thi2-2
กล้องจุลทรรศน์ - SMD : E- Learning.สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560.จาก
www.learning.smd.kku.ac.th/home/images/documents/Microscope.pdf
คู่มือสื่อการสอนวิชาชีววิทยา โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560.จาก
www.phukhieo.ac.th.pdf
บทปฏิบัติการที่ 1 กล้องจุลทรรศน์ เซลล์ และองค์ประกอบของเซลล์.สืบค้นเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560.จาก
www.biology.sc.chula.ac.th/2303106/2303106BU/บทปฏิบัติการที่%201.pdf
นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ, และปรีชา สุวรรณพินิจ. (2554). จุลชีววิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การเตรียมตัวอย่างเชื้อจุลินทรีย์เพื่อนำมาศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงธรรมดาอาจกระทำได้ 2 วิธี คือ เลี้ยงจุลินทรีย์ในสภาพของเหลวเพื่อทำสไลด์สดหรือหยดแขวน และอีกวิธีหนึ่งโดยการทำให้เซลล์แห้งตรึงติดอยู่กับที่ และย้อมสีเพื่อให้เห็นความแตกต่างได้
โดยหยดของเหลวที่มีจุลินทรีย์บนแผ่นแก้วสไลด์ ปิดทับด้วยกระจกสไลด์ โดยค่อยๆ วางกระจกปิดให้ด้านหนึ่งสัมผัสกับหยดของเหลว แล้วค่อยๆ ปล่อยกระจกปิดลงช้าๆ เพื่อไม่ให้เกิดฟองอากาศขึ้น เช็ดขอบกระจกปิดสไลด์ให้แห้ง ถ้าต้องการให้ลดการระเหยของของเหลว อาจใช้ยาทาเล็บทาปิดระหว่างขอบกระจกปิดและสไลด์
มีลักษณะคล้ายกับการทำสไลด์สด แต่ให้หยดซัสเพนชันของจุลินทรีย์บนกระจกปิดสไลด์ก่อน แล้วจึงคว่ำสไลด์หลุมตรงกลาง (depression slide) ลงบนกระจกปิด กะปริมาณให้บริเวณหลุมอยู่เหนือหยดของเหลว แล้วรีบพลิกสไลด์ให้หงายขึ้นโดยเร็ว หลดเชื้อจะแขวนอยู่กับกระจกปิดสไลด์และอยู่เหนือหลุมของสไลด์หลุมพอดี
ข้อดีของการศึกษาด้วยสไลด์สดและการทำหยดแขวน
เนื่องจากจุลินทรีย์ซึ่งมีขนาดเล็กมากนั้นมักโปร่งแสง จึงแยกความแตกต่างกับของเหลวที่จุลินทรีย์แขวนลอยอยู่ได้น้อย ทำให้มองให้ได้ยาก ดังนั้นการย้อมสีจะช่วยให้เห็นรายละเอียดและความแตกต่างของจุลินทรีย์แต่ละชนิดได้มากขึ้น
สีที่ใช้ในการย้อมสีแบคทีเรียนั้นเป็นสีที่อยู่ในรูปของเกลือ ซึ่งจะประกอบไปด้วยออนบวกและลบ ส่วนที่แสดงสี หรือ Chromophoric group ซึ่งเป็นส่วนที่มีประจุเป็นออนบวกหรือลบนี้ สามารถใช้ในแบ่งออกเป็น 3 ชนิดตามประจุไฟฟ้า คือ
หลักการของการติดสีในการย้อมสีแบคทีเรีย
จุรีย์รัตน์ สีสมิทธ์. ปฏิบัติการจุลชีววิทยาทั่วไป. หน้า 27.
การย้อมสีเป็นปฏิกิริยาการแลกเปลี่ยนไอออนของเซลล์กับของสี กล่าวคือ ไอออนของสีจะเข้าไปแทนที่ไอออนบนส่วนประกอบของเซลล์ จึงเกิดสารประกอบของเกลือออกมาและสีจะติดที่เซลล์แทนนอกจากนี้องค์ประกอบทางเคมีของกรดนิวคลีอิคยังมีส่วนในการเกิดเกลืออีกด้วย เช่น เกลือของโซเดียมหรือโปตัสเซียม เป็นต้น เนื่องจากเซลล์ของแบคทีเรียมีประจุไฟฟ้าลบ ดังนันจึงดึงดูดได้ดีกับไอออนที่มีประจุไฟฟ้าบวกเช่น ถ้ามี Na+ หรือ K+ จะเกิดการดึงดูด Na+ หรือ K+ ไปติดที่เซลล์ ของแบคทีเรียเป็น (Bacterial cell)- Na+ หรือ (Bacterial cell)- K+
เนื่องจากสีที่ใช้ย้อมสีแบคทีเรียอยู่ในรูปของเกลือ ซึ่งมีทั้งประจุลบและบวกด้วยกันเม่ือย้อมเซลล์แบคทีเรียทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนประจุระหว่างสีและเซลล์ เช่น ใช้ Methylene blue chloride (MB+Cl-) ย้อมเซลล์แบคทีเรีย จะเกิดการเปลี่ยนประจุกันขึ้นทำให้เซลล์ติดสีย้อมของ Methylene blue ดังสมการ
(Bacterial cell- Na+) + (MB+Cl-) → (Bacterial cell- MB+) + (Na+Cl-)
วิธีการย้อมสีแบคทีเรียที่สำคัญมีดังนี้
ตาราง แสดงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากการย้อมสีแบบแกรม
แหล่งที่มา
การเตรียมตัวอย่าง (Simple preparation).สืบค้นเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2560.จาก
https://www.scribd.com/document/348205778/การยอมสี.pdf
นงลักษณ์ สุวรรณพินิจ, และปรีชา สุวรรณพินิจ. (2554). จุลชีววิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ:
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)