logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

การแยกเชื้อบริสุทธิ์

โดย :
เนียรวรรณ มีเจริญ
เมื่อ :
วันศุกร์, 11 สิงหาคม 2560
Hits
215747
  • 1. Introduction
  • 2. การทำ ไร้เชื้อ (Sterilization)
  • - All pages -

 

การแยกเชื้อบริสุทธิ์

         การขีดเชื้อในจานเพาะเชื้อ (Streak plate) และการทำให้เชื้อกระจายในจานเพาะเชื้อ (Spread plate)

         วิธี Streak-Plate Technique

          การแยกเชื้อให้บริสุทธิ์เป็นเทคนิคพื้นฐานทางจุลชีววิทยาที่มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่น น้ำ อากาศ พื้นห้องเรียน หรือแม้แต่ร่างกายของคนก็มีเชื้อจุลินทรีย์อยู่หลายชนิดที่อาจปนเปื้อนในหลอดเพาะเชื้อได้ หลักการของการแยกเชื้อให้บริสุทธิ์บนอาหารเลี้ยงเชื้อ (Culture medium) คือ จะต้องแยกเชื้อให้ได้โคโลนีเดี่ยวๆ (Single colony) จำนวนมาก จากนั้นจึงนำเชื้อที่เป็นโคโลนีเดี่ยวไปศึกษารูปร่างลักษณะ และคุณสมบัติต่างๆ เพื่อให้ทราบว่าเป็นเชื้อชนิดใด เทคนิคที่นิยมใช้ในการแยกเชื้อบริสุทธิ์คือ วิธี cross streak plate ซึ่งทำได้โดยใช้ห่วงเขี่ยเชื้อ (Loop) แตะตัวอย่างหรือสิ่งส่งตรวจแล้วลากหรือขีด (Streak) ลงบนจานเพาะเชื้อที่มีอาหารแข็ง (Agar plate) อยู่ให้ได้แนวระนาบติดต่อกัน 4-5 เส้น หลังจากเสร็จในระนาบแรกซึ่งมีเชื้อจุลินทรีย์อยู่หนาแน่นที่สุด ให้นำห่วงเขี่ยเชื้อมาเผาไฟให้ลวดที่ปลายร้อนแดงเพื่อฆ่าเชื้อที่ติดให้หมด จากนั้นจึงขีดเชื้อจากส่วนของรอยลากในระนาบแรกออกมาเพียงหนึ่งครั้งแล้วลากเป็นระนาบที่สอง 4-5 เส้นติดกันโดยรอยขีดของเชื้อจะไม่ทับกับระนาบแรกอีก หลังจากนั้นก็ทำเช่นเดียวกันกับระนาบที่สองจนครบทั่วทั้งจานเพาะเชื้อซึ่งมีประมาณสี่ระนาบ เมื่อได้เชื้อบริสุทธิ์แล้วจะมีการศึกษาเชื้อต่อไปในด้านต่างๆ ซึ่งจะต้องมีการถ่ายเชื้อจากอาหารเดิมไปยังอาหารใหม่ หรือมีการเพาะเชื้อลงในอาหารเพื่อการทดสอบและการวิเคราะห์ต่างๆ ดังนั้นการเรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้องในการถ่ายเชื้อจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งซึ่งต้องอาศัยหลักการของ aseptic technique เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อชนิดอื่นซึ่งจะทำให้ผลการทดลองผิดพลาดได้ อุปกรณ์พื้นฐานที่ใช้ในการถ่ายเชื้อคือ ห่วงเขี่ยเชื้อ เข็มเขี่ยเชื้อ (Needle) และตะเกียงแอลกอฮอล์สำหรับใช้ฆ่าเชื้อโดยการเผา (Incineration) การถ่ายเชื้อจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียและยีสต์จะใช้ห่วงเขี่ยเชื้อเป็นส่วนใหญ่ มีบางครั้งที่ใช้เข็มเขี่ยเชื้อปลายตรง ส่วนเชื้อราที่เป็นเส้นสาย (filamentous fungi) มักจะใช้เข็มเขี่ยปลายงอ

7448 2

วิธี Spread-Plate Technique

         ในแหล่งธรรมชาตินั้นปกติเชื้อแบคทีเรียจะเติบโตอยู่รวมกันหลายๆสายพันธุ์ เพื่อการคัดแยกและจำแนกชนิดของแบคทีเรียแต่ละสายพันธุ์จะต้องมีขั้นตอนการทำให้เชื้อบริสุทธิ์ (Pure culture) โดยเทคนิคที่ทำได้ง่ายคือ spread plate technique ซึ่งเทคนิคนี้แบคทีเรียที่ถูกทำให้เจือจางให้มีจำนวนประมาณ 100-200 เซลล์ หรือน้อยกว่าจะถูกนำไปวางตำแหน่งตรงกลางของจานเพาะเชื้อ (Petri dish/plate) แล้วทำการเกลี่ยให้เชื้อกระจายทั่วด้วยแท่งแก้วรูปตัว L หลังจากบ่มที่อุณหภูมิที่เหมาะสมและมีระยะเวลาเพียงพอ จะปรากฏโคโลนี (Colony) ของเชื้อแบคทีเรียขึ้น โดยแต่ละโคโลนีจะมีจำนวนแบคทีเรียอยู่จำนวนมาก และแต่ละโคโลนีจะถือว่ามาจากแบคทีเรียสายพันธุ์เดียว ดังนั้นจะทำให้เกิดการแยกจุลินทรีย์ออกมาเป็นเชื้อบริสุทธิ์ขึ้น เมื่อมองด้วยตาเปล่าแบคทีเรียแต่ละสายพันธุ์โคโลนีจะมีลักษณะแตกต่างกัน

การเทเพลท (Pour – plate technique)

            เทคนิคการเพาะเชื้อแบบ pour-plate technique ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการแยกเชื้อให้บริสุทธิ์ได้เช่นกัน โดยตัวอย่างเริ่มต้นจะถูกเจือจางให้มีความเข้มข้นหลายๆ ระดับด้วยเทคนิค serial dilution เพื่อทำให้เชื้อถูกเจือจางมากพอที่จะทำให้เกิดโคโลนีเดี่ยวๆ บนจานเพาะเชื้อ โดยนำตัวอย่างที่มีความเข้มข้นที่เหมาะสมเติมลงในจานเพาะเชื้อเปล่าที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว แล้วทำการเทอาหารวุ้นลง (Agar Medium) ไปในจานเพาะเชื้อ (โดยอุณหภูมิของอาหารเพาะเชื้อประมาณ 48-50 องศาเซลเซียส ซึ่งจะไม่ทำให้เชื้อแบคทีเรียและยีสต์ตายได้) ผสมอาหารและเชื้อให้เข้ากันและให้เกิดการกระจายอย่างสม่ำเสมอด้วยการหมุนจานเพาะเชื้อ เมื่อวุ้นเกิดการแข็งตัว เซลล์จุลินทรีย์จะถูกตรึงให้อยู่ด้านในของอาหาร และจะเกิดโคโลนีเดี่ยวๆ ของเชื้อขึ้นมา

          การแยกเชื้อโดย pour-plate technique วิธีการแยกเชื้อให้บริสุทธิ์วิธีนี้ ทำได้ดังนี้

  1. นำหลอดอาหารที่มีอาหารเลี้ยงเชื้อจำนวน 3 หลอด ไปหลอมให้ละลาย และแช่ใน Water bath ซึ่งมีอุณหภูมิประมาณ 45 องศาเซลเซียส
  2. นำลวดเขี่ยเชื้อ (Loop) ที่สะอาดปราศจากเชื้อจุ่มลงในหลอดที่มีเชื้อผสม แล้วนำไปใส่ในหลอดอาหารเลี้ยงเชื้อหลอดที่ 1 เขย่าหลอดเพื่อให้เชื้อกระจายทั่วหลอด
  3. นำ Loop ที่สะอาดปราศจากเชื้อจุ่มลงในเชื้อผสมหลอดที่ 1 ถ่ายลงในหลอดอาหารที่ 2 เขย่าเพื่อให้เชื้อแพร่กระจายทั่วหลอด
  4. นำ Loop ที่สะอาดปราศจากเชื้อจุ่มลงในเชื้อผสมหลอดที่ 2 ถ่ายลงในหลอดอาหารที่ 3 เขย่าเพื่อให้เชื้อแพร่กระจายทั่วหลอด
  5. นำอาหารในหลอดที่ 1 เทใส่จานเพาะเชื้อจานที่ 1 หมุนจานเบาๆ เพื่อให้เชื้อแบคทีเรียกระจายโดยทั่วจาน ปล่อยทิ้งไว้จนอาหารแข็งตัว
  6. นำอาหารในหลอดที่ 2 และ 3 เทใส่จานเพาะเชื้อจานที่ 2 และ 3 ตามลำดับ หมุนจานเบาๆ เพื่อให้เชื้อแบคทีเรียกระจายโดยทั่วจาน ปล่อยทิ้งไว้จนอาหารแข็งตัว
  7. นำจานเพาะเชื้อไปบ่มที่อุณหภูมิห้องหรืออุณหภูมิที่เหมาะสม ทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชม. จะเห็นโคโลนีเดี่ยวๆ ของแบคทีเรียเจริญขึ้นจนมีขนาดใหญ่พอที่จะเขี่ยเชื้อ หรือนำไปศึกษาคุณสมบัติอื่นๆ ต่อไป

            ผลจากการแยกเชื้อบริสุทธิ์โดยวิธีนี้ จะพบว่าในจานเพาะเชื้อที่ 1 จะมีเชื้อเจริญหนาแน่นมากที่สุด สำหรับจานเพาะเชื้อที่ 2 และ 3 มีเชื้อเจริญหนาแน่นน้อยลงมาตามลำดับ นอกจากวิธีการแยกเชื้อบริสุทธิ์โดยวิธีนี้ ยังสามารถศึกษาการเจริญของแบคทีเรียในที่มีอากาศหรือไม่มีอากาศได้ด้วย ถ้าเชื้อมีการเจริญเฉพาะบนผิวหน้าอาหาร แสดงว่าเชื้อนั้นเจริญได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจน ถ้าเชื้อใดเจริญบนก้นจานเพาะเชื้อ แสดงว่าเชื้อนั้นเจริญได้ดีในสภาพไม่มีออกซิเจน

7448 3


Return to contents

 การทำ ไร้เชื้อ (Sterilization)

 

         การตายของจุลินทรีย์หมายถึงการสูญเสียความสามารถในการเพิ่มจำนวน ( Reproduce) อย่างถาวร การตายของจุลินทรีย์เป็นในรูป exponential นั่นคือจำนวนที่รอดชีวิตจะลดลงเป็นแบบอนุกรมเรขาคณิตเมื่อเทียบกับเวลา ทั้งนี้เนื่องจากว่าสมาชิกในประชากรมีสภาพไว (Sensivity) เหมือนกันคือ ตายง่ายๆ เท่า ๆ กัน การตายก่อนตายหลังของจุลินทรีย์แต่ละตัวขึ้นกับโอกาส (Probability) โดย slope ที่เป็น negative ของความสัมพันธ์ระหว่าง log N กับเวลา คืออัตราการตาย (Death rate) ซึ่ง death rate จะบอกเพียงสัดส่วนของประชากรที่รอดชีวิตในระยะเวลาที่กำหนดนั้นมีเท่าไหร่ถ้าต้องการรู้จำนวนรอดชีวิตที่แท้จริง เราต้องรู้ขนาดของประชากรเริ่มต้นดังนั้นในการกำ จัดเชื้อต้องคำนึงถึง death rate และขนาดของประชากรตั้งต้น (Initial population size)

การทำไร้เชื้ออาจทำได้หลายวิธี ได้แก่

  1. การทำไร้เชื้อโดยใช้ความร้อน (Sterilization by heat) เป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด เนื่องจากว่าเป็นวิธีการฆ่าเชื้อที่ง่ายและเชื่อถือได้ โดยการใช้ความร้อนที่สูงพอ (มากกว่า 100 °C) และสภาวะที่เหมาะสมก็สามารถฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ทุกชนิดแม้กระทั่งสปอร์ที่ทนทานต่อความร้อน ความร้อนสามารถนำ ไปประยุกต์ได้ 2 แบบคือ

              1.1 ความร้อนแห้ง ความร้อนแห้งนั้นเชื่อกันว่าฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยการทำให้เกิด destructive oxidation ขององค์ประกอบต่างๆ ที่สำคัญและจำ เป็นของเซลล์ การฆ่าสปอร์ที่มีความต้านทานมากที่สุดโดยความร้อนแห้งต้องใช้อุณหภูมิประมาณ 160° C เป็นเวลา 60 นาที ซึ่งอาจทำ ให้กระดาษ สำลีและสารอินทรีย์บางอย่างไหม้ (Charring)

              1.2 ความร้อนชื้น ความร้อนชื้นจะฆ่าจุลินทรีย์โดยทำให้เกิด Coagulation และ Denaturing ของ enzymes และ structural protein ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยนํ้า การฆ่าสปอร์ที่ทนทานต่อความร้อนด้วยความร้อนชื้น จะต้องใช้ความร้อนชื้นที่ 121 °C เป็นเวลา 10-30 นาที ความร้อนชื้นมีประสิทธิภาพดีกว่าความร้อนแห้ง เพราะฆ่าเชื้อได้ที่อุณหภูมิตํ่ากว่าในระยะเวลาที่กำหนดหรือใช้เวลาน้อยกว่าที่อุณหภูมิที่เท่ากัน

ปัจจัยที่มีผลต่อการทำไร้เชื้อด้วยความร้อน

  1. อุณหภูมิและเวลา ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อมีความสัมพันธ์แบบผกผัน (Inversely related) คือเวลาน้อยจะเพียงพอสำหรับฆ่าจุลินทรีย์ที่อุณหภูมิสูง เพราะฉะนั้นในการฆ่าชื้อนั้นจะต้องร้อนพอและนานพอ ในทางปฏิบัติแล้วการฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 121 °C เป็นเวลา 15 นาที โดยใช้ความร้อนชื้นพอเพียงที่จะฆ่าจุลินทรีย์ที่เป็น พวก Pathogenic spore-forming และพวก saprophyte ได้ทุกชนิด ยกเว้นพวกที่เป็น strict thermophile บางชนิดไม่สามารถเจริญที่อุณหภูมิน้อยกว่า 40 ° C
  2. จำนวนของจุลินทรีย์ และสปอร์
  3. ชนิด, สายพันธ์และความสามารถในการเกิดสปอร์ของจุลินทรีย์ก็มีส่วนต่อการรับไว้ได้ของจุลินทรีย์ต่อความร้อน vegetative form ของพวกแบคทีเรีย, ยีสต์และราส่วนใหญ่ และ animal virus ส่วนมากจะถูกฆ่าภายใน 10 นาที ที่อุณหภูมิระหว่าง 50 °C เช่น Neisseria gonorrhoea และ 65° C
  4. ธรรมชาติของสาร อาจมีผลต่ออัตราการฆ่า ถ้าหากมีสารที่เป็นองค์ประกอบของพวกสารอินทรีย์ เช่น พวกโปรตีน, gelatin,นํ้าตาล, แป้ง, กรดนิวคลีอิค, ไขมันและนํ้ามันที่มีปริมาณสูง มักจะมีแนวโน้มที่จะป้องกันสปอร์และ Vagetative cells จากการถูกฆ่าด้วยความร้อนโดยเฉพาะพวกไขมันและนํ้ามัน ผลของไขมันและนํ้ามันจะมีมากในความร้อนชื้นเพราะว่ามันเป็นตัวป้องกันไม่ให้ความชื้นเข้าไปในตัวของจุลินทรีย์
  5. ความเป็นกรด- เบส (pH) ก็เป็นสิ่งสำคัญ ความต้านทานต่อความร้อนและสปอร์จะสูงสุดใน pH ที่เป็นกลาง (pH 7) และจะลดลงที่ความเป็นกรด (Acidity) หรือความเป็นด่าง (Alkalinity) เพิ่มขึ้น เช่น สปอร์ของ Clostridium tetani ซึ่งถูกฆ่าด้วยความร้อนชื้น 100° C เป็นเวลา 29 นาที ที่ pH 7.2 จะถูกฆ่าภายใน 11 นาที หรือที่ pH 4.1 ปริมาณความร้อนที่ต้องการในการฆ่าจุลินทรีย์ชนิดใดชนิดหนึ่ง มักกล่าวในรูปของอุณหภูมิและเวลาที่เผย (Expose) ต่อความร้อน ซึ่งอาจเป็น Thermal death point คืออุณหภูมิตํ่าสุดที่ใช้ในการฆ่าเชื้ออย่างสมบูรณ์ใน aqueous solution ภายในเวลา 10 นาที หรือมักกล่าวในรูปของ Thermal death time คือระยะเวลาที่สั้นที่สุดสำหรับการฆ่าเชื้ออย่างสมบูรณ์ที่อุณหภูมิที่กำหนด

การทำไร้เชื้อด้วยความร้อนแห้ง มีหลายวิธี ได้แก่

  1. Red heat โดยการทำ ให้ร้อนด้วยเปลวไฟของตะเกียง bunsen จนร้อนแดง ใช้สำ หรับฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ inoculating wires, loop, ปลาย forceps scaring, spatula
  2. Flaming ใช้สำ หรับ sterilize ปากขวดหรืออาหารเลี้ยงเชื้อ เข็ม มีดผ่าตัด กระจกสไลด์ coverslips โดยให้มันผ่านไปมาในเปลวไฟของตะเกียง bunsen โดยไม่ต้องทำ ให้ร้อนแดง พวกเข็มและมีดผ่าตัดมักจุ่มลงในแอลกอฮอล์ก่อนแล้วเผาให้ระเหยไป แต่วิธีนี้ไม่ได้ให้ความร้อนสูงพอสำหรับการทำ ไร้เชื้อ
  3. Hot air oven เป็นวิธีการทำ ไร้เชื้อด้วยความร้อนแห้งที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ตู้อบถูกทำ ให้ร้อนด้วยไฟฟ้าและมีตัวควบคุมอุณหภูมิสำหรับรักษาระดับของอุณหภูมิให้คงที่ ควรมีพัดลมช่วยเป่าหรือช่วยในการหมุนเวียนของอากาศ และทำให้ load ได้รับความร้อนทั่วถึง มักใช้อุณหภูมิ 160-170 ° C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง (ไม่นับ heating time) การใช้ Hot air oven เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการฆ่าเชื้อพวกเครื่องแก้วที่แห้ง เช่น หลอดแก้ว, จานเลี้ยงเชื้อ และเครื่องมือต่างๆ เช่น มีดผ่าตัด, กรรไกร, เข็มฉีดยา และ Flask ก่อนฆ่าเชื้อควรอุดด้วยสำลี เครื่องแก้วอย่างอื่น เช่น ปิเปตอาจห่อด้วยกระดาษหรือใส่กระบอกโลหะ วิธีนี้ยังใช้ฆ่าเชื้อสารที่แห้งที่อยู่ในภาชนะที่ปิดมิดชิด พวก powder , ไขมัน, นํ้ามัน และไขซึ่งไม่ยอมให้ความชื้นผ่านไปได้ วัตถุเหล่านี้ความร้อนผ่านทะลุได้ช้ามาก จึงต้อง sterilize ทีละน้อย ๆ เป็นชั้นบาง ๆ เช่น ห่อไม่เกิน 10 กรัม หรือชั้นลึกไม่เกิน 5 มม. ในจานแก้ว สิ่งสำคัญที่ต้องควรจำ ก็คือของทุกอย่างที่นำเข้า hot air oven นี้ต้องแห้งมิฉะนั้นจะแตก
  4. การทำ ไร้เชื้อด้วยรังสี (Sterilization by radiation) อาจใช้ UV หรือ ionizing radiation ก็ได้โดยที่ UV radiation มีอำนาจทะลุทะลวงตํ่า จึงใช้ฆ่าเชื้อเฉพาะที่ผิวหนังเท่านั้น และต้องส่องวัตถุที่ต้องการฆ่าเชื้อโดยตรง และต้องมีความเข้มและระยะเวลาในการถูกแสงนานพอการฉายรังสี UV จะเหนี่ยวนำ ทำให้เกิดthymine dimmers ใน DNA ซึ่งจะขัดขวางการจำ ลองตัว (Replication)
  5. การทำ ไร้เชื้อโดยการกรอง (Sterilization by Filtration) การทำไร้เชื้อโดยการกรองเป็นการนำจุลินทรีย์ออกจากของเหลวที่ไม่คงตัวต่อความร้อน วิธีนี้มีประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้ในการเตรียม Soluble product ของแบคทีเรีย สารปฏิชีวนะ ทำได้โดยการให้ของเหลวผ่านเครื่องกรอง (Filter) ที่มีขนาดของรูพรุนน้อยกว่า 0.5 um แต่พวกไวรัสและ mycoplasma มักผ่านได้
  6. การทำไร้เชื้อโดยใช้สารเคมี (Chemical sterilization) มีสารเคมีหลายชนิดที่มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคได้ สารพวกนี้เรียกว่าสารทำลายเชื้อ (Disinfectant) บางชนิดเรียกว่าสารระงับเชื้อ (Antiseptics) ตัวอย่างสารเคมีที่นิยมใช้คือ Alcohols เช่น Ethanol 70% ฆ่าเชื้อโรคได้ดีเป็นส่วนมาก แต่เชื้อบางอย่างต้องใช้ความเข้มข้นที่สูงกว่านี้ Methanol ให้ผลน้อยกว่า Ethanol นอกจากนี้ยังเป็นพิษ Alcohol อย่างอื่น เช่น Propyl, Butyl, Amyl ฆ่าเชื้อได้ดีกว่า Ethanol

 

 

 

 


Return to contents
Previous Page 1 / 2 Next Page
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
การแยกเชื้อบริสุทธิ์,เทคนิคพื้นฐานทางจุลชีววิทยา,อาหารเลี้ยงเชื้อ
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 11 สิงหาคม 2560
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
เนียรวรรณ มีเจริญ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ชีววิทยา
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
  • 7448 การแยกเชื้อบริสุทธิ์ /lesson-biology/item/7448-2017-08-11-07-30-49
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทเรียน
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)