ประวัติการศึกษาเกี่ยวกับฮอร์โมน
สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช
1. ในปี พ.ศ. 2423 ( ค.ศ. 1880 ) ชาร์ลส์ ดาร์วิน ( Charles Darwin )ผู้ค้นพบทฤษฏีวิวัฒนาการ และ ฟรานซิส ดาร์วิน ( Francis Darwin ) ผู้เป็นบุตรชาย ได้ทำการทดลองกับต้นกล้าของหญ้า ( Grass seedling ) ชนิดคานารี (Phalaris canariensis) ซึ่งเขาสังเกตว่าปลายยอดแรกเกิดมักโค้งงอเข้าหาแสงเสมอ เขาได้ทำการทดลองดังนี้
สรุป “ ส่วนปลายของยอด (Coleoptile) มีสิ่งเร้าบางอย่างเคลื่อนย้ายหรือลำเลียงไปยังส่วนที่ต่ำกว่าทำให้ส่วนที่อยู่ต่ำกว่าโค้งเข้าหาแสง”
2. การทดลองของปีเตอร์ บอยเซน- เจนเซน( Peter Boysen Jensen)
สรุป “ สิ่งเร้าที่อิทธิพลต่อการโค้งของปลายยอด เป็นสารเคมีที่สร้างจากปลายยอด สามารถผ่าน Gelatin ลงมาได้ซึ่งมีอิทธิพล ทำให้เกิดการโค้งเข้าหาแสง ซึ่งสารนี้ไม่สามารถผ่านแผ่นไมก้าได้”
3. การทดลองของอาร์แพด ปาลในปี พ.ศ. 2462 ( ค.ศ. 1919 ) นักวิทยาศาสตร์ชาวฮังการี ชื่อ อาร์แพด ปาล ( Arpad Paal ) ทำการทดลองกับปลายยอดอ่อนของต้นกล้าของข้าวโอ๊ต ( Avena sativa ) โดยทำการทดลองในที่มืด
สรุป “ สารเคมีที่มีผลทำให้ปลายยอดโค้งเข้าหาแสงสามารถเคลื่อนย้ายลงไปในทุกๆด้านของปลายยอด”
4. การทดลองของ ฟริตส์ เวนต์ในปี พ.ศ. 2469 ( ค.ศ. 1928 ) นักวิทยาศาสตร์ชาวเนเธอร์แลนด์ ชื่อ ฟริตส์ เวนต์ ( Frits Went )
สรุป “ มีสารบางอย่างแพร่ออกมาจากปลายยอด ซึ่งมีผลทำให้ปลายยอดโค้งเข้าหาแสงได้”
ฮอร์โมนพืช (Phytohormone) คือ สารเคมีที่พืชสร้างขึ้นในปริมาณเพียงเล็กน้อย และ มีผลต่อขบวนการ หรือ ควบคุมการเจริญในพืช (Plant Development)
ฮอร์โมนพืช แบ่งเป็นกี่ชนิด หรือ กี่กลุ่ม?
ปัจจุบัน จะแบ่งฮอร์โมนพืชออกเป็น 5-6 กลุ่ม ด้วยกัน คือ
1. ออกซิน (auxin) มาจากภาษากรีก แปลว่า ทำให้เพิ่ม (to increase)
2. ไซโทไคนิน (cytokinin) มาจาก เพิ่มการแบ่งเซลล์ cytokinesis
3. จิบเบอเรลลิน (gibberellin) มาจากชื่อราGibberella fujikuroi
4. กรดแอบไซซิค (abscisic acid) มาจาก การร่วงของใบ abscission
5. เอทิลีน (ethylene) เป็นชนิดเดียวที่เป็น ก๊าซ ช่วยเร่งการสุกผลไม้
+ นอกจากนี้ยังมีพวก Oligosaccharins, Brassinosteroids, Florigen, Vernalin เป็นต้น
1.ออกซิน (Auxin)ออกซินเป็นฮอร์โมนพืชที่สร้างจากกลุ่มเซลล์เนื้อเยื่อเจริญบริเวณยอดอ่อน แล้วแพร่จากยอดอ่อนไปยังเซลล์อื่น ๆ ที่อยู่ด้านล่าง แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม
(กรุณาจำชื่อชื่อย่อของออกซินไว้ด้วย ออกสอบเอนนะ)
เเบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ Natural and Synthetic Auxin
1.ออกซิน ธรรมชาติ (Natural Auxin)
Indole-3-Acetic Acid (IAA)
Indole-3-Butyric Acid (IBA)
2. ออกซิน สังเคราะห์ (Synthetic Auxin)
Naphthalene Acetic Acid (NAA)
2,4-Dicholophenoxy acetic acid (2,4-D)
2,4,5-Trichlorophenoxy acetic acid (2,4,5-T)
หน้าที่คือ
1. กระตุ้นเซลล์ของเนื้อเยื่อที่มีการยืดตัวให้ขยายขนาดทำให้เจริญเติบโตสูงขึ้น
2. ออกซินมีผลต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง
การศึกษาเกี่ยวกับออกซิน (มีถามในเอนเยอะอยู่นะครับ)
1) การศึกษาการตัดตาออ่นของพืช
ก. ข. ค.
รูปแสดงการทดลองตัดยอดพืช
ก. ต้นที่เจริญตามปกติ
ข. ต้นที่ตัดยอดออก
ค. ต้นที่ตัดยอดออกแล้วนำชิ้นวุ้นที่มีออกซินมาวางไว้
2) การศึกษาความเข้มข้นของออกซิน
รูปการตอบสนองของราก ตา และลำต้น ต่อความเข้มข้นของออกซินระดับต่าง ๆ
สรุปว่า ถ้าออกซินเข้มข้นมาก จะยับยั้งการเจริญของตาแต่เมื่อตัดยอดออกไป จึงขาดแหล่งสร้างออกซินที่จะยับยั้งการเจริญของตาข้าง ทำให้ตาข้างเจริญได้ดี
รูปภาพแสดงการเร่งรากของกิ่งเมื่อใช้ออกซิน
สรุปผลการทดลองได้ว่า ก้านใบพืชที่จุ่มในออกซินมีการแตกรากหรือการงอกรากมากมายกว่าก้านใบพืชที่จุ่มในน้ำ โดยไม่มีออกซิน แทบไม่มีการงอกออกมาเลย
Parthenocarpic fruit
ก. ข.ค.
ก. ผลกลุ่มสตรอเบอรี่ที่เจริญตามปกติ
ข. ผลกลุ่มสตรอเบอรี่หลังแกะเมล็ดของผลย่อย ๆ ออกหมด
ค. ผลกลุ่มสตรอเบอรี่ที่แกะเมล็ดของผลย่อยออกหมดแล้วเคลือบด้วยแผ่นวุ้นที่มีออกซินอยู่
ฮอร์โมนในกลุ่มจิบเบอเรลลิน (Gibberellin)
กระตุ้นการเจริญขยายตัวของเซลล์ตรงช่วงระหว่างข้อทำให้ลำต้นยืดยาว
เช่น มะเขือเทศ ยาสูบ ฟักทอง แตง ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ข้าว อ้อย คะน้า ถั่ว
รูปอิทธิพลของจิบเบอเรลลินที่มีผลต่อความสูงของลำต้นและความยาวของช่อดอก
ผลองุ่นกับ GA
ไซโทไคนิน
เอทิลีน
กรดแอบไซซิก
การเคลื่อนไหวของพืช
1.เนื่องจากการเจริญเติบโต
ก. เกิดจากสิ่งเร้าภายใน
- นิวเตชัน (nutation) ปลายยอดแกว่งไปมา
- ลำต้นบิดเป็นเกลียว หรือพันอ้อมหลัก ( Spiral movement )
ข.เกิดจากสิ่งเร้าภายนอก
Gravitropism – แรงโน้มถ่วงเป็นสิ่งเร้า
Phototropism – แสงเป็นสิ่งเร้า
Chemotropism - สารเคมีเป็นสิ่งเร้า
Thermotropism – อุณหภูมิเป็นสิ่งเร้า
Thigmotropism – การสัมผัสเป็นสิ่งเร้า
นาสตี้ = เคลื่อนไหวแบบมีทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า ได้แก่
Photonasty เช่น การบานของดอกไม้
Thermonasty เช่น การบานของดอกบัวสวรรค์ ทิวลิป
Thigmonasty เช่น แมลงสัมผัสขนที่ใบของหยาดน้ำค้าง
2. เนื่องจากแรงดันเต่ง
ก.เกิดจากการสัมผัสเช่น การหุบกางใบไมยราบ ใบกาบหอยแครง ใบสาหร่ายข้าวเหนียว
ข. การนอนหลับเนื่องจากความเข้มแสงมากระตุ้น เช่น การหุบกางใบไมยราบ และพืชตระกูลถั่ว
ค. การปิดเปิดปากใบ
ทั้งการหุบกางใบที่เกิดจากการสัมผัสและการนอนหลับ จัดเป็นนาสตี้ด้วย แต่น้อยกว่าเกิดจากแรงดันเต่ง
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)