ตัวยับยั้งและตัวเร่งเอนไซม์
สารบางชนิดมีผลต่อการทำงานโดยสารที่ทำให้เอนไซม์ทำงานลดลง เรียกว่า ตัวยับยั้ง (inhibitor) สารที่ทำ ให้เอนไซม์ทำงานเพิ่มขึ้นเรียกว่า ตัวเร่ง (activator)
การยับยั้งแบบแก่งแย่ง
ตัวยับยั้งแบบแก่งแย่ง (Competitive inhibitor) มีโครงสร้างคล้ายสารตั้งต้น แย่งที่จับกับเอนไซม์ที่แอกทีฟไซต์ ทำให้สารตั้งต้นเอนไซม์ได้ลดลง ปฏิกิริยาจึงลดลงหรือหยุดชะงักไป
การยับยั้งแบบแอลโลสเตอริก
ตัวยับยั้งแบบแอลโลสเตอริก (allosteric inhibitor) ไม่ได้มีโครงสร้างเหมือนสารตั้งต้นและไม่ได้จับกับเอนไซม์ที่แอกทีฟไซด์ แต่จับเอนไซม์ที่แอลโลสเตอริกไซด์ (allosteric site) ที่มีอยู่ในเอนไซม์ บางชนิด (allosteric enzyme) ซึ่งมีผลให้เอนไซม์มีรูปร่างเปลี่ยนไปและทำงานได้ลดลง กรณีที่มีสารมาจับที่แอลโลสเตอริกไซด์ แล้วมีผลทำ ให้เอนไซม์นั้นทำ งานได้ดีขึ้น เรียกสารที่มาจับว่า ตัวเร่งแบบแอลโลสเตอริก (allosteric activator)
เอนไซม์สามารถทำงานเร่งปฏิกิริยาเคมีได้ภายใต้สภาพอุณหภูมิ และความเป็นกรด-เบส (pH) ในระดับปานกลางของเซลล์ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความเป็นกรด – เบส ปริมาณสารเคมีบางชนิดที่มีผลทำ ให้โปรตีนเปลี่ยนแปลงรูปร่างไป จะมีผลต่อการทำ งานของเอนไซม์
ผลของอุณหภูมิ
-เอนไซม์สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ ช่วงอุณหภูมิเหมาะสมต่อการทำงานประมาณ 25–40OC แต่ที่ 45OCขึ้นไป เอนไซม์ซึ่งเป็นโปรตีนจะเสื่อมสภาพและเปลี่ยนรูปร่าง (denature) กล่าวคือ โมเลกุลเอนไซม์ที่ได้รับความร้อนจะคลายตัวเหยียดออก และแอกทีฟไซด์เปลี่ยน รูปร่างไป และทำงานไม่ได้
** เอนไซม์ของสาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงินที่อาศัยอยู่ได้ในนํ้าพุร้อน สามารถทนอุณหภูมิสูงถึง 90OC และทำ งานได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 72OC **
ผลของความเป็นกรด-เบส (pH)
- เอนไซม์ส่วนใหญ่ทำงานได้ดีที่ pH ประมาณ 7 ถ้า pH เปลี่ยนแปลงไปมากๆ เอนไซม์ก็จะเปลี่ยนสภาพ (denature) ไปได้
- เอนไซม์เร่งปฏิกิริยาย่อยอาหารบางชนิด เช่น เพปซิน เร่งปฏิกิริยาย่อยโปรตีนได้ดีที่ pH 1.5 – 2.5, ทริปซินที่ pH 7.5 – 8.5 เป็นต้น
ผลของความเข้มข้นของสารตั้งต้นและเอนไซม์
- เมื่อกำหนดให้อุณหภูมิ, pH, ปริมาณเอนไซม์คงที่ เมื่อเพิ่มปริมาณสารตั้งต้น กล่าวคือ การเพิ่มเอนไซม์ในระยะแรกจะทำ ให้อัตราเร็วของปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเอนไซม์มากเกินพอ ความเร็วของปฏิกิริยาจะไม่เพิ่มขึ้นอีก ทั้งนี้เพราะไม่มีสารตั้งต้นเหลือพอที่จะเข้าทำ ปฏิกิริยา
การเกิดปฏิกิริยาเคมีใด ๆ ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาที่สารตั้งต้น A เปลี่ยนแปลงเป็นสารผลิตภัณฑ์ P ต้องการพลังงานอิสระปริมาณหนึ่งใช้กระตุ้นให้มีการสลายและสร้างพันธะเคมีที่จะทำ ให้สาร A กลายเป็นสาร P พลังงานที่ต้องการใช้กระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาเคมี เรียกว่า พลังงานอิสระในการกระตุ้น (free energy of activation) โดยทั่วไปปฏิกิริยาเคมีสามารถเร่งให้เกิดเร็วขึ้นได้ 2 วิธี คือ
1. เพิ่มอุณหภูมิ มีผลทำให้โมเลกุลเคลื่อนไหวและพลังงานเพิ่มขึ้น
2. เติมคะตะลิสต์หรือตัวเร่งปฏิกิริยา มีผลทำให้ปฏิกิริยาต้องการพลังงานกระตุ้นลดตํ่ากว่าเดิม
กลไกการเร่งปฏิกิริยาของเอนไซม์ อธิบายได้ว่า
- โมเลกุลเอนไซม์ (E) จับชั่วคราวกับโมเลกุลสารตั้งต้น (S) เกิดสารประกอบเชิงซ้อน (enzyme-substrate complex หรือ ES)
- ในโครงสร้างของสาร ES โมเลกุลสารตั้งต้นอยู่ในสภาพดึงตึงหรือบิดเบี้ยว ซึ่งเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นผลิตภัณฑ์ (P) ได้ง่าย ดังนั้น สาร ES ต้องการพลังงานกระตุ้นในการเปลี่ยนแปลงเป็นสาร P ตํ่ากว่าที่สาร S ต้องการมาก
- สาร ES เปลี่ยนแปลงเป็นสาร P ได้รวดเร็ว พร้อมกับปล่อยโมเลกุลเอนไซม์เป็นอิสระในสภาพเดิม เอนไซม์สามารถจับกับสารตั้งต้นโมเลกุลใหม่เร่งปฏิกิริยาได้อีก
- ปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์เป็นตัวเร่ง นอกจากเปลี่ยนแปลงจากสาร S → P แล้ว เอนไซม์ยังสามารถเร่งปฏิกิริยาย้อนกลับ จากสาร S → P ได้ด้วย ดังนั้นปฏิกิริยาที่มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งจึงเขียนเป็นสมการที่มีหัวลูกศรทั้งไปและกลับได้ดังนี้
S + E --> ES --> P + E
เอนไซม์ (enzyme) คือ สารเร่งปฏิกิริยาชีวเคมีในเซลล์ หรือ ไบโอคะตะลิสต์ (biocatalyst) มีผลทำ ให้ปฏิกิริยาชีวเคมีเกิดขึ้นรวดเร็ว
โครงสร้างเอนไซม์
เอนไซม์เป็นโปรตีน อาจเป็นพอลิเพปไทด์สายเดียวหรือหลายสาย ซึ่งม้วนตัวเป็นทรงกลม เนื่องจากมีการจับกันระหว่างกลุ่มข้างของกรดอะมิโน และมีกลุ่มข้างบางกลุ่มเรียงตัวเป็นช่องหรือร่องที่มีลักษณะพิเศษ ทำหน้าที่เป็นบริเวณเร่งหรือแอกทีฟไซด์ (active site) ของเอนไซม์ ซึ่งจะจับกับโมเลกุลเฉพาะที่เข้ากันได้ และเกิดการเร่งปฏิกิริยาขึ้นซึ่งเป็น ความจำเพาะของเอนไซม์ต่อปฏิกิริยา และในปี พ.ศ. 2437 อีมิล ฟิเชอร์ (Emil Fischer) อธิบายความจำ เพาะของเอนไซม์โดยเปรียบเทียบกับแบบจำ ลองแม่กุญแจกับลูกกุญแจ (lock and key model) เอนไซม์เปรียบเป็นลูกกุญแจและสารตั้งต้นเป็นแม่กุญแจ
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)