กำเนิดเซลล์
กำเนิดเซลล์-->เกิดจากการทำปฏิกิริยากันของสารเคมีในทะเล เกิดเป็นสารประกอบพวกโปรตีน กรดอะมิโน และเอนไซม์ สะสมอยู่ในทะเล ต่อมาสารประกอบอินทรีย์รวมตัวกันเป็นโมเลกุลอินทรียสารขนาดใหญ่ (macromolecules)และวิวัฒนาการต่อไปจนเกิดเป็นโปรโตเซลล์ (Protocell)ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเซลล์
โครงสร้างพื้นฐานของเซลล์
เซลล์มีโครงสร้างพื้นฐาน 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้
(1) ส่วนที่ทำหน้าที่ห่อมหุ้ม ได้แก่ ผนังเซลล์ (Cell wall) เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)
(2) ไซโตพลาสซัม แบ่งเป็น ส่วนที่ไม่มีชีวิต (Cytoplasmic inclusion) และ ส่วนที่มีชีวิต (Organelle)
(3) นิวเคลียส ประกอบด้วย เยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear membrane) นิวคลีโอลัส (Nucleolus) และ สารพันธุกรรม
ประเภทของเซลล์
1. เซลล์โปรคาร์ริโอต (Prokaryotic cell)ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ไม่มีออร์แกเนลที่มีเยื่อหุ้ม มีไรโบโซมขนาด 70s และสารพันธุกรรมอยู่ในไซโทพลาสซึม
2. เซลล์ยูคาร์ริโอต (Eukaryotic cell)มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส มีทั้งออร์แกเนลที่มีเยื่อหุ้มและไม่มีเยื่อหุ้ม มีไรโซโซมขนาด 80s และสารพันธุกรรมอยู่ในนิวเคลียส
โครงสร้างพื้นฐานของเซลล์-เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane)
เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane / Plasma membrane)
- มีคุณสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน (Semipermeable membrane) ส่วนใหญ่เป็นสารพวกโปรตีนและไขมัน
- มีโครงสร้างแบบ fluid mosaic model ประกอบด้วย
>Phospholipid bilayer ไขมันพวกฟอสโฟลิพิดสองชั้น โดยหันส่วนที่ไม่ชอบน้ำ (Hydrophobic) ชนกันและหันส่วนที่ ชอบน้ำ (Hydrophilic) ออกข้างนอก
>Cholesterol (เพิ่มความแข็งแรงและยืดหยุ่น)
>Protein (ทำหน้าที่เป็นช่องทางลำเลียงสารเข้าออกเซลล์ ทำให้เซลล์เกาะติดกัน และเกี่ยวกับรูปร่างของเซลล์)
>Carbohydrate (ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเซลล์ ถ้าคาร์โบไฮเดรตจับกับโปรตีน เรียกว่า Glycoprotein หรือถ้าจับกับไขมันเรียกว่า Glycolipid)
หน้าที่ของเยื่อหุ้มเซลล์ คือ แยกเซลล์ออกจากสิ่งแวดล้อมรอบๆเซลล์ คัดเลือกสารที่จะผ่านเข้า-ออกจากเซลล์ และเป็นส่วนสำคัญสำหรับการติดต่อระหว่างเซลล์ด้วยกัน
ผนังเซลล์ (Cell wall)
- พบในพืช ฟังไจ สาหร่าย แบคทีเรีย แต่ไม่พบในเซลล์สัตว์
- เซลล์พืชมีผนังเซลล์ล้อมรอบเยื่อหุ้มเซลล์ มีหน้าที่ให้ความแข็งแรง ป้องกันอันตรายและ ช่วยให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ ผนังเซลล์พืชมี 2 ชั้น
>ผนังเซลล์ปฐมภูมิ (Primary cell wall) พบมากในเซลล์พืชที่กำลังเจริญเติบโต หรือเซลล์ที่มีชีวิต
>ผนังเซลล์ทุติยภูมิ (Secondary cell wall) เกิดภายหลังผนังเซลล์ปฐมภูมิ ถ้าพอกหนาขึ้นจะทำให้เซลล์ตาย เช่น ไฟเบอร์ และเวสเซล
- ระหว่างเซลล์พืชมีชั้นเชื่อมระหว่างเซลล์เรียกว่า Middle lamella (เกิดขณะมีกระบวนการแบ่งเซลล์) และระหว่างเซลล์พืชสองเซลล์มีช่องเล็กเปิดสู่เซลล์ที่ติดกัน เรียกว่า Plasmodesmata
- สารสำคัญในผนังเซลล์ของพืชและสาหร่าย ส่วนใหญ่ คือ เซลลูโลส (Cellulose) อาจมีลิกนิน และเพคติน ในแบคทีเรียและไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ประกอบด้วยสารพวก Peptidoglycan และในฟังไจเป็น Chitin
** เซลล์สัตว์ไม่มีผนังเซลล์แต่มีสารเคลือบเซลล์ล้อมรอบเยื่อหุ้มเซลล์ ส่วนใหญ่เป็นสารพวกโปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ คอลลาเจน อีลาสติน และไกลโคโปรตีน เป็นต้น การเชื่อม (Junctions) ของเซลล์สัตว์มี 3 รูปแบบ คือ Tight junctions, Desmosomes หรือ Anchoring junctions แบะGap junctions (คล้ายกับ Plasmodesmata ของพืช)
ไซโทซอล (Cytosol) / ไซโทพลาสมิค อินคลูชัน (Cytoplasmic inclusion) คือส่วนที่เป็นของเหลวในไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต เช่น น้ำ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน
จากภาพ เปรียบเทียบให้เห็นว่า ถ้ากล่าวถึง Cytoplasm หมายถึง ส่วนที่อยู่นอกนิวเคลียสทั้งหมด ทั้งของเหลวและของแข็ง แต่ถ้ากล่าวถึง Cytosol หมายถึง ส่วนของของเหลวที่อยู่ใน Cytoplasm เท่านั้น
ออร์แกเนลล์ (Organelle) – ส่วนที่มีชีวิตในไซโทพลาสซึม (Cytoplasm) โดยจะมีหน้าที่เฉพาะอย่างในเซลล์ จำแนกตามลักษณะการมีเยื่อหุ้ม ได้ดังนี้
(1) ไรโบโซม (Ribosome) ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีน ประกอบด้วยหน่วยย่อย (Subunit) สองหน่วย แต่ละหน่วยย่อยมีชนิดของ RNA ไรโบโซมกับโปรตีนที่แตกต่างกัน พบบริเวณเยื่อหุ้มนิวเคลียส (Nuclear membrane) บน RER (สร้างโปรตีนส่งออกนอกเซลล์ ) อยู่ใน Cytosol (สร้างโปรตีนใช้ในเซลล์) ใน Mitochondria และ Chloroplast (สร้างโปรตีนใช้เองใน Mitochondria และ Chloroplast ตามลำดับ )
- ใน Prokaryotic cell ไรโบโซมมีขนาด 70S หน่วยย่อยใหญ่ขนาด 50S และหน่วยย่อยเล็ก ขนาด 30S
- ใน Eukaryotic cell ไรโบโซมมีขนาด 80S หน่วยย่อยใหญ่ขนาด 60S และหน่วยย่อยเล็กขนาด 40S
** S = Svedberg unit of sedimentation coefficient ซึ่งเป็นค่าความเร็วในการตกตะกอน
http://virtuallaboratory.colorado.edu/Biofundamentals/lectureNotes/Topic3-5_Making%20Proteins.htm
(2) Cytoskeleton – เส้นใยโปรตีนซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดรูปร่างเซลล์ การเคลื่อนที่ทั้งของเซลล์และออร์แกเนลภายในเซลล์ การแบ่งเซลล์ มี 3 ชนิด โดยแต่ละชนิดมีขนาดและโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบต่างกัน
- ไมโครทูบูล (Microtubule) เกิดจากโปรตีน Tubulin มีลักษณะเป็นท่อกลวง พบในไซโทซอล (Cytosol) ใต้เยื่อหุ้มเซลล์ เป็นส่วนประกอบของ เซนทริโอล (Centriole) แบซอลบอดี (Basal body) เส้นใยสปินเดิล (Spindle fiber) ซีเลีย (Cilia) และแฟลกเจลลา (Flagella)
- Intermediate filament เกิดจากโปรตีนหลายชนิดขึ้นอยู่กับหน้าที่ เช่น โปรตีน Keratin พบใน ผม ขน เขา เป็นต้น Tonofilament เกิดจาก โปรตีน Cytokeratin ทำหน้าที่ต่อต้านต่อแรงกด พบที่เยื่อบุผิว
- ไมโครฟิลาเม้น (Microfilament) เกิดจากโปรตีนแอคติน (Actin) เกี่ยวข้องกับรูปร่างเซลล์ การหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยทำงานร่วมกับโปรตีน Myosin การไหลของไซโทพลาสซึม (Cyclosis) การยื่นเท้าเทียม (Pseudopodium) การแบ่งไซโทพลาซึมของสัตว์ (Cytokinesis)
(3) เซนทริโอล (Centriole) ประกอบด้วยไมโครทูบูล (Microtubule) อยู่กันเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 อัน (Triplet) จำนวน 9 กลุ่ม (9 triplets) เซนทริโอล สองอันวางตั้งฉากกัน เรียกว่า เซนโทรโซม (Centrosome) ทำหน้าที่สร้างเส้นใยสปินเดิ้ล (Spindle fiber) เพื่อยึดและดึงโครโมโซม พบในเซลล์สัตว์ โปรโตซัว ราบางชนิด แต่ไม่พบในพืชขั้นสูง (Higher plant) พวกไม้ดอกและ Gymnosperm และฟังไจส่วนใหญ่
ออร์แกเนลล์ (Organelle) ที่มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว
1. เอนโดพลาสมิค เรติคูลัม (Endoplasmic Reticulum-ER) --> Endoplasmic = ภายในไซโทพลาสซึม/Reticulum = ร่างแห , โดยกระจายเป็นร่างแหอยู่ในไซโทพลาสซึม และอาจเชื่อมต่อกับเยื่อหุ้มนิวเคลียสหรือเยื่อหุ้มเซลล์ แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ ชนิดขรุขระ (Rough Endoplasmic Reticulum-RER) มีไรโบโซมเกาะบนเยื่อหุ้ม ER และชนิดเรียบ (Smooth Endoplasmic Reticulum-SER) ไม่มีไรโบโซมเกาะบนเยื่อหุ้ม ER
1.1 Rough Endoplasmic Reticulum-RER เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน โดยโปรตีนที่สังเคราะห์ได้ถูกส่งเข้าสู่ช่องลูเมน (Lumen = ช่องว่างภายในท่อ/ถุง ER) และหลุดออกเป็นถุงเล็กๆ (Vesicle) เพื่อส่งต่อไปยัง Golgi complex นอกจากนั้นยังเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนโปรตีนเป็นไกลโคโปรตีน (โปรตีน + คาร์โบไฮเดรต) และสามารถขนส่งโปรตีนไปยังส่วนต่างๆในไซโทพลาสซึม หรือออกนอกเซลล์
1.2 Smooth Endoplasmic Reticulum-SER เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ ไขมัน ฟอสโฟลิพิด เสตียรอยด์ ฮอร์โมนเพศ และคอเลสเตอรอล เกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต และการกำจัดสารพิษ (Detoxification)
2. กอลจิ คอมเพล็กซ์ (Golgi Complex / Golgi body / Golgi apparatus) พบครั้งแรกโดย นายคามิลโล กอลจิ (Camillo Golgi) มีลักษณะเป็นถุงแบนเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ เรียกแต่ละถุงว่า ซิสเทอร์นี มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการหลั่งสาร (Secretion) ซึ่งเป็นสารที่สร้างจาก ER และมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมพร้อมที่จะปล่อยออกนอกเซลล์ ด้วยวิธี Exocytosis นอกจากนั้นยังทำหน้าที่เปลี่ยนเอนไซม์ในไลโซโซม (Lysosome) ให้พร้อมใช้งาน ทำหน้าที่สังเคราะห์สารพวกพอลีแซ๊กคาไรด์ ที่เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์และสารเคลือบเซลล์สัตว์ เกี่ยวข้องกับการสร้างเซลล์เพลท (Cell plate) ในกระบวนการแบ่งไซโทพลาซึม (Cytokinesis) ของเซลล์พืช
3. ไลโซโซม (Lysosome) ลักษณะเป็นถุงมีเยื่อหุ้มชั้นเดียวขนาด 0.1-1 ไมครอน ภายในบรรจุเอนไซม์ ย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน กรดนิวคลีอิค (พบเอนไซม์ประมาณ 60 ชนิด) ทำงานได้ดีที่สภาพเป็นกรด (pH ประมาณ 5) ทำหน้าที่ย่อยสารประกอบภายในเซลล์ อาหาร เชื้อโรคที่เข้าสู่เซลล์ ออร์แกเนลล์ที่อายุมาก (Autophagy) และย่อยเซลล์ตัวเอง (Autolysis) ซึ่งพบในช่วงที่มีการเจริญ เช่น การสร้างนิ้วมือ นิ้วเท้า ถ้าร่างกายขาดเอนไซม์ของไลโซโซมจะทำให้เกิดโรคพอมพี (Pompe’ disease) คือขาดเอนไซม์ย่อยไกลโคเจน จึงทำให้สะสมที่ตับและกล้ามเนื้อมากเกินไป
4. เพอรอกซิโซม (Peroxisome) เป็นถุงกลม รูปไข่ มีเยื่อหุ้มชั้นเดียว ภายในบรรจุเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึม เช่น Oxidase, Catalase ช่วยสลาย H2O2ซึ่งเป็นพิษ ให้กลายเป็น H2O + O2พบในเซลล์พืช ตับและไต เกี่ยวข้องกับเมแทบอลิซึมของไนโตรเจน ไขมัน พีวรีน เพอรอกซิโซมสามารถเพิ่มจำนวนได้คล้ายไมโตคอนเดรีย โดยมีการสร้างโปรตีนและไขมันที่สำคัญของเพอรอกซิโซมที่ไซโทซอลก่อน และสารเหล่านี้จะถูกส่งไปยังเพอรอกซิโซมกันเก่า เมื่อเพอรอกซิโซมกันเก่าโตเต็มที่ก็จะแบ่งจากหนึ่งเป็นสอง
5. แวคิวโอล (Vacuole) มีลักษณะเป็นถุง เยื่อหุ้มชั้นเดียว เรียกว่าเยื่อหุ้มว่า โทโนพลาสต์ (Tonoplast) ของเหลวในถุงเรียกว่า เซลล์แซพ (Cell sap) แวคิวโอลเกิดจากการหลุดขาดของ ER หรือ Golgi Complex มีหน้าที่หลากหลายโดยถ้ามีอาหารสะสมอยู่เรียกว่า Food vacuole ถ้าทำหน้าที่ในการรักษาสมดุลน้ำ (พบในโปรตีสน้ำจืด) เรียกว่า Contractile vacuole ในพืชมีแวคิวโอลขนาดใหญ่เกือบเต็มเซลล์ เรียกว่า Central vacuole มีหน้าที่สะสมสารต่างๆ
ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น
1.ไมโตคอนเดรีย (Mitochondria) มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น โดยเยื่อหุ้มชั้นในยื่นเข้าไป (เรียกว่า Cristae) ในช่องว่างภายในไมโตคอนเดรียซึ่งมีของเหลวอยู่ (เรียกว่า Matrix) ซึ่งบรรจุเอนไซม์สำหรับการหายใจระดับเซลล์, Ribosome (ขนาด 70s), DNA, RNA จึงสามารถสังเคราะห์โปรตีนและจำลองตัวเองโดยไม่ต้องอาศัยนิวเคลียส (Semiautonomous organelle) ไมโตคอนเดรียทำหน้าที่สร้างและสะสมสารพลังงานสูง (ATP = Adenosine triphosphate)
2. พลาสติด (Plastids) มี 3 ชนิด คือ
(1) Chloroplast พลาสติดสีเขียว มีรงควัตถุ (Pigment) ซึ่งสามารถจับพลังงานแสงและเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีได้ ทำหน้าที่ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) เยื้อหุ้มด้านในยื่นพับไปมาซ้อนกันเรียกทั้งหมดว่า Thylakoid membrane ซึ่งบนเยื่อหุ้ม Thylakoid จะมีสารสี/รงควัตถุ (Pigment) โดยเยื่อหุ้มนี้ซ้อนเป็นชั้นคล้ายเหรียญ เรียกว่า Granum แต่ละชั้นเชื่อมด้วย Stroma ซึ่งบรรจุเอนไซม์สำหรับสังเคราะห์ด้วยแสง, RNA, DNA และ Ribosome (70s) จำลองตัวเองได้เช่นเดียวกับไมโตคอนเดรีย
(2) Chromoplast เป็นพลาสติดสีอื่นๆ เช่น สีแดงในพริก
(3) Leucoplastเป็นพลาสติดสีขาว ทำหน้าที่เก็บแป้งที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง พบในเซลล์ในส่วนที่ใช้สะสมอาหารเช่น มันฝรั่ง มันเทศ
ทั้งไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ มีลักษณะบางประการคล้ายกับเซลล์โปรคาริโอต (แบคทีเรียและไซยาโนแบคทีเรย) คือ มีสารพันธุกรรม และRibosome (ขนาด 70s) ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ไมโตคอนเดรียและคลอโรพลาสต์เคยเป็น พวกเซลล์โปรคาริโอต แล้วเข้าไปอาศัยอยู่ในเซลล์ยูคาริโอต จนกลายเป็น Organelle ในเซลล์ยูคาริโอต เรียกว่า ทฤษฎี Endosymbiosis
นิวเคลียส (Nucleus) เป็นส่วนที่มีสารพันธุกรรมอยู่ มีหน้าที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิตและเมแทบอลิซึมที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้
การศึกษาเกี่ยวกับเซลล์
กาลิเลโอ (Galileo)
-->ต้นศตวรรษที่17กาลิเลโอได้ประดิษฐ์แว่นขยายขึ้นส่องดูสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ มีกำลังขยาย2-5เท่า
เจนเสน (ZachariasJanssen)
-->ค.ศ.1590-1591
พี่น้องตระกูลเจนเสน(ZachariasJanssenหรือHansJanssen)ชาวฮอลันดาได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์สำเร็จเป็นครั้งแรกซึ่งมีแว่นขยาย2อัน
โรเบิร์ต ฮุค (Robert Hooke)
-->ค.ศ.1665โรเบิร์ตฮุค(RobertHooke)ได้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงประมาณ270เท่าคือกล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์ประกอบ(compoundmicroscope)ซึ่งมีลำกล้องเพื่อป้องกันการรบกวนของแสงและมีที่ตั้งโดยไม่ต้องใช้มือถือเขาได้ใช้กล้องส่องดูโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตต่างๆมากมายและได้ตรวจโครงสร้างของชิ้นไม้คอร์กฝานบางๆด้วยมีดโกนพบว่าไม้คอร์กประกอบด้วยช่องขนาดเล็กมากมายเขาเรียกแต่ละช่องนั้นว่าเซลล์ซึ่งแปลว่าห้องว่าง(emptyroom=cell)เซลล์ไม้คอร์กที่โรเบิร์ตฮุคพบนี้เป็นเซลล์ที่ตายแล้วแต่ยังคงรูปร่างเป็นช่องอยู่ได้เพราะมีผนังเซลล์(cellwall)ที่แข็งแรงซึ่งประกอบด้วยสารเซลลูโลสและซูเบอรินเป็นจำนวนมากโรเบิร์ตฮุคจึงเป็นคนแรกที่นำคำว่า"เซลล์"มาใช้ในทางชีววิทยา
ลิวเวนฮอค(Antony Van Leeuwenhoek)
-->ค.ศ.1672แอนโทนีวานลิวเวนฮอค(AntonieVanleeuwenhoek)ชาวฮอลันดาได้ดัดแปลงแว่นขยายเป็นกล้องจุลทรรศน์ชนิดเลนส์เดียว(Singlemicroscope)ขนาดเล็กที่กำลังขยายสูงกว่าแว่นขยายธรรมดาเขาใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจดูหยดน้ำจากบึง,แม่น้ำ และจากน้ำฝนที่รองไว้ในหม้อ เห็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆมากมายนอกจากนั้นเขายังส่องดูสิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น เม็ดเลือดแดง,เซลล์สืบพันธุ์สัตว์ตัวผู้,กล้ามเนื้อ เป็นต้น เมื่อเขาพบสิ่งเหล่านี้ เขารายงานไปยังราชสมาคมแห่งกรุงลอนดอน จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์และเป็นบุคคลแรกที่เห็นสิ่งมีชีวิตเล็กๆมากมายซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นสัตว์เพราะเคลื่อนที่ได้เรียกว่าAnimalculesโดยได้รับการยกย่องเป็นบุคคลแรกที่พบจุลินทรีย์
โรเบิร์ต บราวน์ (Robert Brown)
-->ค.ศ 1831โรเบิร์ตบราวน์ (RobertBrown)นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษศึกษาพบว่าเซลล์พืชที่มีชีวิตจะมีก้อนกลมขนาดเล็กบรรจุอยู่ภายในเขาได้เรียกก้อนกลมนี้ว้านิวเคลียส(nucleus)
ชไลเดน (MatthiasjakobSchleiden)
-->ค.ศ.1838 ชไลเดน (MatthiasjacobSchleiden) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันศึกษาเนื้อเยื่อพืชชนิดต่างๆและสรุปว่าเนื้อเยื่อพืชทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์
ชวานน์ (TheodorSchwann)
-->ค.ศ.1839 ชวานน์ (TheodorSchwann) นักสัตววิทยาชาวเยอรมันได้ศึกษาเนื้อเยื่อของสัตว์และสรุปว่าเนื้อเยื่อทุกชนิดประกอบด้วยเซลล์
ค.ศ.1839 ชไลเดนและชวานน์ได้ร่วมกันตั้ง"ทฤษฎีเซลล์(CellTheory)"ขึ้นมีใจความสำคัญว่า"สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์"
ปัวร์กินเจ (Johannes Purkinje)
-->ค.ศ.1839ปัวร์กินเจ (JohannesPurkinje) นักสัตววิทยาชาวเชคโกสโลวาเกียศึกษาไข่และตัวอ่อนของสัตว์ชนิดต่างๆพบว่าภายในไข่มีของเหลวใสเหนียวและอ่อนนุ่มคล้ายวุ้นเรียกของเหลวใสนี้ว่า"โพรโทพลาสซึม (Protoplasm)"
รูดอล์ฟวีร์โชว์(RudolfVirchow)
-->ค.ศ.1855รูดอล์ฟวีร์โชว์(RudolfVirchow)ชาวเยอรมันพบว่าเซลล์จะมีการเจริญเติบโตโดยการแบ่งเซลล์จากหนึ่งเซลล์เป็นสองเซลล์จึงให้เพิ่มทฤษฎีเซลล์ว่า"เซลล์ทุกเซลล์มีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีอยู่ก่อน"
เฟลมมิง(Walther Flemming)
-->ค.ศ.1880เฟลมมิง(Walther Flemming)ศึกษานิวเคลียสของเซลล์พบว่าประกอบด้วยโครโมโซม(chromosome)
MaxKnoll และ ResetRuska
-->ค.ศ1932MaxKnoll และ ResetRuskaได้คิดประดิษฐ์กล้องจุลทรรศน์อิเล็คตรอนขึ้นโดยใช้ลำแสงอิเล็คตรอนมีกำลังขยายสูงกว่ากล้องธรรมดาเป็นแสนเท่า(500000เท่า)
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)