logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ฟรุกโตส ภัยร้ายทำลายสุขภาพ

โดย :
สุนทร ตรีนันทวัน
เมื่อ :
วันอังคาร, 06 กันยายน 2559
Hits
128143

อาหารไทยขึ้นชื่อว่ามีรสชาติที่จัดจ้าน  ทั้งเปรี้ยว  เค็ม  เผ็ด  หวาน  เข้าไว้ด้วยกัน  ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภท ยำ  แกง  ต้น  ลาบ  ผัด  ทอด ฯลฯ  ที่เป็นรสชาติของอาหารที่โดดเด่นมากซึ่งเป็นที่ชื่นชอบก็คือ  รสหวาน ที่ได้จากน้ำตาลในรูปแบบต่าง ๆ  ทั้ง น้ำตาลทราย  น้ำตาลปึกจากต้นตาล หรือต้นมะพร้าว และคนเราก็จะชอบรสหวานมาก ๆ กินอร่อย ชื่นใจ  แต่นั่นคือโรคภัยจะถามหาในวันหนึ่งข้างหน้า

พฤติกรรมการกินอาหารของคนไทยเราในยุคปัจจุบัน  เรียกได้ว่ายึดติดอยู่กับความหวานหรือน้ำตาล  อาหารที่กินอยู่ในชีวิตประจำวันและในเครื่องดื่มทุกชนิด  จะมีรสหวานปนอยู่ด้วยเสมอ  ทำให้การบริโภคน้ำตาลของของคนไทยอยู่ในระดับสูงมาก  คือมากกว่า  20  ช้อนชาต่อวัน  ทำให้เราเป็นโรคเบาหวานกันตั้งแต่เด็ก ๆ เรียกว่าโรคเบาหวานเป็นโรคฮิตของคนไทย  และสถิติจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่าในคนไทยช่วงอายุ  15  ปีขึ้นไป  ทุก ๆ 100  คนจะเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน  7  คน

ภาพ  ก. นายแพทย์ สมบูรณ์   รุ่งพรชัย                  ภาพ ข. น้ำตาลทรายแดง  น้ำตาลทรายขาว  น้ำตาลทรายขาวชนิดซองละ 1.5  ช้อนชา

ขอบคุณ ภาพประกอบ   ก.     จาก  หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  วันจันทร์ ที่  11  มกราคม  2559

 

สมาพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ (International Diabetes Federation : IDF) ได้ประมาณการว่าปัจจุบันทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวาน  382  ล้านคน และคาดว่าในปี  พ.ศ. 2578 จะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นถึง  592  ล้านคน หรือใน  10  คนจะพบผู้ป่วยเบาหวาน 1 คน  สำหรับประเทศไทยในปี  พ.ศ.  2552  มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน  3.5 ล้านคน และเสียชีวิตจากสาเหตุโรคเบาหวาน เฉลี่ยวันละ  27  คน และคาดว่าในปี  พ.ศ.  2560  ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเบาหวานเพิ่มขึ้นถึง  4.7  ล้านคน    เป็นตัวเลขที่น่าตกตลึง  เพราะความน่ากลัวของโรคเบาหวาน  นำไปสู่โรคร้ายแรง อื่น ๆหรือโรค NCD เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคแต่เกิดจากวิถีการดำรงชีวิตของเราเอง ตามมาได้อีกหลายโรค     การรณรงค์ให้คนเราตระหนักเกี่ยวกับภัยจากโรคเบาหวานจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ที่ร้ายแรงมากยิ่งขึ้นน้ำตาลที่เรียกว่า ฟรุกโตส ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นวายร้ายทำลายสุขภาพของคนเรา  นายแพทย์  สมบูรณ์  รุ่งพรชัย    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย  ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์ (Vitallife Wellness Center)  ในเครือโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ ได้กล่าวในบทความเรื่อง สารให้ความหวาน  มหันตภัยทำลายสุขภาพ  ผ่านทางหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 11 มกราคม 2559 หน้า 21 ว่า  เราควรเลือกรับประทานน้ำตาลชนิดที่มีประโยชน์  เพราะน้ำตาลแต่ละชนิดนั้นให้ผลไม่เหมือนกัน เช่น

กลูโคส (Glucose)  เป็นน้ำตาลที่ร่างกายสร้างขึ้นเองตามธรรมชาติโดยสังเคราะห์ขึ้นที่ตับ  จากการเปลี่ยนพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากอาหารเช่น ข้าว  ได้กลูโคส  และกลูโคสก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่ตับและจะถูกส่งต่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  กลูโคสเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นแหล่งพลังงานหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง

ฟรุกโตส (Fructose)  เป็นน้ำตาลอีกประเภทหนึ่งที่พบในผักและผลไม้ เป็นน้ำตาลที่เราเติมเข้าไปในเครื่องดื่ม  เช่น น้ำอัดลม  น้ำผลไม้กล่อง  เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจากน้ำตาลกลูโคส เนื่องจาก ฟรุกโตส ไม่ได้สร้างพลังงานให้กับกล้ามเนื้อและสมองเลย  แต่จะส่งตรงไปที่ตับและสะสมเป็นไขมันพอกอยู่ที่ตับ

นอกจากนี้ นายแพทย์  สมบูรณ์  รุ่งพรชัย  ยังได้กล่าวว่า  ฟรุกโตส ยังไประงับการหลั่งของสาร อินซูลิน อีกด้วย จึงทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคที่เกิดจากการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกติ  เช่น โรคความดันสูง  น้ำตาลในเลือดสูง  โรคอ้วนลงพุง  ระดับคอเลสเตอรอลผิดปกติ  ซึ่งนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจและโรคเบาหวานตามมาอีกด้วย

น้ำเชื่อมที่มีฟรุกโตสสูง (Hight Fructose Corn Syrup – HFCS) ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วง พ.ศ.  2490  มีราคาถูก  โดยสกัดมาจากข้าวโพด   ซึ่งต่อมาน้ำเชื่อมนี้ก็ได้มีการใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วไป  ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มต่าง ๆ และอาหาร  เนื่องจากมีราคาถูกกว่าน้ำตาลทรายจากอ้อย  น้ำเชื่อมฟรุกโตสนี้ถือว่าเป็นมหันตภัยของความหวานอันดับแรก ๆ ที่เราควรหลีกเลี่ยง

เครื่องดื่มต่าง ๆ ที่จำหน่ายทั่วไปนั้น  กำลังกัดกร่อนสุขภาพของคนไทย  เพราะความหวานจากน้ำตาลที่เป็นส่วนผสมอยู่ในเครื่องดื่ม  เช่น ชาเขียวพร้อมดื่มในขวดหนึ่งมีน้ำตาลอยู่ถึง  12  ช้อนชา ในขณะที่องค์การอนามัยโลกให้ค่าบริโภคน้ำตาลของร่างกายที่เหมาะสมคือ  6  ช้อนชาหรือ  24  กรัมต่อวันเท่านั้นเอง

ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องดื่มต่าง ๆ เป็นที่นิยมของผู้บริโภคมาก  อุตสาหกรรมเหล่านี้จึงหันมาใช้ ฟรุกโตสไซรัป (Fructose Syrup)  ที่เราเรียกว่า  น้ำเชื่อมฟรุกโตส หรือ น้ำเชื่อมข้าวโพด เพราะให้ความหวานกว่าน้ำตาลทรายถึง  6  เท่า และอยู่ในรูปของเหลวจัดเก็บได้ง่าย  และราคาถูกกว่าน้ำตาลทราย  ประหยัดค่าขนส่ง  ทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้  ทุกวันนี้น้ำเชื่อมฟรุกโตสจึงถูกนำไปใช้แทนน้ำตาลในอุตสาหกรรมอาหาร ใช้เป็นส่วนประกอบอาหารแทบทุกชนิด  ตั้งแต่เครื่องดื่ม  ขนมขบเคี้ยว  คุกกี้  ไอสครีม ฯลฯ

การบริโภคน้ำเชื่อมฟรุกโตสในปริมาณที่สูงถึงร้อยละ  42 – 55  แสดงให้เห็นถึงปัญหาด้านสุขภาพเนื่องจากการบริโภคฟรุคโตสเป็นการทำลายระบบการทำงานของตับ และไประงับ ฮอร์โมนอิ่ม (Leptin hormone) ทำให้กินไม่รู้จักอิ่มและกินเกินความต้องการ และจากผลการวิจัยของสหรัฐอเมริกาพบว่า น้ำเชื่อมฟรุคโตสสูงเป็นพิษต่อร่างกายและสามารถทำลายระบบลำไส้ได้ด้วย

ดร. เนตรนภิส วัฒนสุชาติ   นักโภชนาการ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะนักวิชาการทำงานในเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน  ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  กล่าวว่า ฟรุกโตส เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดส่วนใหญ่จะพุ่งตรงไปที่ตับ และนำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับ ในวันหนึ่งถ้าเราบริโภคฟรุกโตสเกิน  6  ช้อนชาอยู่เป็นประจำ  ฟรุกโตสจะเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอร์ไรด์  คือไขมันสะสมอยู่ในกระแสเลือด  ซึ่งเป็นสาเหตุให้มีการสะสมไขมันในตับและบริเวณพุง  กลายเป็นโรคอ้วนตามมาด้วย

นายแพทย์ สันต์  ใจยอดศิลป์ ซึ่งเคยเป็นแพทย์ผ่าตัดหัวใจ อยู่  20  ปี เป็นแพทย์ผ่าตัดหัวใจที่ Greelane Hospital , Ackland , New Zealand   เป็นแพทย์ผ่าตัดหัวใจที่  Brigham & Women’s Hospital  เป็นโรงพยาบาลในเครือ Harvard  ที่เมือง บอสตัน  สหรัฐอเมริกา   เป็นแพทย์ผ่าตัดหัวใจที่โรงพยาบาลราชวิถี  กรุงเทพฯ   เป็นกรรมการสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย อยู่หลายสมัย และเคยทำงานบริหารเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลพญาไท 2 อยู่เป็นเวลา 6 ปี ฯลฯ ยังได้อธิบายเรื่องนี้ว่า ฟรุกโตสที่เหลือใช้จะถูกนำไปเก็บที่ตับในรูปของไขมัน  ถ้ามีมาก ๆ ก็จะเกิดภาวะไขมันแทรกตับ ถ้าแทรกมาก ๆ เซลล์ตับก็จะแตกเสียหายเป็นตับอักเสบ  ตับก็จะพยายามซ่อมด้วยการแทรกพังผืดเข้าทำให้กลายเป็นตับแข็ง  และภาวะตับแข็งนี้จะนำไปสู่การเป็นมะเร็งตับได้  การบริโภคน้ำเชื่อมฟรุกโตสมากเกินไปก็ทำให้เกิดผลเสียได้

ทันตแพทย์ หญิง  ปิยดา  ประเสริฐสม ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ  ผู้จัดการเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้กล่าว  ฟรุกโตสทำให้คนอิ่มไม่เป็น  เช่นเวลาหิว น้ำตาลในกระแสเลือดจะลด  สมองก็จะบอกว่าขาดอาหารแล้ว และเมื่อกินจนอิ่ม  น้ำตาลในกระแสเลือด จะเริ่มขึ้นเป็นปกติ จึงส่งสัญญาณไปที่สมองว่าอิ่มแล้ว  ฮอร์โมนหิว (Ghrelin hormone)  ก็จะหยุดหลั่ง เราจะกินน้อยลง  แต่สำหรับฟรุกโตสไม่เกิดกลไกนี้  เพราะย่อยไม่ได้ในลำไส้ปกติ  ร่างกายจึงนำไปเก็บไว้ที่ตับ     น้ำตาลในกระแสเลือดจึงขึ้นช้ามาก   เราก็กินอาหารเข้าไปมากและบ่อย      นั่นคือฟรุกโตสทำให้เราอร่อยแต่ไม่อิ่ม

ความหวานของน้ำตาลฟรุกโตสคือความล้ำสมัยในอุตสาหกรรมอาหาร  แต่มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนเรามากมายตามมา  เมื่อเลี่ยงได้ก็ควรจะเลี่ยงหรือดื่มเครื่องดื่มแต่น้อย ๆ เพื่อสุขภาพของเรา ครับ

………………………

สุนทร   ตรีนันทวัน

ฝ่ายนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้  สสวท.

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

ข้อมูลอ้างอิง

 

1. สารให้ความหวาน  มหันตภัยทำลายสุขภาพ    หนังสือพิมพ์เดลินิวส์  วันจันทร์ที่  11  มกราคม  พ.ศ. 2559  หน้า   21

2. ข้องใจเรื่องน้ำตาลฟรุกโตส (Fructose)     (Online)   เข้าถึงได้จาก   http://visitdrsant.blogspot.com/

2015/06/fructose.html     สืบค้น    11/01/2559

3. ฟรุกโตส  หวานทันสมัย สารภัยในชาเขียวพร้อมดื่ม     (Online)          เข้าถึงได้จาก   http://www.

dailynews.co.th/article/309463        สืบค้น      24/01/2559

4. มหันตภัยจากความหวาน  อาจทำลายระบบลำไส้    (Online)   http://m.prachachat.net/news_detail.

php?newsid=1451965584      สืบค้น    24/01/2559

5. กลูโคส  ฟรุกโตส  ซูโครส  ใครแสบที่สุด     (Online)    เข้าถึงได้จาก    http://blog.fitforfun.com/

2015/1596          สืบค้น      24/01/2559

6. ฟรุกโตส   หวานทันสมัย  สารพัดภัยในเครื่องดื่ม    (Online)    เข้าถึงได้จากhttp://healthinfo.in.th/

hiso5/healhy/news.php?names=13&news_id=7317    สืบค้น     24/01/2559

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ฟรุกโตส, ภัยร้าย,ทำลาย,สุขภาพ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 06 กันยายน 2559
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุนทร ตรีนันทวัน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
อื่น ๆ
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 4811 ฟรุกโตส ภัยร้ายทำลายสุขภาพ /article/item/4811-2016-07-13-02-56-53
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)