logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

Andrei A. Sakharov ผู้สร้างระเบิดไฮโดรเจนของรัสเซีย และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

โดย :
ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
เมื่อ :
วันอังคาร, 29 มีนาคม 2565
Hits
1194

            เมื่อรัสเซียกายใต้การปกครองของจอมเผด็จการสตาลิน (Stalin) ทดลองระเบิดไฮโดรเจนได้สำเร็จเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1953 Andrei A. Sakharov ก็ได้รับการยกย่องและคำชื่นชมว่าเขาคือบิดาของระเบิดไฮโดรเจน แต่ชาคารอฟไม่ได้รู้สึกภูมิใจหรือดีใจ ดังในสมุดบันทึกที่เขาเขียนว่า ได้เห็นฝูงนกพยายามบินหนีระเบิดแต่ไม่ทัน จึงตกลงมาตายในสภาพตาบอดและขนไหม้เกรียม

Sakharov 01

ภาพที่ 1 Andrei A. Sakharov

            หลังจากนั้นรัสเซียได้ทุ่มเทความพยายาม เพื่อพัฒนาระเบิดไฮเตรเจนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่เหตุการณ์ฝูงนกเสียชีวิตเพราะถูกไฟประลัยกัลป์เผาทั้งเป็นก็ยังตราตรึงในความทรงจำของซาคารอฟตลอดมา ครั้นเมื่อเขาตระหนักว่าตนไม่มีอำนาจใด ๆ จะยับยั้งรัสเซียไม่ให้สร้างอาวุธที่เขาเนรมิตได้เขาจึงปรับเปลี่ยนทัศนคดีไปเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนอีก 22 ปีต่อมา ซาคารอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 1975 เหตุการณ์ทั้งสองนี้แสดงให้เห็นความขัดแย้งในบุคคลคนเดียวกัน อย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้

            ซาคารอฟเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1921 ที่กรุงมอสโก (Moscow) ประเทศรัสเซีย บิดาเป็นครูสอนฟิสิกส์ ซึ่งชอบใช้เวลาว่างเขียนบทความวิทยาศาสตร์ให้คนทั่วไปอ่านและโปรดปรานดนตรีคลาสสิก เพราะพ่อแม่เป็นคนได้รับการศึกษา ซาคารอฟจึงเป็นคนชอบทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ แต่ในเวลาเดียวกันก็เป็นคนที่มีอารมณ์อ่อนไหวหลังจากที่ซาคารอฟจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา เมื่ออายุ 17 ปี เขาได้ไปเรียนฟิสิกส์ระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยมอสโก

            ในเวลานั้นกองทัพนาซีของเยอรมนีกำลังเรืองอำนาจและกำลังคุกคามนานาประเทศในยุโรป ด้วยการบุกรัสเชียบรรดาหนุ่มรัสเซียจึงถูกกองทัพเกณฑ์ไปเป็นทหาร ซาคารอฟซึ่งกำลังป่วยเป็นโรคหัวใจระยะเริ่มต้นได้สมัครเป็นทหารด้วยเพราะรักชาติมาก แต่ถูกกองทัพปฏิเสธ ทำให้ต้องกลับไปเรียนที่มหาวิทยาลัยจนสำเร็จปริญญาตรีในวัย 21 ปี และได้ประกาศเจตนาว่า ไม่ต้องการเรียนต่อ เพราะต้องการเป็นทหารรับใช้ชาติในสงครามมากกว่า จึงไปทำงานเป็นวิศวกรในโรงงานสร้างอาวุธที่เมืองอัลยานอฟ (Ulyanovsk) โดยมีหน้าที่ทดสอบความแข็งแกร่งของกระสุนปืน

            ขณะปฏิบัติงานซาคารอฟได้พบ คลาวา วิคิเรวา (Kava Vikhireva) ทั้งสองได้แต่งงานกัน ในเวลานั้นซาคารอฟมีอายุ 22 ปี และยังสนใจฟิสิกส์เหมือนเดิม โดยได้พยายามทำโจทย์ฟิสิกส์ที่ยากในยามว่างแล้วส่งคำตอบไปให้บิดาใช้ในการสอนพิเศษ

            เมื่อบิดาอ่านโจทย์ และเห็นวิธีแก้ปัญหาของลูกชายก็รู้สึกประทับใจมาก จึงนำผลงานเหล่านั้นไปให้ อิกอร์ แทมม์ (Igor Tamm) อ่าน (แทมม์เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ปี ค.ศ. 1958 ผู้มีส่วนในการอธิบายการเกิดรังสีเซอเรนคอฟ (Cerenkov) ซึ่งเป็นรังสีที่อนุภาคเปล่งออกมาเวลาเคลื่อนที่ในตัวกลางด้วยความเร็วที่สูงกว่าความเร็วแสงในตัวกลางนั้น เมื่อแทมม์ได้อ่านและเห็นวิธีคิดของซาคารอฟ รู้สึกประทับใจในความสามารถของคนเขียนมากจึงชักชวนให้เรียนต่อระดับปริญญาเอก โดยสัญญาจะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้

            เดือนสิงหาคมปี คศ. 1945 ซาคารอฟรู้ข่าวสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรซิมา (Hirshima) และนางาซากิ (Nagasak) ในญี่ปุ่น ซาคารอฟจึงสนใจจะทำวิจัยเรื่องฟิชชัน (ission) (ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่นิวเคลียสของธาตุหนัก เช่น ยูเรเนียม (Uranium) และพลูโตเนียม (Plutonium) แยกตัวเวลารับอนุภาคนิวตรอนเข้าไป แล้วปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา เพื่อสร้างระเบิดปรมาณูให้รัสเซียบ้าง

            ทั้ง ๆ ที่ในเวลานั้น ซาคารอฟกำลังวิจัยเรื่องเทคโนโลยีการค้นหาเรือดำน้ำ แต่ก็สามารถเบนความสนใจจากเรือดำน้ำไปเป็นฟิสิกส์นิวเคลียร์ได้ในทันที และคิดว่าถ้าเป็นไปได้จะสร้างระเบิดปรมาณูให้มีพลังในการทำลายล้างยิ่งกว่าระเบิดปรมาณูของอเมริกา โดยการใช้ปฏิกิริยาฟิชขัน(ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่มีการหลอมรวมนิวเคลียสของธาตุเบาสองนิวเคลียสเข้าด้วยกัน) เพราะกระบวนการนี้สามารถปล่อยพลังงานออกมาได้มากกว่าฟิชขัน

            ซาคารอฟได้ศึกษาพบว่า ถ้าใช้อะตอมไฮโดรเจน(ที่มีโปรตอน และอิเล็กตรอนอย่างละ 1 อนุภาศ) สองอะตอมมาหลอมรวมกัน ปฏิกิริยาฟิวขันจะเกิดขึ้นยาก แต่ถ้าใช้อะตอมที่มีโปรตอน 1 อนุภาค และอนุภาคมิวออน (muon) 1 อนุภาค เมื่อนำอะตอมชนิดใหม่มาหลอมรวมกัน ปฏิกิริยาฟิชซันจะเกิดได้ง่ายกว่า เพราะะตอมชนิดใหม่มีขนาดเล็กกว่าอะตอมไฮโดรเจน ความคิดนี้ทำให้ซาคารอฟได้รับเชิญเข้าร่วมโครงการผลิตระเบิดปรมาณูของรัสเซีย แต่ซาคารอฟตอบปฏิเสธ เพราะไม่ประสงค์จะให้ตนเป็นเครื่องมือของนักการเมือง

            ในปี คศ.1948 แทมม์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโครงการสร้างระเบิดไฮโดรเจน โดยการนำอะตอมติวเทอเรียม (deuterium) มาหลอมรวมกับอะตอมทริเทียม (titum) เขาจึงเริ่มหาทีมทำงาน และได้ยาคอฟ เซลโดวิช (Yakov Ze'dovich) มาร่วมกันสร้างระเบิดไฮโดรเจนภายใต้บังคับบัญชาของแทมม์เซลโดวิชจึงเสนอความคิดให้สร้างระเบิดปรมาณูขนาดเล็กก่อน แล้วให้พลังงานมหาศาลที่เกิดจากการระเบิดบีบอัดนิวเคลียสของธาตุเบาสองนิวเคลียสให้รวมกัน เพราะแรงอัดสามารถชนะแรงผลักไฟฟ้าระหว่างประจุบวกของนิวเคลียสได้ปฏิกิริยาฟิวชันก็จะเกิด แล้วรัสเซียก็มีระเบิดไฮโดรเจนทันที

            ซาคารอฟไม่ศรัทธาแนวคิดนี้นัก จึงเสนอวิธีใหม่ในการสร้างระเบิดไฮโดรเจน โดยให้แกนกลางของระเบิดไฮโดรเจนที่จะสร้างเป็นระเบิดปรมาณูขนาดเล็กและมีทรงกลมกลวงซ้อนกันหลายชั้นซึ่งทรงกลมเหล่านี้ทำด้วยติวทีเรียมและยูเรเนียมเรียงสลับกันเป็นชั้น ๆ เมื่อปฏิกิริยานิวเคลียร์อุบัติ พลังงานที่ถูกปล่อยออกมาจะบีบอัดดิวทีเรียมในทรงกลมกลวงให้ปล่อย neutron ออกมาไปทำปฏิกิริยาฟิชชันในยูเรเนียม ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาในที่สุด

            ในเดือนมีนาคม ค.ศ.1950 ซาคารอฟกับแทมม์ได้เดินทางไปเมืองซารอฟ (Sarov  ที่อยู่ห่างจาก Moscow ประมาณ 500 กิโลเมตร เพื่อสร้างระเบิด เพราะงานชิ้นนี้เป็นเรื่องราชการลับ ชื่อซารอฟจึงไม่ปรากฏบนแผนที่มีแต่รหัสว่า อาซามาส -16 (Arzamas-16)  ทั้งสองได้ทุ่มเทความสามารถพัฒนาระเบิดฮใดรเจนของรัสเซียจนเป็นผลสำเร็จ การทดลองที่เซมิพาลาทินส์ (Semipalatinsk) ในไซบีเรีย (Siberia) แสดงให้เห็นว่า ระเบิดไฮโดรเจนของรัสเซียมีพลังประมาณ 20 เท่าของระเบิดปรมาณูที่ทำลายเมืองฮิโรซิม่า

 

Sakharov 02

ภาพที่ 2 อาซามาส -16 (Arzamas-16) 

 

            เมื่อนักอุตุนิยมวิทยารัสเชียตรวจพบว่า ฝุ่นกัมมันตรังสีที่เกิดหลังการทดลองเป็นอันตรายถึงชีวิตซาคารอฟจึงเสนอให้สถานที่ทดลองระเบิดครั้งต่อไปอยู่ไกลจากบริเวณอาศัยของผู้คน และขอให้กองทัพทดลองระเบิดไฮโดรเจนในสถานที่ ๆ กำหนดเท่านั้น ถ้อยแถลงนี้ได้รับการตอบโต้จากนายพลมิโทรแฟน เนเดเลน (Mitrofan Nedelen) ว่า หน้าที่นักวิทยาศาสตร์คือสร้างระเบิด ส่วนหน้าที่ใช้ระเบิดเป็นของทหาร

            หลังจากนั้นไม่นานซาคารอฟได้รับเลือกเป็นสมาชิกของสถาบัน Soviet Academy of Sciences ซึ่งมีเกียรติทัดเทียมกับสมาคม Royal Society ของอังกฤษ ขณะนั้นเขามีอายุเพียง 32 ปี เขาจึงเป็นนักฟิสิกส์อายุน้อยที่สุดของสถาบัน อีกทั้งยังได้รับรางวัลสตาลิน (Stalin) ในฐานะวีรบุรุษของชาติด้วย ถึงอย่างไรก็ตามซาคารอฟก็ยังกังวลเรื่องภัยกัมมันตรังสี เพราะคิดว่า รังสีสามารถทำให้เซลล์ของสิ่งมีชีวิตกลายพันธุ์ได้ นั่นคือ คนที่รับกัมมันตรังสีมีโอกาสเป็นมะเร็งแต่เขาก็รู้ว่ามันเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์ว่าการเกิดมะเร็งในคนมีสาเหตุจากกัมมันตรังสีเพียงอย่างเดียว

            ซาคารอฟได้ขอให้อิกอร์ คูซาทอฟ (Igor Kurchatov) ซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยวิจัยนิวเคลียร์ของรัสเซียเข้าพบนายกรัฐมนตรีครูสเซฟ (Khruschev) เพื่อแจ้งให้ทราบว่านักฟิสิกส์รัสเซียสามารถจำลองสถานการณ์การระเบิดปรมาณูและไฮโดรเจนได้ด้วยคอมพิวเตอร์แล้ว ดังนั้นรัสเซียจึงไม่จำเป็นต้องทดลองจริง แต่ครูสเชฟไม่เห็นด้วย และบอกซาคารอฟว่า ห้ามเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง ถ้ายังไม่เข้าใจธรรมชาติของการเมือง ในปี ค.ศ.1962 รัสเซียจึงได้ทดลองระเบิดนิวเคลียร์อีก 2 ลูก ท่ามกลางเสียงคัดค้านของซาคารอฟ อีกหนึ่งปีต่อมาซาคารอฟจึงรู้สึกประหลาดใจมากที่รู้ว่าบรรดาประเทศมหาอำนาจของโลกได้ลงนามในสนธิสัญญาจำกัดการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในบรรยากาศ

            ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1967 ซาคารอฟ ได้เขียนบทความเรื่อง Reelections on Progress, Peaceful Coexistence and Intellectual Freedom ให้ผู้อำนวยการกองสอบสวนลับของรัสเซีย (KGB) อ่าน โดยชี้ให้เห็นภัยที่จะเกิดต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตถ้าเกิดสงครามนิวเคลียร์ เขายังได้กล่าวถึง เสรีภาพทางความคิดว่าจะทำให้ประเทศชาติมั่นคง

            ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1968 ซาคารอฟได้เขียนแนวคิดเรื่องการสร้างสันติภาพให้นายกรัฐมนตรีรัสเซีย เลโอนิด เบรสเนฟ (Leonid Bezhne) อ่าน บทความได้ถูกนำไปเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ BBC และในหนังสือพิมพ์ The New York Times ผลที่ตามมาคือ ซาคารอฟ ถูกขังคุกที่มอสโกและถูกห้ามไม่ให้ไปเยือนเมืองซารอฟ เพราะทางการเกรงว่าซาคารอฟจะมาสอดแนมเรื่องระเบิดปรมาณูที่เป็นความลับสุดยอดของชาติ

            ในปี  ค.ศ. 1975 ซาคารอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ แต่รัฐบาลรัสเซียไม่อนุญาตให้เดินทางไปรับรางวัลที่ออสโล (Oslo) ในนอร์เวย์ ดังนั้น ภรรยาจึงต้องอ่านคำปราศรัยและคำขอบคุณของซาคารอฟในพิธีรับรางวัลแทน

            ในปี ค.ศ.1984 เมื่อภรรยาล้มป่วยเป็นโรคหัวใจและไม่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปรับการผ่าตัดที่อเมริกาซาคารอฟจึงประท้วงโดยการอดอาหาร จนล้มป่วยเข้าโรงพยาบาลอีกหนึ่งปีต่อมาภรรยาก็ได้รับอนุญาตให้ไปรักษาตัวที่อเมริกาและเดินทางกลับในปี ค.ศ. 1986

            ในเดือนธันวาคม คศ. 1986 นายกรัฐมนตรีมิกคาอิล กอร์บาเซฟ (Mikhail Gorbachev) อนุญาตให้ซาคารอฟและครอบครัวเดินทางกลับมอสโกได้ และซาคารอฟได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัสเซียเป็นครั้งแรก

            ในวันที่ 14 ธันวาคม ปี คศ. 1989 ขณะเวลา 3 ทุ่ม ภรรยาได้เห็นซาคารอฟวัย 68 ปี เตรียมบทความที่จะบรรยายในที่ประชุมสภาผู้แทนฯ อีก 2 ชั่วโมงต่อมา เธอก็พบว่าเขานอนสิ้นใจบนพื้นในห้องพัก ศพถูกนำไปฝังที่สุสานในมอสโค

            ทุกวันนี้ที่รัสเซียมีถนนชื่อ Sakharov Avenue พิพิธภัณฑ์ Sakharov และที่กรุงเยลูซาเล็ม (Jerusalem)ในอิสราเอล (Israel) มีจัตุรัส Sakharov ฯลฯ

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

บรรณานุกรม

Lourie, Richard. (1990). Andrei Sakharov: Memairs. Alfred A. Knorf.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ระเบิดไฮโดรเจน, รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ, ปฎิกิริยาฟิวชั่น, ปฏิกิริยาฟิชชั่น
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12575 Andrei A. Sakharov ผู้สร้างระเบิดไฮโดรเจนของรัสเซีย และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ /article/item/12575-2022-02-15-07-00-17-2-2
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ปฏิกิริยาฟิชชั่น ปฎิกิริยาฟิวชั่น รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ระเบิดไฮโดรเจน
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)