logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ภาษาไพทอนกับการจัดการเรียนรู้

โดย :
ทัศนีย์ กรองทอง
เมื่อ :
วันอังคาร, 22 มีนาคม 2565
Hits
4598

            สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนที่เน้นการคิดวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา โดยได้พัฒนาหลักสูตรด้านการโปรแกรมหลายหลักสูตร เช่น ภาษาโลโก ภาษาซี ภาษาจาวา เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบัน สสวท. จึงได้พัฒนาหลักสูตรด้านการโปรแกรมขึ้นอีกหนึ่งหลักสูตร คือ ภาษาไพทอน โดยกำหนดให้อยู่ในรายวิชาเพิ่มเติมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภาษาไพทอน สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 รายวิชานี้ เป็นวิชาเลือกให้สถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้องที่ต้องการเรียนรู้ด้านการโปรแกรม ใช้ส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการแก้ปัญหา และสามารถพัฒนางานที่เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้

Pyhon 01

รูปที่ 1 ข้อมูลการจัดอันตับความนิยมจากเว็บไซต์
ที่มา http://www.tiobe.com/index.php/content/paperinfo/tpci/index.html

            ภาษาไพทอนเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงและเป็นซอฟต์แวร์รหัสเปิด (open source software) ซึ่งเริ่มมีการนำมาใช้งานในปี พ.ศ. 2532 และพัฒนาโดยนายกุยโด แวน โรสซัม (Guido Van Rossum) ซึ่งเป็นนักเขียนโปรแกรมชาวเนเธอร์แลนด์ ปัจจุบันนายโรสซัมทำงานที่บริษัทตรอปบล๊อก (Dropbox) และเป็นผู้พัฒนาที่เก็บข้อมูลบนคลาว์ด ภาษาไพทอนได้รับการพัฒนามาจากภาษามอดูลา-3 (Modula-3) และภาษาเอบีซี (ABC) โดยใช้ชื่อตามรายการโทรทัศน์ซื่อ Monty Python ปัจจุบันภาษาไพทอนได้พัฒนาถึงรุ่น 3.5 แล้ว

            ภาษาไพทอนเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมจากคนใช้ทั่วโลก และมีกลุ่มผู้ใช้จำนวนมากที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือและตอบคำถามต่าง ๆ ข้อมูลเตือนมกราคม พ.ศ. 2559 จากเว็บไซต์ http://www.tiobe.com ได้มีการประมวลผลข้อมูลความนิยมของภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เช่น Google Bing Yahoo! Wikipedia Amazon YouTube ปรากฏว่าภาษาไพทอนได้รับความนิยมเป็นอันดับ 5

            ภาษาไพทอนสามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เช่น วินโดวส์ ลินุกซ์ และแมค เพราะรูปแบบคำสั่งในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอนไม่ซับซ้อนทำให้เขียนง่าย และส่งผลให้ผู้เขียนเข้าใจโปรแกรมได้ง่ายด้วย จึงเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเขียนโปรแกรมและผู้มีความเชี่ยวชาญที่ต้องการพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวันเนื่องจากมีไลบรารีหรือส่วนของโปรแกรมที่มีผู้พัฒนาไว้จำนวนมาก ทำให้ไม่ต้องเขียนโปรแกรมตั้งแต่เริ่มต้นอีกทั้งสามารถนำมาต่อยอดสร้างงานอื่นได้และใช้งานร่วมกับโปรแกรมที่เขียนขึ้นใหม่ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วภาษาไพทอนสามารถรองรับงานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี

 

ลักษณะการทำงานของภาษาไพทอน

            การแปลโปรแกรมภาษาไพทอนที่เขียนขึ้นเพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้เป็นแบบอินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)โดยแปลครั้งละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้นเมื่อเสร็จแล้วจึงแปลคำสั่งลำดับต่อไป ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์สำหรับช่วยในการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนจำนวนมากที่เรียกว่า ไอดีอี (Integrated Development Environment: IDE)ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือสำหรับแก้ไขซอร์สโค้ด เครื่องมือแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรม และเครื่องมือช่วยรันโปรแกรมทำให้การแปลโปรแกรมที่เขียนขึ้นทำได้สะดวก

            ไอดีอีภาษาไพทอนสามารถทำงานได้ทั้งในโหมดอิมมีเดียทและหมดสคริปต์ ซึ่งโหมดอิ่มมีเดียทเป็นการพิมพ์คำสั่งครั้งละคำสั่งแล้วตัวแปลภาษาไพทอนจะทำงานตามคำสั่งดังกล่าวทันที จึงเหมาะกับการรันคำสั่งสั้น ๆ แต่ถ้าเป็นงานขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนให้ใช้โหมดสคริปต์ซึ่งเป็นการพิมพ์คำสั่งหลายคำสั่งเก็บไว้เป็นไฟล์ก่อนเมื่อมีการสั่งทำงาน ตัวแปลภาษาไพทอนจะทำงานตามคำสั่งในโปรแกรมตั้งแต่ต้นจนถึงคำสั่งสุดท้าย ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเลือกใช้ไอดีอีได้ตามความถนัด ตัวอย่างไอดีอี เช่น WinPython, PyScripter

 

Pyhon 02

รูปที่ 2 หน้าต่าง Spyder ของไอดีอี่ WinPython และ หน้าต่าง PyScripter

 

ตัวอย่างงานที่สร้างจากภาษาไพทอน

            งานที่สร้างจากการเขียนโปรแกรมภาษาไพทอนมีหลากหลาย เช่น สื่อการสอน เกม งานศิลปะ ระบบเบื้องหลังในเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น http://www.pinterest.com/ , http://www.sixfeetup.com/blog/4-python-web-frameworks-compared , http://matplotlib.org/mpl_toolkits/mplot3d/tutorial.html

 

Pyhon 03

รูปที่ 3 ตัวอย่างงานที่สร้างจากภาษาไพทอน

 

การเรียนการสอนการโปรแกรมด้วยภาษาไพทอน

            สสวท. ได้ส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไพทอนในโรงเรียน โดยพัฒนาหนังสือเรียนประกอบการสอนรายวิชาเพิ่มเติม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารภาษาไพทอน เพื่อให้ผู้เรียนได้ความรู้ที่ครบถ้วนและทันสมัย ภายในเล่มมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การแนะนำไพทอนพื้นฐานการเขียนโปรแกรมไพทอน ฟังก์ชัน การทำงานแบบเงื่อนไขและวนซ้ำ ลิสต์ การใช้งานไฟล์และชนิดข้อมูลแบบดิสต์ การประยุกต์ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์และท้ายเล่มส่วนภาคผนวกจะแนะนำไอดีอีภาษาไพทอน

 

Pyhon 04

รูปที่ 4 ตัวอย่างหนังสือรายวิชาเพิ่มเติม เทศในโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ภาษาไพทอน

            นอกจากนี้ในแต่ละบทจะมีการจุดประกายผู้อ่านด้วยคำถาม "มุมนักคิด" และเสริมความรู้เพิ่มเติมใน "เกร็ดน่ารู้" และตอนท้ายของบทเรียนจะมีแบบฝึกหัดทั้งเป็นแบบเลือกตอบ และโจทย์สำหรับเขียนโปรแกรม เพื่อให้ผู้อ่านทบทวนเนื้อหาและฝึกเขียนโปรแกรม

 

Pyhon 05

รูปที่ 5 ตัวอย่างเกร็ดน่ารู้ และมุมนักคิด

            สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาภาษาไพทอนด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นครู นักเรียน หรือบุคคลทั่วไป สสวท. ได้พัฒนาระบบเรียนออนไลน์ภาษาไพทอน ระบบเรียนนี้ประกอบด้วยบทเรียนและแบบฝึกหัด โดยแบบฝึกหัดจะมีทั้งส่วนที่เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ เติมคำ และส่วนเขียนโปรแกรมผู้เรียนสามารถส่งคำตอบและโปรแกรมที่เขียนเข้าระบบเพื่อตรวจคำตอบได้ทันที

            นอกจากนี้ สสวท.ได้จัดทำชุดกิจกรรมการเรียนการสอนพร้อมสื่อประกอบการสอน ให้ครูผู้สอนใช้ประกอบการสอนในชั้นเรียน โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้จากระบบเรียนออนไลน์ชุดกิจกรรมประกอบด้วยกิจกรรมจำนวน 12 กิจกรรมมีสื่อประกอบ สำหรับการสอนจำนวน 40 ชั่วโมง

            เพื่อเพิ่มความท้าทายให้กับผู้เรียนผ่านระบบเรียนออนไลน์ ระบบจะมีส่วนของการเขียนโปรแกรมท้าทายเพิ่มเติมจากบทเรียน โดยจะมีการจัดลำตับความสามารถในการเขียนโปรแกรมของผู้เรียนด้วย สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถศึกษารายละเอียดและลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ http://ninjapy.programming.in.th/

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

 

บรรณานูกรม

Guido van Rossum. Retrieved January 8. 2015, from https://www.python.org/~guido/

History of Python. Retrieved January 8, 2015, from  

http://www.python-course.eu/python3_history_and_philosophy.php

Python 3.x Docs. Retrieved August 19, 2015, from http://www.python.org/doc/

Python Documentation. Retrieved August 19. 2015, from http://www.python.org/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคนโส.. (2558). หนังสือเรียนรายวิชาเพิ่มเติมเทคในโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร

ภาษาไพทอน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การค้า สกสค.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ภาษาไพทอน, การเขียนโปรแกรม
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ทัศนีย์ กรองทอง
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12574 ภาษาไพทอนกับการจัดการเรียนรู้ /article/item/12574-2022-02-15-07-00-17-2
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    การเขียนโปรแกรม ภาษาไพทอน
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)