logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

สงครามเย็นทางเทคโนโลยี ตอนที่ 1

โดย :
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
เมื่อ :
วันศุกร์, 14 มิถุนายน 2562
Hits
18273

          หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า สงครามเย็น (Cold War) ซึ่งอาจมองกันในแง่มุมที่ว่า เป็นสถานะการสู้รบหรือความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น สงครามเย็นดังกล่าวไม่ได้มีลักษณะดังที่เข้าใจกันในทางนั้นเพียงอย่างเดียว ยังมีอีกหลายลักษณะ หนึ่งในนั้นคือลักษณะของเทคโนโลยี สำหรับในตอนที่ 1 นี้ จะเกริ่นนำให้รู้ความเป็นไปเป็นมาถึงที่มาให้เกิดสงครามเย็นทางเทคโนโลยีกันก่อน

          คำว่า “สงคราม” ก็อาจทำให้เข้าใจได้ว่า ต้องมีความขัดแย้งเกิดขึ้นตั้งแต่แต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป ในทางการเมืองหรือทางทหาร สงครามเย็นมีความหมายที่ว่า สงครามที่คู่ต่อสู้ทั้งสองฝ่าย ต่างต่อสู้กันโดยมิได้ใช้อาวุธต่อสู้กันโดยตรง แต่เป็นการใช้เครื่องหมาย สัญลักษณ์และกลยุทธ์ต่าง ๆ เช่น การโฆษณาชวนเชื่อ การแทรกซึม บ่อนทำลาย การประณาม การแข่งขัน การใส่ร้าย การขัดแข้งขัดขา และแสวงหาอิทธิพลของกันและกัน ลักษณะที่สำคัญของสงครามเย็นอีกอย่างหนึ่งก็คือ การต่อสู้ของคู่ต่อสู้ในระดับมหาอำนาจด้วยกันทั้งสองฝ่าย นอกเหนือจากการแข่งขันกันในทางทหารหรือการเมือง ยังมีอีกหลายลักษณะ เช่น สงครามเย็นด้านอุดมการณ์ สงครามเย็นด้านตัวแทน รวมไปถึงสงครามเย็นด้านเทคโนโลยี

9836 1

ภาพ การแข่งขันทางเทคโนโลยี
ที่มา https://pixabay.com ,geralt

สงครามเย็นทางด้านเทคโนโลยี

         อะไรคือสงครามเย็นทางด้านเทคโนโลยี เกิดขึ้นกับใครและมีลักษณะอย่างไรบ้าง อธิบายกันให้เข้าใจง่าย ๆ ก็ให้มองว่า เทคโนโลยีอะไรที่ยิ่งใหญ่ ใกล้ตัว และเป็นปัจจัยสำคัญของคนในยุคปัจจุบัน และใครที่เป็นเจ้าของธุรกิจ เจ้าของกิจกรรมนั้น ๆ ก็เปรียบเสมือนผู้เป็นมหาอำนาจของเทคโนโลยีนั้น ๆ นั่นเอง แน่นอนว่า ทุกคงคนคิดไปในทางเดียวกันว่า ต้องเป็นเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์สื่อสารกันอย่างแน่นอน ซึ่งมองในทางธุรกิจเราอาจเรียกมันได้ว่า “สงครามเย็นทางการค้า” หรือ “สงครามเย็นทางเทคโนโลยี” (Technological Cold War)

การเริ่มต้นของสงครามเย็นทางเทคโนโลยี

          ในบทความนี้ขออธิบายให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่าย ๆ จากเหตุการณ์จริงจากการแข่งขัน การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เข้าเรื่องเลยก็คือ การพัฒนาไปสู่ “5G” (5th Generation of Cellular Mobile Communications) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พร้อมนำไปใช้งานกับกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น การคมนาคม การขนส่ง การแพทย์ การศึกษา การค้า การสำรวจ พลังงาน ซึ่งแน่นอนว่า 5G ที่ว่า มันคือมูลค่าการตลาดในอนาคตได้อย่างมหาศาล และใครก็ตามที่สามารถเป็นมหาอำนาจของเทคโนโลยีนี้ ก็คือผู้ที่ได้ประโยชน์อย่างมหาศาลนั่นเอง

          การแข่งขันในการที่จะเป็นเจ้าของเม็ดเงินมูลค่ามหาศาลในอนาคต หรือความต้องการเป็นผู้นำในระบบ 5 G จึงเกิดขึ้นได้ไม่ยาก และนำไปสู่การแข่งขันทางธุรกิจ ที่เราอาจเรียกได้ว่า สงครามเย็นกำลังจะเกิดขึ้นแล้ว อะไรคืออาวุธและกลยุทธ์สำคัญสำหรับการทำสงครามเย็นทางเทคโนโลยีของผู้นำทางเทคโนโลยี ติดตามอ่านได้ใน สงครามเย็นทางเทคโนโลยี ตอนที่ 2 

แหล่งที่มา

ทับทิม พญาไท .สงครามเย็นทางเทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อวันที่  12 กุมภาพันธ์ 2562. จาก https://mgronline.com/daily/detail/9610000117918

ทับทิม พญาไท .ไทยกับสงครามเย็นทางเทคโนโลยี. สืบค้นเมื่อวันที่  12 กุมภาพันธ์ 2562. จาก https://mgronline.com/daily/detail/9620000014576

สงครามเย็น . สืบค้นเมื่อวันที่  12 กุมภาพันธ์ 2562. จาก https:// https://suphannigablog.wordpress.com/หน่วยที่-4/สงครามเย็น/

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สงครามเย็น,เทคโนโลยี
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพุธ, 13 กุมภาพันธ์ 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9836 สงครามเย็นทางเทคโนโลยี ตอนที่ 1 /article-technology/item/9836-2019-02-22-01-20-24
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
SQL ภาษามาตรฐานสำหรับจัดการฐานข้อมูล
SQL ภาษามาตรฐานสำหรับจัดการฐานข้อมูล
Hits ฮิต (21569)
ให้คะแนน
Structured Query Language หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า SQL เป็นภาษาสืบค้นข้อมูลสำหรับฐานข้อมูลเชิงสัมพ ...
รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ
Hits ฮิต (44026)
ให้คะแนน
รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ความก้าวหน้าของวิทยาการเทคโนโลยีของปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intellig ...
Project Athena “สมาร์ตบุ๊ก” ของอนาคต
Project Athena “สมาร์ตบุ๊ก” ของอนาคต
Hits ฮิต (5189)
ให้คะแนน
Project Athena เป็นชื่อเรียกโครงการ PC Laptop ของผู้ผลิตจากค่ายดังค่ายหนึ่ง ที่กำลังมองหาและออกแบบน ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)