logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เครือข่ายไร้สายกับสังคมปัจจุบัน

โดย :
นักรบ จินาพร
เมื่อ :
วันจันทร์, 01 มีนาคม 2564
Hits
2718

เครือข่ายไร้สาย

       โทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ไร้สายสามารถอำนวยสะดวกและมีความสำคัญอย่างไร เชื่อว่าหลายคนคงตอบได้อย่างไม่ลังเล แต่ถ้าหากถามว่าสิ่งใดอยู่เบื้องหลังการสนทนาและใช้งานข้อมูลผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ เชื่อว่าเฉพาะบุคคลบางกลุ่มสามารถอธิบายได้เป็นอย่างดี จึงเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะมาทำความรู้จักกับเครือข่ายไร้สายในรูปแบบต่างๆ

9113 1

ภาพที่ 1 สถานีฐานในเครือข่ายรังผึ้ง
ที่มา https://pixabay.com , Coyotechnical

        เริ่มต้นจากเครือข่ายรังผึ้ง (cellular network) เป็นการสื่อสารแบบสองทางสำหรับอุปกรณ์ไร้สาย การสื่อสารทางเสียงถือเป็นวัตถุประสงค์หลักในยุคแรกของเครือข่ายรังผึ้ง การสื่อสารข้อมูลที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยของการพัฒนาเครือข่ายรังผึ้งในปัจจุบัน แนวคิดของเครือข่ายนี้คือการแบ่งพื้นที่ให้บริการเป็นเซลล์ย่อยจำนวนมาก สถานีฐาน (base station) ถูกติดตั้งบริเวณจุดศูนย์กลางของเซลล์ โดยมีหน้าที่กระจายสัญญาณและควบคุมการติดต่อสื่อสารของอุปกรณ์ไร้สายภายในเซลล์ดังกล่าว รัศมีของเซลล์และกำลังส่งของสถานีฐานมีความหลากหลาย ตัวอย่างเช่น แมโครเซลล์ (macrocell) ซึ่งอาจใช้กำลังส่งสูงถึง 40 วัตต์ สามารถมีรัศมีครอบคลุมในระดับหลายตารางไมล์ ขณะที่เฟมโตเซลล์ (femtocell) ซึ่งใช้กำลังส่งเพียง 100 มิลลิวัตต์หรือน้อยกว่า มีรัศมีขนาดเล็กสำหรับการใช้งานภายในอาคารหรือที่พักอาศัย เป็นต้น GSM เป็นมาตรฐานเครือข่ายรังผึ้งแบบดิจิทัล (2G: second generation) ซึ่งถูกใช้งานอย่างแพร่หลายเป็นเวลายาวนาน ขณะที่ LTE ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นมาตรฐานหลักสำหรับการสื่อสารไร้สายในยุคที่สี่ (4G: fourth generation)

9113 2

ภาพที่ 2 สัญลักษณ์มาตรฐาน IEEE 802.11 (WiFi)
ที่มา https://pixabay.com , OpenClipart-Vectors

       ถัดมาคือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่แบบไร้สาย (WLAN: wireless local area network) ซึ่งถูกใช้งานในพื้นที่ขนาดเล็กและย่านความถี่สาธารณะ อุปกรณ์ไร้สายสามารถได้รับอัตราข้อมูลที่สูงกว่าหากเปรียบเทียบกับเครือข่ายรังผึ้ง จึงถูกใช้งานในหลากหลายพื้นที่และวัตถุประสงค์ เช่น ที่พักอาศัย ร้านกาแฟ เป็นต้น มาตรฐานที่สำคัญของเครือข่ายนี้คือ IEEE 802.11 (WiFi) ซึ่งหลายคนรู้จักเป็นอย่างดี

       นอกเหนือจากนี้เครือข่ายดาวเทียมอาจถูกใช้ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งเครือข่ายไร้สายข้างต้นไม่สามารถเข้าถึงได้ เครือข่ายตัวรับรู้ (sensor network) และเครือข่ายงานบริเวณกว้างกำลังต่ำ (LPWAN: low-power wide-area network) อาจเป็นตัวอย่างของเครือข่ายไร้สายในอนาคต ซึ่งมีความต้องการพลังงานต่ำและสามารถปรับเปลี่ยนทอพอโลยีของเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน เครือข่ายรังผึ้งอย่างเดียวคงไม่สามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้งานที่มีปริมาณสูงและหลากหลายในการสื่อสารยุคที่ห้า (5G: fifth generation) เช่น วิดีโอแบบคมชัดสูง อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT: Internet of things) เป็นต้น การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ การเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ไร้สาย การมีเสถียรภาพที่ดีและความล่าช้าที่ต่ำในการสื่อสารเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่ง อาจกล่าวได้ว่าการทำงานร่วมกันของเครือข่ายไร้สายข้างต้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้สำหรับการสื่อสารไร้สายในอนาคตอันใกล้นี้

9113 4

ภาพที่ 3 อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
ที่มา https://pixabay.com , Tumisu

แหล่งที่มา

IEEE Communications Society. (2012). A Brief History of Communications. (2nd ed). NJ: IEEE.

Goldsmith, A. (2005). Wireless Communications. Cambridge University Press.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
การสื่อสารไร้สาย
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 11 พฤศจิกายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นักรบ จินาพร
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ปฐมวัย
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9113 เครือข่ายไร้สายกับสังคมปัจจุบัน /article-technology/item/9113-2018-10-18-08-57-06
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)