logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • ภาษาสากลของโลกในอนาคต

ภาษาสากลของโลกในอนาคต

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันศุกร์, 29 กันยายน 2560
Hits
22317

           เชื่อว่าทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบัน ภาษาสากลของโลกคือ ภาษาอังกฤษ หรือ ไม่นานผ่านมานี้ เคยมีคนให้ความคิดเห็นว่า ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คือภาษาของโลกในอนาคต  เคยสงสัยกันบ้างไหมว่า นอกจากภาษาอังกฤษ และภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ยังมีภาษาอะไรที่จะเป็นภาษาสากลของโลกได้อีกบ้าง?

7457 1

ภาพที่ 1 การสื่อสาร

https://pixabay.com

          ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา เราคงเคยได้ยินคำว่า โค้ดดิ้ง (Coding) กันอยู่บ่อย ๆ ในที่นี้หลาย ๆ คนอาจเคยอ่านบทความที่เกี่ยวกับข้องกับชื่อบทความนี้มาแล้ว เช่น “ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นภาษาสากลในอนาคต” ซึ่งก็เป็นเรื่องราวการนำเสนอให้เห็นถึงความสำคัญที่ว่า “แนวโน้มของการขับเคลื่อนนวัตกรรมของโลกนั้น สายงานที่เปรียบเสมือนฟันเฟืองของเศรษฐกิจในยุคนี้ที่ขาดไม่ได้เลยคือนักพัฒนาโปรแกรม”  นั่นหมายถึงให้คนโดยทั่วไปตระหนักและให้ความสำคัญในการเริ่มต้นเรียนรู้และศึกษาการทำงานของภาษาโปรแกรม ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่เทียบเท่ากับภาษาอังกฤษ อย่างน้อยก็อยู่ในระดับที่ควรจะรู้ไว้ ในอนาคตอันใกล้ เพราะก็มีแนวโน้มอันใกล้ที่ประเทศไทยของเรา อาจมีการบรรจุเรื่อง “การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์” เข้าเป็นหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานที่เด็กทุกคนต้องได้เรียนกัน ซึ่งบทความนี้มีความเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง

          สำหรับบทความนี้ อยากเขียนให้อ่านกันในมุมมองอีกมุมหนึ่ง โดยให้ความคิดเห็นตามสถานการณ์ปัจจุบันหรือยุคของโลกทางการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไป แล้วคิดว่าภาษาอะไรจะเป็นภาษาสากลของโลกได้อีก ที่จริงแล้วยังไม่มีเคยมีใครบัญญัติความหมายของคำว่า ภาษาษากลเลยด้วยซ้ำ หากเรามองในด้านการสื่อสารทั่วไปจริง ๆ เราลองมาพิจารณาค้นหาภาษาสากลอีกมุมหนึ่ง จากคำถาม 2 คำถามนี้ ชวนให้คิดกันดีกว่า

คำถามแรก ภาษาคืออะไร

        เรามีคำตอบให้ ภาษาคือ “การสื่อสารจำเป็นต้องอาศัยสัญลักษณ์หรือภาษาเพื่อสื่อความคิด  ความเข้าใจ  ความรู้สึกซึ่งกันและกัน  การสื่อสารจำเป็นต้องอาศัยทั้งสัญลักษณ์และภาษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน”

คำถามที่สอง ทำไมปัจจุบัน ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล

       อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็เพราะมันเป็นภาษาที่คนส่วนใหญ่ใช้สื่อสารกัน เข้าใจกันทั่วโลก

       จากคำตอบทั้งสองคำถาม อาจกล่าวได้ว่า ภาษาสากลก็คือ การสื่อสารที่อาศัยสัญลักษณ์เพื่อสื่อความคิด  ความรู้สึก และความเข้าใจทั่วโลก ภาษาอะไรที่เข้าข่ายความหมายนี้ได้บ้าง

7457 2

ภาพที่ 2 Emoticon

ที่มา https://pixabay.com

          มีใครนึกถึง สติกเกอร์ (Stickers) หรือ อีโมติคอน (Emoticon) บ้างไหม ขอใช้ชื่อเรียกรวม ๆ ให้มันว่า เป็นภาษาสัญลักษณ์ ก็แล้วกัน เชื่อว่าตั้งแต่ที่เราได้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ก็คงคุ้นเคยกับการแชท หรือพูดคุยผ่านโปรแกรมหรือแอพลิเคชั่นการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนทั่วไป 

          จริง ๆ แล้วสิ่งเรานี้เราใช้งานมันบ่อยมาก ๆ มานานแล้ว ลองคิดดูง่าย ๆ กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงว่า ทุกวันนี้เราติดต่อสื่อสารหรือแชทพูดคุยกันทางแอพพลิเคชั่น  โดยลดการคุยทางโทรศัพท์ ให้ลึกไปกว่านั้น  สังเกตดี ๆ ว่า เราใช้สัญลักษณ์เพื่อพูดคุยแทนการพิมพ์เป็นข้อความซะส่วนใหญ่ เช่น ใช้สติกเกอร์ และ อีโมติคอน มาถึงตอนนี้ สัญลักษ์เหล่านี้เอง ก็พัฒนาไปไกลถึงขั้นมีเสียงประกอบแล้วด้วย

แล้วมันสากลอย่างไร

               สติกเกอร์ (Stickers) หรือ อีโมติคอน (Emoticon) เหล่านี้ชุดของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่มีจุดประสงค์เพื่อแสดงสีหน้าและอารมณ์ของมนุษย์ เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นใคร ชาติไหน ก็สามารถสื่อสารพูดคุยกันได้ แต่ก็น่าคิดต่อไปอีก สัญลักษณ์เหล่านี้จะมีความซ้ำซ้อนในการสื่อสารได้ในระดับไหนกันเชียว เพราะบางอย่างมันก็ไม่ได้สามารถสื่อสารให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ผ่านสัญลักษณ์เพียงตัวเดียวใช่ไหม

               แน่นอนว่า นี่เป็นเพียงมุมมองหนึ่ง  ซึ่งคิดว่า ภาษาสัญลักษ์ อย่างสติกเกอร์ (Stickers) หรือ อีโมติคอน (Emoticon) อาจจะสามารถเป็นภาษาสากลได้ในอนาคต

แหล่งที่มา

บัญญพนต์ พูนสวัสดิ์. ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นภาษาสากลในอนาคต.  สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2560, จาก 
          https://www.digitalagemag.com/ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเป็นภาษาสากลในอนาคต
พิมล มองจันทร์. ภาษาคืออะไร.  สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2560, จาก
          https://www.gotoknow.org/posts/322514
สัญรูปอารมณ์. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2560, จาก 
          https://th.wikipedia.org/wiki/สัญรูปอารมณ์

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
การสื่อสาร ,ภาษา, โปรแกรมคอมพิวเตอร์, คอมพิวเตอร์, ภาษา, สากล, สัญญาลักษณ์, user interface, สติกเกอร์, Stickers, อีโมติคอน, Emoticon
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7457 ภาษาสากลของโลกในอนาคต /article-technology/item/7457-2017-09-07-08-51-03
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
Ad hoc Network (Part I) : Ad hoc Network Technology
Ad hoc Network (Part I) : Ad hoc Network...
Hits ฮิต (26911)
ให้คะแนน
โครงข่ายเฉพาะกิจ (Ad hoc Network) เป็นโครงข่ายไร้สายที่ถูกสร้างขึ้นชั่วขณะในกรณีที่ไม่มีการอำนวยการ ...
เว็บช่วยสอน3
เว็บช่วยสอน3
Hits ฮิต (19444)
ให้คะแนน
เว็บช่วยสอน ชัยวุฒิ เลิศวนสิริวรรณ Blue Web’ n http://www.kn.pacbell.com/wired/bluewebn/ บริษัท AT& ...
Space economy ยุคแห่งการท่องอวกาศ
Space economy ยุคแห่งการท่องอวกาศ
Hits ฮิต (14841)
ให้คะแนน
หลังจากที่ยานอะพอลโล 17 เดินทางไปดวงจันทร์เมื่อปี 1972 หากหลายคนคงใฝ่ฝันที่จะออกไปแตะขอบฟ้านอกโลก ค ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)