logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

3D Printing สุดยอดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการพิมพ์ (ตอนที่ 2)

โดย :
สุวัฒน์ วงษ์จำปา
เมื่อ :
วันอังคาร, 25 มกราคม 2565
Hits
1145

               ตามที่ได้เสนอความรู้พื้นฐานและความเป็นมาเกี่ยวกับ "3D  Printing สุดยอดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการพิมพ์"ตอนที่ 1 ไปแล้ว ผู้อำนงข้าใจคุณสมบัติหลักการทำงานและการนำระบบเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์สามมิติมาใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างมีคุณภาพในการผลิตตันแบบผลิตภัณฑ์หรือผลิตสื่อการเรียนการสอน ในตอนที่ 2 นี้จะมีการจำแนกเทคโนโลยีการพิมพ์ระบบสามมิติและวัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบในกระบวนการพิมพ์ เพื่อจะได้เลือกใช้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดในการพัฒนาผลผลิต ซึ่งระบบการพิมพ์สามมิติสามารถจำแนกได้ดังนี้

1. ระบบฉีดเส้นพลาสติก Fused Deposition Material (FDM)

            มีหลักการทำงานดังนี้คือ เครื่องพิมพ์มีระบบการหลอมเส้นพลาสติกให้กลายเป็นของเหลวแล้วพ่นฉีดออกมาเป็นเส้นผ่านหัวฉีด (1๐zz2le) เหมือนปืนกาวที่ใช้กันทั่วไป โดยของเหลวพลาสติกที่หลอมละลายจะถูกฉีดออกมาเป็นรูปร่างต่าง ๆ ในแนวแกนระนาบ ที่ละชั้น ๆ ทับซ้อนกันอาจหลายร้อยหรือ หลายพันขั้น เพื่อให้ได้รูปทรงของวัตถุที่สั่งพิมพ์ หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์ชนิดนี้มีขั้นตอนดังภาพที่ 1

3dpt2 01

ภาพที่ 1 ระบบกลไกของเครื่องพิมพ์และขั้นตอนงานพิมพ์แบบสามมิติ FDM

ที่มา https://sites.google.com/a/bumaill.net/3dprintingdimension/thekhnoloy-khxng-kheruxngphimph-sam-miti

เครื่องพิมพ์ระบบฉีดเส้นพลาสติกอาจแบ่งได้อีก 2 รูปแบบ ดังนี้

            1.1 Cartesian เป็นเครื่องพิมพ์ที่พบเห็นทั่วไป เครื่องพิมพ์นี้มีการเคลื่อนที่ของหัวฉีดในระนาบ X.Y เท่านั้นคือไปได้ซ้าย-ขวา/หน้า-หลัง ส่วนฐานพิมพ์นั้นจะเคลื่อนที่ในแกนแนว Z คือเคลื่อนที่ขึ้น-ลง ดังงภาพที่ 2

3dpt2 02

ภาพที่ 2 เครื่องพิมพ์ระบบ Cartesian
ที่มา ฝ่ายออกแบบและพัฒนาอุปกรณ์ / สสวท.

            1.2 Delta เครื่องพิมพ์ระบบนี้สามารถสังเกตได้ง่ายที่สุดคือ มีเสาแกนอยู่ 3 เสา เครื่องนี้มีฐานพิมพ์อยู่กับที่ หัวฉีดจะเคลื่อนที่อย่างอิสระในแนวทั้งสามคือ X.Y:Z โดยควบคุมการเคลื่อนที่ของหัวฉีดให้ทำงานสอดคล้องกับมอเตอร์ทั้งสามตัว เครื่องระบบนี้สามารถจัดสร้างให้มีขนาดใหญ่มาก ๆ ได้ดังภาพที่ 3

3dpt2 03

ภาพที่ 3 เครื่องพิมพ์ระบบ delta
ที่มา http://www.applicadthai.com

 

2.ระบบถาดเรซิ่น หรือ Stereolithography Apparatus (SLA)

            เดิมเรียกระบบนี้ว่าระบบ Vat Photopolymerisation ซึ่งมีวิธีการคือเครื่องพิมพ์จะฉายแสงไปยังตัวถาดที่ใส่เรซิน (Photo Resin/Photopolymer) ซึ่งเมื่อถูกแสงจะแข็งตัวเฉพาะตำแหน่งที่ถูกแสงกระทบ แล้วจะทำให้เป็นรูปร่างขึ้นมาทีละชั้น ถ้ากระทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จะได้ชิ้นงานรูปทรงสามมิติที่สมบูรณ์

3dpt2 04

ภาพที่ 4 เครื่องพิมพ์ระบบถาดเรซิน
ที่มา http://www.print3dd.com/dpsla-3d-printer

3.ระบบผงยิปซัม + สี Ink Jet (Powder 3D Printer หรือ ColorJet Printing)

            มีวิธีการคือ เป็นระบบของเครื่องที่ใช้ผงยิปซัม หรือผงพลาสติก เป็นตัวกลางในการสร้างชิ้นงาน โดยจะพิมพ์สีและกาวลงไปพร้อมกันเป็นรูปร่าง เมื่อสร้างเสร็จในขั้นแรกเครื่องจะเกลี่ยผงยิปชัมหรือผงพลาสติกมาทับเป็นชั้นบาง ๆ ในขั้นต่อไป

 

3dpt2 05

ภาพที่ 5 เครื่องพิมพ์ระบบ Powder
ที่มา http://www.print3dd.com

4.ระบบหลอมผงผลาสติก ผงโลหะ เซรามิก Selective Laser Sintering (SLS)

            เป็นระบบที่มีหลักการทำงานคือ เครื่องพิมพ์จะฉายแสงเลเซอร์ไปบนผงวัสดุ ความร้อนจากเลเซอร์จะทำให้ผงวัสดุ เช่นผงพลาสติก ผงลหะ หรือผงเซรามิกหลอมละลายเป็นเนื้อเดียวกันเพื่อให้ได้รูปทรงของวัตถุที่สั่งพิมพ์ในระบบ 3 มิติที่ได้ออกแบบไว้ก่อนนั้น

3dpt2 06

ภาพที่ 6 เครื่องพิมพ์ระบบ SLS
ที่มา http://www.print3dd.com

5.ระบบ MJM (Multi Jet Modeling)

            วิธีการคือ ฉีดเรซินเหลวทีละชั้นในเวลาเดียวกันก็ฉายแสงอัลตร้าไวโอเลต (UV Light) ไปพร้อมกัน เพื่อให้เรซินในแต่ละขั้นแข็งตัว คุณภาพขึ้นงานที่ได้ของระบบนี้มีรายละเอียดสูง

 

3dpt2 07

ภาพที่ 7 เครื่องพิมพ์ระบบ Multi Jet Modeling (MJM)

ที่มา http://3d-labs.de/mjm/?lang=en

6.ระบบ Sheet Lamination (5L)

            เทคนิคนี้ใช้วัสดุที่เป็นแผ่นวางข้อนกัน จนเป็นขึ้นงานสามมิติ วัสดุที่ใช้เป็นแผ่นกระดาษธรรมดา แล้วพิมพ์สีตามที่ต้องการลงบนแผ่นกระดาษ ซึ่ง software จะตำนวณว่าต้องพิมพ์สีอะไร พิมพ์ตรงตำแหน่งใดบ้าง กระดาษที่พิมพ์สีเสร็จแล้วจะถูกนำเข้าเครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์จะดึงกระดาษเข้าทีละแผ่น แล้วจะทำการแยก slice ด้วยมีดตัดเพื่อให้ได้รูปแบบตามที่ได้ออกแบบไว้ จากนั้นเครื่องก็จะดึงกระดาษแผ่นต่อไปไปยังระบบทากาว แล้วนำมาแปะติดซ้อนทับบนกระดาษที่ได้ตัดไว้ก่อนหน้านี้ ระบบจะทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนได้ชิ้นงานสามมิติอย่างสมบูรณ์ตามที่ได้ออกแบบไว้

 

3dpt2 08

ภาพที่ 8 เครื่องพิมพ์ระบบ Sheet Lamination

ที่มา https://www.engineersgarage.com/articles/3d-printing-processes-sheet-lamination

7.ระบบ Directed Energy Deposition (DED)

            เทคโนโลยีนี้เป็นที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมไฮเทคเพราะเป็นเทคโนโลยีที่มีความละเอียดและความซับซ้อนหลักการคือ ใช้หัวพ่นพ่นผงโลหะลงไปพร้อมกับการใช้พลาสมาหลอมละลายผงโลหะนั้น โดยหัวพ่นจะเคลื่อนที่ไปในลักษณะการ slice ซึ่งผงโลหะที่ใช้เช่น ไททาเนียมวิธีการนี้ได้มีการนำไปรวมกับเทคโนโยลีการขึ้นรูปแบบ subtractive เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของซิ้นงาน เมื่อหัวพิมพ์พ่นวัสดุลงเป็นรูปร่าง แล้วเครื่องพิมพ์จะเปลี่ยนเป็นหัวกัด (milling) เพื่อนำมากัดชิ้นงานให้มีรูปร่าง และขนาดตามที่ต้องการระบบจะทำเช่นนี้ไปจนครบขั้นตอนการสร้างชิ้นงานแบบสามมิติ

 

3dpt2 09

ภาพที่ 9 เครื่องพิมพ์ระบบ Directed Energy Deposition

ที่มา http://www.cimp-3d.org/ded และ https://s3.amazonaws.com/

 

วัสดุที่ใช้กับเครื่องพิมพ์สามมิติ

            ชนิดของวัสดุสำหรับงานพิมพ์สามมิติโดยทั่วไปมีหลายรูปแบบเช่นแบบของเหลว แบบของแข็งแบบเส้นพลาสติกและแบบที่เป็นเส้นโลหะ สำหรับแบบที่เป็นเส้นจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.75 มิลลิเมตร และ 3.0 มิลลิเมตร โดยเส้นจะอยู่ในรูปแบบม้วน ปัจจุบันมีเนื้อวัสดุมากมาย แต่จะยกตัวอย่างชนิดที่นิยมใช้สำหรับเครื่องพิมพ์ระบบฉีดเส้นพลาสติก Fused Deposition Material (FDM) ดังนี้

1.PLA (Polylactic Acid) เป็นเส้นพลาสติก

            ที่ผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น กากพืชผลทางการเกษตรข้าวโพด มันสำปะหลัง พลาสติกซนิดนี้เหมาะกับเครื่องพิมพ์สามมิติแทบทุกชนิดเนื่องจากมีความปลอดภัยไม่มีกลิ่นพลาสติกไหม้ หดตัวน้อย ไม่จำเป็นต้องใช้ฐานทำความร้อน แต่มีข้อเสียบ้างเรื่องทนความร้อนได้ไม่มาก

2. ABS (Acrylonitrile Butadiene Styrene)

            เป็นพลาสติกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุปกรณ์เครื่องใช้ในบ้าน ข้อดีคือ ทนสภาพแวดล้อมได้ดี แต่มีข้อเสียค่อนข้างมาก คือ พิมพ์ได้ยาก เนื่องจากมีอัตราการหดตัวสูงต้องเปิดฐานทำความร้อน เมื่อพิมพ์แล้วมีกลิ่นพลาสติกไหม้

3. Dissolvable Filament (DF) หรือเส้น

            พลาสติกที่ละลายได้ ใช้ในการพิมพ์ในส่วน support ต้องใช้กับเครื่องพิมพ์ระบบฉีดเส้นพลาสติกที่มีหัวเครื่องพิมพ์ตั้งแต่ 2 หัวขึ้นไป พลาสติกที่พิมพ์นี้จะถูกละลายออกไปหลังการพิมพ์ขึ้นงานเสร็จสมบูรณ์ตัวอย่างเส้นพลาสติกดังภาพที่ 10

 

3dpt2 10

ภาพที่ 10 ตัวอย่างส้นวัสดุงานพิมพ์สามมิติแบบเส้นพลาสติก
ที่มา https://www.3dprintersonlinestore.com/filament-abs

 

ดีจริงแค่ไหนสำหรับเทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ

            เป็นเรื่องปกติที่ผลิตภัณฑ์หลาย ๆ อย่างย่อมมีข้อดีและข้อด้อยที่แตกต่างกันไป เครื่องพิมพ์สามมิติก็เช่นกัน ใช่ว่าเครื่องพิมพ์ที่ทันสมัย และระบบเทคโนโลยีที่ล้ำเลิศจะสามารถเนรมิตสรรพสิ่งได้ทุกอย่างเสมอไปจากประสบการณ์จริงในการศึกษาและการใช้เครื่องพิมพ์จะพบว่า ในระยะเริ่มแรกที่เทคโนโลยีนี้ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในแวดวงการพิมพ์ ราคาของเครื่องพิมพ์จะค่อนข้างสูงกว่าในปัจจุบันมาก แต่เมื่อมีผู้ทำการผลิตเครื่องพิมพ์และพัฒนาโปรแกรมเพื่องานพิมพ์ระบบสามมิติออกมามากมายเช่น ปัจจุบัน ทำให้ราคาของเครื่องพิมพ์ลดตามไปด้วยข้อจำกัดอีกประการหนึ่งของเครื่องพิมพ์สามมิติคือ ต้องใช้เวลาในการพิมพ์หรือขึ้นรูปชิ้นงานค่อนข้างนาน ยกตัวอย่างเช่น ชิ้นงานที่มีขนาดเท่าฝ่ามือ ต้องใช้เวลาในการพิมพ์ 7-8 ชั่วโมงต่อเนื่องกัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับความละเอียดความซับซ้อนของชิ้นงาน ส่วนข้อดีที่เป็นที่ยอมรับ คือระบบเทคโนโลยีนี้ ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์สามารถออกแบบและผลิตงานต้นแบบได้อย่างหลากหลายไม่มีข้อจำกัดด้านรูปร่าง ความยากง่ายและความซับซ้อนในกระบวนการผลิต แต่มีข้อด้อยคือยังไม่สามารถหาวัสดุในการพิมพ์มาทดแทนเพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงานให้มีคุณสมบัติเทียบเท่าของจริงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เช่น ชิ้นส่วน อวัยวะมนุษย์ หรือชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่เป็นโลหะที่มีความแข็งแรง และทนทานเป็นพิเศษ

 

            บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิตยสาร สสวท. ผู้อ่านสามารถติดตามบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ https://magazine.ipst.ac.th/

 

บรรณานุกรม

งานพิมพ์ขาเทียม. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2559, จาก http:/www.cnet.com/news/amputee-goose-gets-a-new-3d-printed-leg-and-foot/.

งานออกแบบขาเทียม. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2559, จาก https://3dprint.com/56182/goose-3d-printed-leg.

ชนิดของเครื่องพิมพ์สามมิติ. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2559, จาก http://3dprinting.com/what-is-3d-printing.

ตัวอย่างภาพผลิตภัณฑ์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2559. จาก http:/www.108cnc.com/index.php?ay-show&ac=article&ld=5393396921.

เทคโนโลยีงานพิมพ์สามมิติ. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.vcharkarn.com/varticle/57825.

ภาพกระบวนการพิมพ์สามมิติ. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2559, จาก http:/www.applicadthai.com/articles/article-3dprinter/professional-3d-printer-vs-home-use-3d-printer-เลือกใช้อย่างไรดี/.

ภาพเครื่องพิมพ์สามมิติ. สี่บค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2559, จาก http:/www.print3dd.com/3d-printer/.

Applicadthai. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2559, จาก http:/www.applicadthai.com/articles/.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
3D Printing, เทคโนโลยีการพิมพ์, การพิมพ์, ระบบพิมพ์ 3 มิติ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุวัฒน์ วงษ์จำปา
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 12481 3D Printing สุดยอดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการพิมพ์ (ตอนที่ 2) /article-technology/item/12481-3d-printing-2
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    ระบบพิมพ์ 3 มิติ การพิมพ์ เทคโนโลยีการพิมพ์ 3D Printing
คุณอาจจะสนใจ
SQL ภาษามาตรฐานสำหรับจัดการฐานข้อมูล
SQL ภาษามาตรฐานสำหรับจัดการฐานข้อมูล
Hits ฮิต (21779)
ให้คะแนน
Structured Query Language หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า SQL เป็นภาษาสืบค้นข้อมูลสำหรับฐานข้อมูลเชิงสัมพ ...
ภาษาสากลของโลกในอนาคต
ภาษาสากลของโลกในอนาคต
Hits ฮิต (25530)
ให้คะแนน
เชื่อว่าทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบัน ภาษาสากลของโลกคือ ภาษาอังกฤษ หรือ ไม่นานผ่านมานี้ เคยมี ...
Project Athena “สมาร์ตบุ๊ก” ของอนาคต
Project Athena “สมาร์ตบุ๊ก” ของอนาคต
Hits ฮิต (5251)
ให้คะแนน
Project Athena เป็นชื่อเรียกโครงการ PC Laptop ของผู้ผลิตจากค่ายดังค่ายหนึ่ง ที่กำลังมองหาและออกแบบน ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)