logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

User Experience สำคัญอย่างไรต่อการเรียนการสอน

โดย :
ยารินดา อรุณ
เมื่อ :
วันอังคาร, 01 มิถุนายน 2564
Hits
2186

          ‘User Experience’ นิยมเรียกย่อๆในสายงาน IT ว่า ‘UX’หรือ ‘UX design’ เป็นการศึกษาการทำงานหรือการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้งานที่เป็นคนทั่วๆไปกับระบบทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะมีหลายลักษณะ เช่น การที่เราโต้ตอบกับ แอปพลิเคชัน ต่างๆ การที่เรากดปุ่ม สัมผัส หรือแม้กระทั่งการเรียกใช้งาน Siri ก็เรียกว่าเป็น User Experience ได้แล้ว โดยระหว่างตัวเราที่เป็นมนุษย์กับสมาร์ตโฟนได้มีการโต้ตอบ แสดงผล เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้นี้เรียกว่า การปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ใช้งานและ สมาร์ตโฟน ดังกล่าว ซึ่งมีศัพท์เฉพาะอีกคำหนึ่งคือ “Interaction” โดยที่เครื่อง smart-phone ของเราจะมีการเก็บข้อมูลการโต้ตอบ พร้อมด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เป็นส่วนประกอบของ smart-phone ของเรามาเป็นตัวประมวลผล เราจึงเห็นหน้าจอเวลาที่เราเลื่อน สัมผัสหน้าจอ และสั่งการด้วยเสียง เป็นต้น การเก็บข้อมูลและการตอบสนองดังกล่าวนั้นเรียกว่า ‘Data and Feedback’ หรือ ‘in-put and out-put’ ก็ได้

ตัวอย่างการนำข้อมูลที่ได้จาก  ‘User Experience’ มาใช้งาน

          อีกหนึ่งตัวอย่าง ที่หยิบยก ‘User Experience’ เพื่อมาปรับปรุงพัฒนากิจกรรมของผู้ใช้งานในโลกของการเสิร์ชหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตก็คือ Google Analytics นั่นเอง ซึ่ง UX design มีบทบาทเป็นอย่างมากในการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ใช้งานเป็นรายบุคคล เรียนรู้ว่าผู้ใช้งานคนหนึ่งสนใจเรื่องอะไรอยู่ หรือมีกิจกรรมใดที่ชอบทำเป็นพิเศษ ตลอดจนสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาส่งเสริมการขายให้กับผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ในด้านการหากลุ่มลูกค้าที่ต้องการสินค้านั้นจริงๆ ผู้ใช้งานสามารถเลือกซื้อได้ง่ายขึ้น และยังช่วยให้ผู้ซื้อรับรู้ข้อมูลประกอบสินค้าได้เรื่อยๆ อีกด้วย

11667 1

ภาพการวิเคราะห์ข้อมูล User Experience ที่แสดงผลเป็นกราฟ
ที่มา pixabay.com/PhotoMIX-Company

‘User Experience’ กับการศึกษาเรียนรู้

          ตอนนี้การเสิร์ชหาข้อมูลประกอบการเรียนของเด็กนักเรียนนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และสามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้และเข้าถึงศาสตร์ต่างๆได้ทุกแขนงในเวลาเพียงไม่กี่นาที เช่น การเสิร์ช (Search) หาข้อมูลผ่าน Google และการเรียนรู้จาก YouTube เป็นต้น

          นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่าจะเกิด New Normal ด้านการศึกษาผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นด้วย ซึ่งระบบการศึกษาดังกล่าวตอนนี้เป็นการพูดคุย กันผ่านการ Live Stream หรือ VDO Chat โดยที่ให้ผู้สอนเป็นผู้บรรยายไปพร้อมๆกับถ่ายวิดีโอและแชร์หน้าจอของตัวเองสำหรับเป็นสื่อการสอน พร้อมกันนั้นก็จะมีนักเรียนเป็นผู้ใช้งานอีกกลุ่มหนึ่งที่จะได้ดูวิดีโอนั้น และพิมพ์คำถามเพื่อโต้ตอบกับครูได้ผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าว

          ในแวดวง IT ยังได้คาดการณ์กันไว้ว่าเทคโนโลยีทางการศึกษาจะมีการพัฒนามากขึ้น เพื่อส่งเสริมแนวคิด “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” และการโต้ตอบระหว่างมนุษย์กับโปรแกรมการตอบสนองใหม่ๆ ได้ด้วย เช่น การทำข้อสอบออนไลน์ และลูกเล่นอื่นๆในการ interaction กับภาพหรือชุดข้อมูลที่เชื่อมโยงเข้ากับเนื้อหาการเรียน เป็นต้น เรียกได้ว่ามนุษย์มีแนวโน้มจะพัฒนาการออกแบบด้าน UX ให้น่าสนใจมากขึ้น และปรับตามผู้ใช้งานให้เหมาะสมมากขึ้นตามประสบการณ์การใช้งานของแต่ละบุคคลได้ด้วย

          ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้ามีแนวโน้มว่า ‘Learning Experience’ หรือเรียกเป็นภาษาไทยว่าประสบการณ์ด้านการเรียนรู้ จะกลายเป็นกระแสใหม่ในวงการการศึกษาทั่วโลกเลยทีเดียว อาจจะพัฒนาไปถึงขั้นที่ว่าทุกคนสามารถเรียนอยู่กับบ้านได้ ไม่ต้องไปโรงเรียน และมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนต่างวัยไปเลยก็ได้ เพราะเมื่อเด็กและผู้ใหญ่มีความสามารถในด้านการเข้าถึงข้อมูลด้านการศึกษาแบบเท่าเทียมกันได้แล้วนั้น ‘อายุ’ ก็ไม่เป็นปัจจัยที่มีผลในการเรียนอีกต่อไป ทุกๆคนสามารถเลือกเรียนวิชาใดก็ได้ และครูก็ไม่จำเป็นจะต้องเรียนจบปริญญาด้านการศึกษาอีกด้วย เพราะผู้เชี่ยวชาญในแขนงวิชาต่างๆ สามารถเป็นครูได้เหมือนกัน ผ่านช่องทางออนไลน์ อย่างที่เราสังเกตเห็นในทุกวันนี้ เช่น แอปพลิเคชัน : Udemy, Google Classroom และ Linkedin learning เป็นต้น ซึ่ง แอปพลิเคชัน เหล่านี้ก็คือส่วนหนึ่งของผลงานการออกแบบ Learning Experience หรือ (LX Design) ที่สามารถใช้งานผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ smart-phone ในยุคปัจจุบันนั่นเอง เรียกได้ว่าเป็นรอยต่อของยุคสมัยแห่งการพัฒนาทางเทคโนโลยีและการเกิดใหม่ของกระบวนการเรียนรู้ได้เลยทีเดียว

แหล่งที่มา

สืบวงศ์ ชื่นสมบัติ, สิริกัญญา มณีนิล. สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. INSTRUCTIONAL DESIGN ON MOBILE LEARNING. สืบค้นวันที่ 3 กรกฏาคม 2563, จาก so01.tci-thaijo.org

Thum Namprom. Learning Experience Design… การออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้. สืบค้นวันที่ 3 กรกฏาคม 2563, จาก  https://reder.red/learning-experience-design-20-02-2020

Tim Gifford. (2018, 16 April). What is Learner Experience Design?.  Retrieved July 4, 2020. From https://learnjam.com/what-is-learner-experience-design

siuk-thailand. (20 สิงหาคม 2561). User Experience Design (UI/UX) คืออะไร พร้อมแนะนำมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตร User Experience Design ในอังกฤษ. สืบค้นวันที่  10 กรกฏาคม 2563, จาก https://www.siuk-thailand.com/study-guide/what-user-experience-design-uiux/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
User Experience,UX,UX Design
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
เอกสารเสริมความรู้และอ้างอิง
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 10 กรกฎาคม 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ยารินดา อรุณ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11667 User Experience สำคัญอย่างไรต่อการเรียนการสอน /article-technology/item/11667-user-experience
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    UX Design UX User Experience
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)