logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

Hyperloop แตกต่างจากรูปแบบการขนส่งที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างไร

โดย :
ภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 01 เมษายน 2564
Hits
3500

          Hyperloop คือรูปแบบการเดินทางแบบใหม่ที่ในขณะนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากทั่วทุกมุมโลกจนมีหลายบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ ทั้งภาคเอกชน และภาครัฐนำไปพัฒนาเป็นธุรกิจ หรือ โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ Hyperloop นั้นมีความน่าสนใจอยู่ที่ความเร็วในการขนส่งที่จะสามารถทำได้ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วจะสามารถทำความเร็วได้ถึง 700 ไมล์/ชั่วโมง หรือประมาณ 1126.54 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งจะมีความเร็วเป็น 2 เท่าของความเร็วเครื่องบินโดยสารปัจจุบัน และสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งของ Hyperloop อีกอย่างหนึ่งก็คือผู้ที่เสนอแนวคิดที่จะทำสิ่งนี้ เพราะเป็นแนวคิดของคนคนหนึ่งที่หลายท่านน่าจะเคยได้ยินชื่อ คุ้นหู คุ้นตากันอยู่บ้าง เขาคนนั้นก็คือ “Elon Musk” CEO ของบริษัทเอกชนทางด้านอวกาศชั้นนำของโลกอย่าง SpaceX และเป็นผู้ก่อตั้งค่ายรถยนต์ไฟฟ้าแห่งอนาคตอย่าง Tesla  ที่ในขณะนี้มีมูลค่าบริษัทในอุตสาหกรรมยานยนต์มากกว่าบริษัทที่ดำเนินธุรกิจมานับสิบปี

11654 1

ภาพรูปแบบโครงสร้างทั้งภายในและภายนอกของไฮเแร์ลูป (Hyperloop)
ที่มา https://th.m.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:Hyperloop_all_cutaway.png, Camilo Sanchez

อะไรคือสิ่งที่ทำให้ Hyperloop แตกต่างจากรูปแบบการขนส่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน?

          มีเหตุผล 2 ข้อหลักที่ทำให้ Hyperloop นั้นแตกต่างจากการขนส่งด้วยระบบรางในปัจจุบัน ข้อแรกการเดินทางด้วย Hyperloop นั้นเป็นการใช้ Pod หรือ Capsule (คล้ายโบกี้ของรถไฟ) ใส่เข้าไปในอุโมงค์ที่อาจจะทำให้อยู่เหนือพื้นดินหรืออยู่ใต้ดิน ซึ่งในอุโมงค์นั้นก็จะถูกออกแบบให้เป็นสุญญากาศหรือทำให้มีความดันต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้โดยจะเป็นการใช้ปั๊มในการดูดอากาศออก เพื่อลดแรงต้านอากาศในขณะที่ Pod เคลื่อนที่ภายในอุโมงค์ เพื่อเป็นการลดการสูญเสียพลังงาน (Loss) และนี่คือปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ Pod สามารถเคลื่อนที่ได้เร็วถึง 700 ไมล์/ชั่วโมง ข้อสองแทนที่จะใช้ล้อเหมือนรถยนต์หรือรถไฟแต่ Hyperloop จะใช้หลักการของ Hockey table และ Magnetic levitation ในการทำให้ Pod ภายในอุโมงค์นั้นลอยขึ้นไม่สัมผัสกับผิวใด ๆ เพื่อเป็นการลดแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัส

          ส่วนข้อได้เปรียบอย่างอื่นก็อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นคือสามารถเคลื่อนที่ได้เร็วกว่ารถไฟหรือรถยนต์แน่ ๆ และอาจจะประหยัดกว่าด้วยเนื่องจากการที่ใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานธรรมชาติในการเป็นแหล่งพลังงานหลักในการขับเคลื่อนโดยจะติดแผงโซล่าเซลล์ไว้ที่ด้านบนของท่อเพื่อเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์มาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในมอเตอร์เชิงเส้นและนำไปขับเคลื่อน Pod และที่สำคัญยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการเดินทางทุกรูปแบบในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน เรือ รถไฟ หรือรถยนต์ เพราะทำให้เกิด CO2 น้อยที่สุด อีกทั้งถ้าสามารถขนส่งเพื่อกระจายสินค้าทั้งจากนิคมอุตสาหกรรมสู่ตัวเมือง หรือจากชนบทสู่ตัวเมือง ก็จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็วจนส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับมหภาคได้

ความเป็นมาของ Hyperloop เป็นอย่างไร?

          แนวคิดการใช้การขนส่งภายในท่อความดันต่ำหรือในท่อสุญญากาศนั้นมีมาอย่างยาวนาน ใน ค.ศ. 1864 ทางรถไฟสาย “The Crystal Palace” ได้ใช้หลักการ Pneumatic ในการออกแบบการทำงานโดยจะใช้แรงดันอากาศช่วยในขณะที่เส้นทางนั้นลาดชันขึ้น และจะทำให้ภายในอุโมงค์เป็นสุญญากาศเมื่อต้องการดึงขบวนกลับมา นอกจากนี้ยังมีการส่งจดหมายหรือพัสดุระหว่างตึกโดยการใส่ไปในท่อ Pneumatic และใช้การควบคุมความดันอากาศในการขนส่ง

          ต่อมาในเดือนสิงหาคม 2013 Elon Musk ได้ตีพิมพ์แนวคิดที่จะทำ Hyperloop โดยระบุความเป็นไปได้และต้นทุนที่จะเกิดขึ้นด้วย โดยเขาได้ตั้งชื่อว่า “Hyperloop Alpha” โดยในรายละเอียดเขาได้ยกตัวอย่างการเดินทางจาก  Los Angeles ไปยัง San Francisco หรือประมาณ 381.9 ไมล์ ทั้งยังอ้างว่าด้วยระยะทางขนาดนี้การเดินทางด้วย Hyperloop นั้นจะทั้งประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างมากกว่า รวดเร็วกว่า ปลอดภัยกว่า ทนต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศมากกว่า และไม่ต้องเกิดการรบกวนชาวบ้านเหมือนการสร้างรถไฟความเร็วสูงที่ในขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกากำลังจะมีโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง โดยระยะทางที่เหมาะสมที่จะใช้ Hyperloop เป็นรูปแบบการขนส่งจะอยู่ที่ประมาณ 1500 กิโลเมตร เพราะถ้ามากกว่านี้การเดินทางด้วยเครื่องบิน Supersonic นั้นจะมีประสิทธิภาพมากกว่า

          จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดผู้เขียนก็รู้สึกตื่นเต้นกับแนวคิดการเดินทางในรูปแบบนี้ เพราะเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อีกทั้งยังได้รับความสนใจจากนักลงทุนทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยด้วย ไม่แน่ว่าอีกไม่ถึงห้าปีข้างหน้านี้เราอาจจะได้เห็นการเปิดตัวของ Hyperloop เส้นทางแรกของโลกก็เป็นได้

แหล่งที่มา

Steve Ranger . (Aug 16, 2019). ​What is Hyperloop? Everything you need to know about the race for super-fast travel.  Retrieved Apr 1, 2020 from https://www.zdnet.com/article/what-is-hyperloop-everything-you-need-to-know-about-the-future-of-transport/

Will Nicol. (Dec 27, 2018). ​ What is the Hyperloop? Here’s everything you need to know.  Retrieved Apr 1, 2020 from https://www.digitaltrends.com/cool-tech/what-is-the-hyperloop/

Joe Sommerlad. (Feb 19, 2018). ​ Virgin to build super-fast Hyperloop shuttle between Pune and Mumbai as India ramps up infrastructure spending. Retrieved Apr 1, 2020 from https://www.independent.co.uk/news/business/indyventure/virgin-hyperloop-india-pune-mumbai-fast-shuttle-train-maharashtra-richard-branson-narendra-modi-a8217511.html

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Hyperloop, การขนส่ง, Pneumatic
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 02 เมษายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
นายภิเษก ทัศนะนาคะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11654 Hyperloop แตกต่างจากรูปแบบการขนส่งที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างไร /article-technology/item/11654-hyperloop-11654
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    Pneumatic การขนส่ง Hyperloop
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)