logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เทคโนโลยีการติดตามผู้สัมผัส “contact tracing”

โดย :
อชิรญา ชนะสงคราม
เมื่อ :
วันอังคาร, 16 มีนาคม 2564
Hits
2749

        ในช่วงที่โลกของเรากำลังเจอสถานการณ์ที่ทำให้ทุกคนต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตครั้งใหญ่ที่สุดเลยก็ว่าได้ เนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากมาย เกิดหลักปฏิบัติ Social Distancing หรือการเว้นระยะห่างทางสังคม อยู่บ้านให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้อื่น หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้อื่น หลีกเลี่ยงสถานที่ชุมชน นอกจากนั้นได้มีการพัฒนาแอปพลิเคชันติดตามผู้สัมผัส (contact tracing) ขึ้นเพื่อรับมือและยับยั้งการแพร่ระบาด สาเหตุที่ต้องติดตามผู้สัมผัสกันขนาดนี้ก็เพราะอย่างที่ทุกคนทราบว่า เชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) สามารถติดต่อกันได้ง่าย ผู้ป่วย 1 ราย สามารถแพร่ให้กับคนใกล้ชิดได้อีก 2-3 ราย และในบางสภาพแวดล้อมก็อาจทำให้เกิดซูเปอร์สเปรดเดอร์ (super spreader) เช่น โบสถ์ สนามมวย โรงหนัง ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อหลักสิบถึงร้อยราย และยังมีความรุนแรงมากกว่าโรคติดเชื้อทางเดินหายใจทั่วไป ยิ่งถ้ามีผู้ป่วยจำนวนมากเข้าโรงพยาบาลพร้อมกันก็ยิ่งทำให้มีอัตราป่วยตายสูงขึ้น องค์การอนามัยโลกจึงประกาศให้ โรคจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (public health emergency of international concern: PHEIC) เมื่อวันที่ 30 มกราคม 63 ในขณะที่กระทรวงสาธารณสุขของไทยก็ประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 63

11649
ภาพตัวอย่างจุดบริการสแกน QR Code เพื่อติดตามบุคคล

         หลักการทำงานของเทคโนโลยีการติดตามผู้สัมผัส (contact tracing) หลังจากที่เชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) แพร่ระบาดไปทั่วโลก ได้มีกลุ่มอาสาสมัคร บริษัทเอกชน รวมถึงรัฐบาลในหลายประเทศ จัดทำแอปพลิเคชันสำหรับติดตั้งบนโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ตโฟนเพื่อใช้บันทึกข้อมูลการเดินทางและติดตามผู้สัมผัส โดยหลักการพื้นฐานของแอปพลิเคชันเหล่านี้จะเป็นการบันทึกข้อมูลว่าผู้ใช้ได้เดินทางหรือมีความใกล้ชิดกับบุคคลใดบ้าง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวผู้ใช้อาจต้องบันทึกด้วยตนเองหรือตัวแอปพลิเคชันจะเก็บรวบรวมให้โดยอัตโนมัติ หากมีการใช้งานไปเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วผู้ใช้สงสัยว่าติดเชื้อ ก็สามารถนำข้อมูลที่ระบบรวบรวมไว้ส่งให้แพทย์วิเคราะห์อาการต่อ หรืออาจพิจารณาประกาศแจ้งเตือนการติดเชื้อให้กับบุคคลที่เคยใกล้ชิดทราบได้ เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในการติดตามผู้สัมผัสนั้นมีได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสแกน QR code การระบุพิกัดจาก GPS หรือการจับสัญญาณ Bluetooth จากอุปกรณ์ใกล้เคียง โดยเทคโนโลยีแต่ละรูปแบบนั้นมีจุดประสงค์ของการใช้งาน ความสามารถในการทำงาน และข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป เช่น

QR Code

         รูปแบบการใช้งานหลัก ๆ ของ QR code จะมี 2 ฝั่ง คือฝั่งผู้ให้บริการและฝั่งผู้ใช้บริการ โดยฝั่งผู้ให้บริการนั้นจะต้องลงทะเบียนเพื่อรับรหัสเฉพาะมาในรูปแบบของ QR code และพิมพ์ QR code นั้นไว้ในจุดที่ผู้ใช้บริการสามารถสแกนเพื่อ check-in ว่าได้มาใช้บริการแล้ว หรือตรวจสอบข้อมูลว่าร้านค้าหรือผู้ให้บริการดังกล่าวนั้นผ่านการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยแล้วหรือไม่

GPS

         การระบุพิกัดจาก GPS นั้นอาศัยการรับสัญญาณดาวเทียมเพื่อวิเคราะห์ตำแหน่งที่อยู่ โดยแอปพลิเคชันที่ใช้ข้อมูลจาก GPS นั้นส่วนใหญ่มักมีจุดประสงค์เพื่อแจ้งเตือนกรณีที่ผู้ใช้เข้าไปอยู่ในบริเวณที่มีเชื้อแพร่ระบาด หรือใช้เพื่อบันทึกประวัติการเดินทางย้อนหลังมากกว่าจะเป็นการวิเคราะห์ความใกล้ชิด เนื่องจากการใช้ข้อมูล GPS นั้นมีความคลาดเคลื่อนสูง

         อย่างไรก็ตาม การพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีการเก็บรวบรวมและใช้งานข้อมูลที่มีความอ่อนไหวนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญในเรื่องความเป็นส่วนตัวและความมั่นคงปลอดภัยอย่างเข้มงวด เนื่องจากการใช้งานแอปพลิเคชันติดตามผู้สัมผัสนั้นผู้ใช้อาจจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลบุคคลใกล้ชิด หรือข้อมูลพิกัดที่อยู่ ดังนั้นประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายให้ความสำคัญ       

แหล่งที่มา

เสฏฐวุฒิ แสนนาม. (2563, 13 พฤษภาคม).  รูปแบบการทำงานของแอปพลิเคชันติดตามผู้สัมผัส (contact tracing) ในช่วงการระบาดของ COVID-19 และประเด็นที่ควรพิจารณา.  สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563. จากhttps://www.thaicert.or.th/papers/general/2020/pa2020ge001.html

ชนาธิป ไชยเหล็ก. (2563, 7 พฤษภาคม).  Contact Tracing: จุดสมดุลระหว่างความเป็นส่วนตัว กับความปลอดภัยของสาธารณะอยู่ตรงไหน?.  สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563. จาก https://themomentum.co/contact-tracing/

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์. (2563, 21 พฤษภาคม).  สหภาพยุโรปสนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันติดตามตัว (contact tracing apps) บนโทรศัพท์มือถือที่สามารถใช้งานข้ามประเทศได้ เพื่อติดตามเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19.  สืบค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2563. จาก www.mfa.go.th/europetouch/th/news/8243/118187-สหภาพยุโรปสนับสนุนการพัฒนาแอปพลิเคชันติดตามตัว-(co.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
contact tracing, เทคโนโลยีการติดตามผู้สัมผัส, แอปพลิเคชันติดตามผู้สัมผัส
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 08 มิถุนายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
อชิรญา ชนะสงคราม
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11649 เทคโนโลยีการติดตามผู้สัมผัส “contact tracing” /article-technology/item/11649-contact-tracing
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    แอปพลิเคชันติดตามผู้สัมผัส เทคโนโลยีการติดตามผู้สัมผัส contact tracing
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)