logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

หุ่นยนต์กับหน้าที่ผู้ช่วยด้านสุขภาพ

โดย :
อชิรญา ชนะสงคราม
เมื่อ :
วันอังคาร, 02 กุมภาพันธ์ 2564
Hits
5063

       การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้สร้างความท้าทายอย่างมากต่อระบบสาธารณสุขทั่วโลก เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยผู้ติดเชื้อที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทำให้ระบบสาธารณสุขที่แต่ละประเทศมีอยู่ไม่สามารถรับมือได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรทางสาธารณสุขทั้งแพทย์และพยาบาลที่ขาดแคลนอยู่แล้ว ยิ่งขาดแคลนหนักจากการระบาด ทำให้แพทย์และพยาบาลในแต่ละประเทศต้องทำงานอย่างหนักและเสี่ยงชีวิตในการทำงานไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อจากผู้ป่วย ไปจนถึงความอ่อนล้าจากการทำงานที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา “ดาร์เรลล์ อดัมส์” หัวหน้าประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โรบอท ระบุว่า จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิดที่ทำให้เกิดการขาดแคลนบุคลากรการแพทย์และความเสี่ยงในการทำงานที่เพิ่มขึ้น ทำให้แนวโน้มการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาเป็นผู้ช่วยของแพทย์และพยาบาลจึงกลายเป็นหนึ่งใน  เทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมด้านสาธารณสุขไม่ว่าจะเป็น

11637
ภาพหุ่นยนต์โคบอท
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Db_tuda_jes2899_a.jpg, Daimler und benz Stiftung

       ในมหาวิทยาลัยซิงหัวซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศจีน นักวิจัยได้ออกแบบ โคบอท เพื่อช่วยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ทำงานที่มีความเสี่ยง ในการตรวจหาไวรัส ประกอบด้วยแขนหุ่นยนต์บนล้อ  ที่สามารถตรวจเชื้อในปาก ฟังเสียง ในอวัยวะของผู้ป่วยและการอัลตราซาวด์  ซึ่งงานเหล่านี้เป็นงานของแพทย์ ก็สามารถทำได้โดยหุ่นยนต์ที่ติดตั้งกล้องเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสที่อาจเกิดขึ้นจากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์

       ในสิงคโปร์มีหุ่นยนต์ที่ชื่อว่า บีมโปร (BeamPro) จะทำหน้าที่ให้ยาและอาหารแก่ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิด -19 หรือสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลอเล็กซานดรา

       โคบอท จากยูนิเวอร์ซัล โรบอท (ยูอาร์)  (Universal Robots (UR) Cobots) ในการดูแลสุขภาพ ก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด -19 อุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพได้นำหุ่นยนต์ของยูอาร์ไปใช้เพื่อช่วยงานต่างๆ หุ่นยนต์สามารถทำงานง่ายๆ เช่นการเจาะเลือด การตรวจสอบสัญญาณและเงื่อนไขสำคัญของผู้ป่วยและดูแลสุขอนามัยของผู้ป่วยหากจำเป็น หุ่นยนต์ยังสามารถเตรียมและแจกจ่ายยาในห้องปฏิบัติการทางเภสัชวิทยาและยังช่วยให้การเคลื่อนไหวและการดูแลผู้ป่วยเป็นโรคอัมพาตขา ลดภาระงานและความเครียดทางกายภาพแก่ นักกายภาพบำบัด 

        ในประเทศเดนมาร์ก โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกนเก็นทอฟต์ได้ให้หุ่นยนต์โคบอท ของ ยูนิเวอร์ซัล โรบอท รุ่น ยูอาร์5 (Universal Robot UR5 (Cobots)) 2 ตัวเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการและคัดแยกตัวอย่างเลือดเพื่อการวิเคราะห์  โคบอทส์ช่วยให้แล็บสามารถรักษาเป้าหมายในการส่งผลลัพธ์มากกว่า 90% ภายใน 1 ชั่วโมงแม้ว่าตัวอย่างจะมาถึงเพื่อการวิเคราะห์เพิ่มขึ้น 20%

       ในประเทศสเปน ระบบหุ่นยนต์วิสัยทัศน์ที่เรียกว่า ซีบอท (CBot) ได้รับการพัฒนา สามารถใช้กายภาพบำบัดดังกล่าวหลายประเภทโดยอัตโนมัติ ในขณะที่สภาพของผู้ป่วยยังคงได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมระบบหุ่นยนต์เลียนแบบบทบาทของนักกายภาพบำบัด ซึ่งช่วยบรรเทาภาระหนักจากภาระงานของคลินิก แขนหุ่นยนต์สามแขนจากยูนิเวอร์ซัล โคบอท  ถูกรวมเข้ากับเทคโนโลยีชิ้นนี้ ดังนั้นวิศวกรสามารถปรับซอฟต์แวร์ให้เข้ากับความต้องการเฉพาะของผู้ป่วยและงานที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย การเขียนโปรแกรมการติดตั้งและการทำงานร่วมกันอย่างง่ายดายของแขนโคบอลช่วยให้ศัลยแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่และหุ่นยนต์ทำงานเคียงข้างกันและดูแลผู้ป่วยได้

       ในประเทศสิงคโปร์ คลินิกการแพทย์แผนจีน ชื่อ NovaHealth (TCM) มีหุ่นยนต์นวดตัวเพื่อการนวดหลังและข้อเข่าให้กับผู้ป่วย พัฒนาโดย AiTreat  ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพของมหาวิทยาลัยนันยาง เทคโนโลจิคัล (Nanyang Technological University)  หมอนวดหุ่นยนต์ดังกล่าวชื่อ เอ็มมา (Emma) ย่อมาจาก Expert Manipulative Massage Automation ประกอบด้วยแขนหุ่นยนต์ที่ยื่นออกมาจากเครื่องจักร มีอุณหภูมิระหว่าง 38 องศาเซลเซียสถึง 40 องศาเซลเซียสเพื่อเลียนแบบการสัมผัสของมนุษย์ แพทย์ TCM จะกำหนดประเภทของการนวดหลังจากให้คำปรึกษาแล้ว และหุ่นยนต์จะปรับค่ากับกล้องเพื่อกำหนดเป้าหมายฝังเข็มอย่างถูกต้อง ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนแปลงแรงกดของการนวดผ่านการควบคุมแบบใช้มือถือในระหว่างกระบวนการ   ส่วนเซนเซอร์ในตัวหุ่นยนต์จะวัดความตึงของกล้ามเนื้อก่อนและหลังการนวดซึ่งช่วยให้แพทย์สามารถประเมินสภาพของผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ

        New Normal ใหม่ที่เกิดขึ้นจากการระบาดของไวรัสโควิดในครั้งนี้ ไม่ได้เพียงเปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์เท่านั้น แต่ยังเปลี่ยนแปลงระบบการบริการทางสาธารณสุขอีกด้วย และ “หุ่นยนต์” ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทและจะกลายเป็นอีกมาตรฐานหนึ่งในระบบสาธารณสุข

แหล่งที่มา

TECH NEWS. (2563, 27 พฤษภาคม). “Cobots” เมื่อหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเข้ามาเป็นผู้ช่วยด้านสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563. จาก https://www.wearesmarttech.com/cobots/

Thos. (2563, 29 พฤษภาคม). “Cobots” โคบอทส์ หุ่นยนต์ผู้ช่วยด้านสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563. จาก  https://www.mmthailand.com/โคบอทส์-ผู้ช่วยด้านสุขภ/

newsplus. (2563, 27 พฤษภาคม). โคบอท หุ่นยนต์ผู้ช่วยด้านสุขภาพ. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2563. จาก https://www.newsplus.co.th/191537

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
โคบอทส์, Cobots, เทคโนโลยีทางการแพทย์, หุ่นยนต์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 08 มิถุนายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
อชิรญา ชนะสงคราม
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11637 หุ่นยนต์กับหน้าที่ผู้ช่วยด้านสุขภาพ /article-technology/item/11637-2020-06-30-02-24-14
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    หุ่นยนต์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ Cobots โคบอทส์
คุณอาจจะสนใจ
เทคโนโลยีสุดล้ำที่มาพร้อมความอันตราย
เทคโนโลยีสุดล้ำที่มาพร้อมความอันตราย
Hits ฮิต (11865)
ให้คะแนน
ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความก้าวหน้าในการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างไม่หยุดยั้งนั้นช่วยทำให้ใช้ชีวิตความ ...
หุ่นยนต์บังคับมือจากของเล่นกลายเป็น สื่อเรียนรู้
หุ่นยนต์บังคับมือจากของเล่นกลายเป็น สื่อ...
Hits ฮิต (2831)
ให้คะแนน
ในวัยเด็กหลาย ๆ คนคงมีความสุขสนุกสนานกับการได้เล่นของนานาชนิด หลายชิ้นก็เล่นจนติด เล่นได้ทั้งวัน ขอ ...
ฝ่าวิกฤต โรค ภัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
ฝ่าวิกฤต โรค ภัย ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
Hits ฮิต (5492)
ให้คะแนน
ในขณะที่โลกเพิ่งได้รู้จักกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่อย่าง ไวรัสโคโรนา (COVID-19) และยังไม่ได้วางแผนในการร ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)