logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

Classcraft เกมจัดการชั้นเรียน

โดย :
ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 26 ธันวาคม 2562
Hits
19962

          การใช้กิจกรรมในรูปแบบเกม เป็นการสร้างแรงจูงใจการเรียนในชั้นเรียน และถือเป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีเกมมิฟิเคชั่นด้วยการใช้เทคนิคและกลไกของเกม เพื่อสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน เกมมิฟิเคชั่น คือหนึ่งในทางออกที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน อาจใช้เพียงการสะสมคะแนนหรือรางวัล ผู้ชนะหรือผู้แพ้จะมีหรือไม่ก็ได้ เนื่องจากมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่เน้นการเล่น แต่เน้นการมีส่วนร่วม โดยให้ความสำคัญกับรางวัลเป็นหลัก ข้อดีของเกมมิฟิเคชั่นสามารถสร้างได้ง่าย เนื่องจากไม่มีตัวเกม เพียงใช้กลไกของเกมผ่านองค์ประกอบของเกมิฟิเคชั่น และมีราคาถูก เนื่องจากใช้บุคลากรจำนวนน้อย แต่จะไปเน้นค่าใช้จ่ายในด้านของรางวัล ซึ่งมีค่าใช้จ่ายน้อย การให้ผู้เรียนเป็นส่วนหนึ่งของเกมทำให้สร้างความสนใจและแรงจูงใจในการกระตุ้นให้ผู้เรียนร่วมกิจกรรม สร้างความสนุกสนานในการดำเนินกิจกรรมเสมือนกับการเล่นเกม มีการให้คะแนน ให้รางวัล การลงโทษภายในเกม มีภารกิจประจำวันให้ผู้เรียนได้เกิดความตื่นเต้น ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการร่วมกิจกรรม ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และทำให้การทำงานอย่างเป็นระบบ อันจะเป็นการสร้างแรงจูงใจในการจัดการขยะของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

          Classcraft เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้สอนนำไปใช้ในการจัดการชั้นเรียนด้วยเกม ซึ่ง Class craft เครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการเรียนการสอน ผู้เรียนแต่ละคนจะมีพลังพิเศษแตกต่างกันไปตามความสามารถของตัวละคร จุดมุ่งหมายของเกมเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียน และมีส่วนร่วมในชั้นเรียน โดยผ่านการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ผู้เล่นจะต้องวางแผนการในการเรียนรู้ของตัวเอง และเพื่อนสมาชิกในทีม โดยคุณลักษณะของตัวละครในเกมจะแตกต่างกันไป

10968 1edit

ภาพที่ 1 โลโก้ของ Classcraft เกมมิฟิเคชั่น
ที่มา https://www.classcraft.com

หลักการของการเล่นเกมตัวละคร

           ผู้เล่นแต่ละคนเลือกตัวละครของตนในชั้นเรียน แต่ละตัวละครจะมีพลังและความสามารถแตกต่างกันออกไป โดยแบ่งตัวละครออกเป็น 3 อาชีพ ดังนี้ นักบุญ (Healer), นักเวทย์ (Mage) และ นักรบ (Warrior) โดยแต่ละสายอาชีพจะมีพลัง และความสามารถพิเศษที่แตกต่างกัน

10968 2

ภาพที่ 2 ข้อมูลรายละเอียดของบุคคลที่แสดงค่า HP,AP,XP,GP และแบดจ์
ที่มา https://www.classcraft.com, ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล

กฎพื้นฐานของเกม

          ในการใช้ระบบ Class craft จำเป็นต้องเข้าใจถึงความหมายของกฎเกณฑ์ของเกมโดยแบ่งออกเป็นดังนี้

พลังชีวิต (Health Points : HP)

          พลังชีวิต (HP) คือพลังที่เป็นส่วนสำคัญของตัวละครในเกม ที่ในบางครั้งผู้เล่นอาจจะได้รับพลัง HP เพิ่มจากเพื่อนสมาชิก หรือบางครั้งถูกลดพลังชีวิตลงเนื่องจากมีพฤติกรรมทางลบระหว่างการเรียนการสอนในชั้นเรียน

ค่าประสบการณ์ (Experience : XP)

          ค่าประสบการณ์ คือ สิ่งที่บ่งบอกว่าผู้เล่นมีความก้าวหน้าในการดำเนินการภายในเกม ถ้าหากมีค่าประสบการณ์ (XP) มาก ก็จะสามารถมี Skill ต่าง ๆ ที่หลากหลาย ที่จะช่วยให้การดำเนินการของทีมเป็นไปด้วยความก้าวหน้า

พลัง Skill (Power Point : PP)

          พลัง Skill เป็นสิ่งที่สำคัญใน Class craft เป็นอย่างมาก เป็นสิ่งแสดงพลังพิเศษ ที่ผู้เรียนแต่ละคนได้รับ ทำให้มีความก้าวหน้าภายในเกม Class craft การร่วมทีมในเกม ก็อาจจะใช้พลัง Skill ช่วยเหลือสมาชิกในทีมได้ แต่บางครั้งก็ใช้ได้แค่เฉพาะตัวเองเท่านั้น

ข้อตกลงในเกม

          ผู้เรียนจะสวมบทบาทเป็นตัวละครใน Classcraft ตั้งแต่เริ่มต้นรายวิชาจนปิดคอร์สรายวิชานั้น โดย ไม่สามารถที่จะหยุดเล่นในกลางคันได้ ในเกม Classcraft ครู ในที่นี้หมายถึง Game master ถือว่าเป็นผู้มีอำนาจที่สุดในเกม ผู้เรียนไม่สามารถตัดสินใจแทนครูผู้สอนได้ ผู้เรียนต้องยอมรับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของครูผู้สอนได้ ผู้สอนมีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ได้เสมอ

10968 3

ภาพที่ 3 ห้องการสนทนารายบุคคล

ที่มา https://www.classcraft.com

คุณสมบัติของตัวละคร

          The Healer: นักบุญมีหน้าที่ที่จะช่วยฟื้นฟูพลังกลับคืนมา ในขณะเดียวกัน ฮีลเลอร์ก็สามารถใช้พลังเพื่อตนเองด้วยเช่นกัน คือพลังที่มีความสำคัญที่สูงที่สุดของสายอาชีพ ฮีลเลอร์ เพราะว่าสามารถที่จะช่วยเหลือผู้เล่นอื่น ๆ ภายในทีมให้รอดพ้นจากความตายได้

          The Mage: นักเวทย์ ผู้ นักเวทย์ก็สามารถที่จะเพิ่มพลัง AP ให้แก่สมาชิก ในทีมได้ นักเวทย์ถือว่าเป็นสายอาชีพที่มีความแข็งแกร่งของพลังมากกว่าสายอาชีพอื่น โดยมีคะแนน AP สูงสุดเท่ากับ 50 AP ถึงแม้ว่า นักเวทย์จะสามารถเพิ่มพลังของ AP ได้ แต่ก็ยังเป็นสายอาชีพที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิต เนื่องจากพลังชีวิตจะได้รับแค่เพียง 30 HP เท่านั้น

          The Warrior: นักรบ ผู้ ทำหน้าที่เปรียบเสมือนผู้ปกป้อง ภายในทีมนอกจากจะป้องกันผู้อื่นแล้ว นักรบยังมีพลังพิเศษที่ปกป้องตัวเองได้เช่นเดียวกัน นักรบมีพลังชีวิต HP ได้สูงสุด 80

          เป็นอย่างไรกันบ้าง เป็นอีกแนวทางหนึ่งของการศึกษาในรูปแบบที่น่าสนใจไม่น้อยเลยใช่ไหม ถ้าสนใจก็อย่าลืมไปดาวน์โหลดทดลองเข้าไปใช้งานกันดู การสมัครเข้าใช้งานระบบ Classcraft สำหรับผู้สอน การเข้าใช้งานระบบ Classcraft ในครั้งแรกจำเป็นต้องทำการลงทะเบียนเข้าใช้ระบบผ่าน https://game.classcraft.com/signup

แหล่งที่มา

พิชญะ โชคพล.  (2559).  การส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรุ้แบบร่วมมือโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด เกมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี.    
ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ปริพัส ศรีสมบูรณ์.  (2560). การพัฒนารูปแบบเกมมิฟิเคชันแบบทีมเสมือนจริงบนเทคโนโลยีคลาวด์เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีมสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขา
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
Classcraft, เกมการจัดการชั้นเรียน, เกมมิฟิเคชั่น
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 10 ตุลาคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10968 Classcraft เกมจัดการชั้นเรียน /article-technology/item/10968-classcraft
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

  • คำที่เกี่ยวข้อง
    เกมมิฟิเคชั่น เกมการจัดการชั้นเรียน Classcraft
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)