logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ร่องรอยดิจิทัล (Digital footprint)

โดย :
ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 31 ตุลาคม 2562
Hits
32809

          ในไม่นานมานี้มีนักการเมือง บุคคลสำคัญทางสังคมโดนโจมตีทางสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยรูปภาพและข้อมูลที่เคยลงไว้ในสื่อสังคมออนไลน์ที่เคยลงไว้นานหลายสิบปี และถูกขุดคุ้ยมาโจมตี และทำให้เกิดการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังและความขัดแย้ง เหตุการณ์ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นด้วย ร่องรอยดิจิทัล (Digital Footprint)

          ร่องรอยดิจิทัล คือ ร่องรอยที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและโลกไซเบอร์กระทำการต่าง ๆ  ในโลกดิจิทัล เช่น การใช้งานอัปโหลดข้อมูลส่วนตัว ไฟล์งาน รูปภาพ การใช้งานสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์  โดยระบบต่าง ๆ  ของอินเทอร์เน็ตจะบันทึกข้อมูลของผู้ใช้งาน เช่น ชื่อ และข้อมูลส่วนตัว วันเดินปีเกิด ตำแหน่งงาน ผลงาน ข้อมูลการศึกษา ประวัติส่วนตัว ของผู้ใช้งาน ร่องรอยดิจิทัล สามารถบอกให้ผู้อื่นทราบถึงสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่สนใจ และสิ่งที่เราอยากทำ

10617 1

ภาพที่ 1 Digital Footprint
ที่มา ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล

          ร่องรอยดิจิทัล มีประโยชน์ ที่จะช่วยใช้ผู้ใช้สะดวกและประหยัดเวลามากขึ้นเวลาเรากรอกข้อมูลส่วนตัวลงในช่องว่างของหน้าเว็บไซต์ เราไม่ต้องพิมพ์ใหม่ เพราะร่องรอยดิจิทัล ได้บันทึกข้อมูลเราไว้ก่อนแล้ว ร่องรอยดิจิทัล จึงเหมือนสมุดบันทึกที่สะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมออนไลน์ของผู้ใช้งานร่องรอยดิจิทัล มี 2 ประเภทคือ

  1. ร่องรอยดิจิทัล ที่ผู้ใช้เจตนาบันทึก (Active Digital Footprints) ร่องรอยดิจิทัล ของผู้ใช้งานที่เจตนาบันทึกไว้ในโลกออนไลน์ ข้อมูลที่เราตั้งใจเปิดเผยโดยที่รู้ตัว เช่น อีเมล เบอร์โทร ชื่อโปรไฟล์ เฟซบุ๊ก หรือสิ่งที่เราตั้งใจโพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย เช่น สิ่งที่เราพูดหรือโพสต์ รูปที่เราเคยลง สิ่งที่เรากดไลก์ รีทวิต หรือแชร์ ที่ตั้งสถานที่ที่เราอยู่หรือเคยไป
  2. ร่องรอยดิจิทัล ที่ผู้ใช้ไม่เจตนาบันทึก (Passive Digital Footprints) ร่องรอยดิจิทัล ของผู้ใช้งานที่ไม่มีเจตนาบันทึกเอาไว้ในโลกออนไลน์ หรือข้อมูลแบบที่ไม่ได้ตั้งใจหรือไม่ได้รู้ตัว เช่น IP Address หรือ Search History ต่าง ๆ ที่เราถูกจัดเก็บเอาไว้ สิ่งที่เราเคยคลิกเข้าไป การซื้อสินค้าออนไลน์ของเรา การเปิดระบบ GPS เป็นต้น

          เราในฐานะผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั้งการใช้ติดต่อสื่อสารในสื่อสังคมออนไลน์ การทำธุรกรรมทางการเงิน เช่นข้อมูลบัตรเครดิต ระบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง การใช้งาน WIFI ฟรีในที่สาธารณะ เราสามารถปกป้องข้อมูลส่วนตัวเราได้อย่างไร สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (2561)  ได้แนะนำผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ว่าควรให้ความสำคัญต่อร่องรอยดิจิทัล ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

       1. เพื่อปกป้องชื่อเสียงของผู้ใช้งาน ร่องรอยดิจิทัล สามารถสะท้อนทั้งแง่บวกและแง่ลบของผู้ใช้งาน ร่องรอยดิจิทัล ที่ไม่ดีคือเรื่องราวของเราบนอินเทอร์เน็ตที่เราไม่อยากให้ใครได้มาพบการมีร่องรอยดิจิทัล ในแง่ลบอาจส่งผลต่อการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย หรือเข้าทำงานในบริษัทได้ ผู้ใช้ควรเตือนตัวเองอยู่เสมอว่าต้องปกป้องชื่อเสียงตนเอง สิ่งที่โพสต์หรือแชร์ลงไปในโลกออนไลน์มีทั้งแง่บวกและแง่ลบ อาจส่งผลกระทบต่อการสมัครงาน หรือการศึกษาของผู้ใช้งานได้

  1. เพื่อช่วยตัดสินใจว่าควรจะจัดการข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานอย่างไร การเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของ

ผู้ใช้งานสามารถจำกัดขอบเขตได้ว่าใครควรจะได้เห็นบ้าง หรือใครควรจะไม่ได้เห็น เช่น ข้อมูลด้านสุขภาพหรือด้านการเงิน แอปพลิเคชันบางตัวที่ติดตั้งบนโทรศัพท์ก็สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานได้เช่น ภาพถ่าย เบอร์โทรศัพท์ รายชื่อผู้ติดต่อ ผู้ใช้งานควรระมัดระวังหากข้อมูลส่วนตัวนี้รั่วไหลไปยังบุคคลที่สาม การจำกัดข้อมูลส่วนตัวที่จะเปิดเผย เช่น ประวัติการทำงาน ตำแหน่ง เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่อาศัย สถานที่ทำงาน เพื่อช่วยป้องกันการสวมรอยบัญชีสังคมออนไลน์จากผู้ไม่หวังดีได้

        3. เพื่อปกป้องการสูญเสียทรัพย์สิน การขโมยข้อมูลทางดิจิทัล เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่เหล่ามิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวงและทำให้เหยื่อสูญเสียเงินเป็นอันมาก การโพสต์ภาพของมีค่าลงสื่อสังคมออนไลน์ ก็อาจเป็นการอันตรายต่อความปลอดภัยของทรัพย์สินได้ ปกป้องการสูญเสียทรัพย์สิน ด้วยการไม่โพสต์โชว์ของมีค่า เช่น บ้าน รถ เงินทอง โฉนดที่ดินต่าง ๆ เพราะอาจมีมิจฉาชีพเข้ามาหลอกลวง ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สิน ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางสื่อออนไลน์ได้ในที่สุด

  1. เพื่อรักษาอิสรภาพและความเป็นส่วนตัว ผู้ใช้งานอาจได้รับข้อความสแปมหรือการส่งอีเมลที่มี

          ข้อความโฆษณาไปให้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้รับที่อาจสร้างความรำคาญจากผู้ขายสินค้าและบริการหากแชร์ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานผ่านแอปพลิเคชันซื้อสินค้าออนไลน์ ในประเด็นความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่นก็เช่นกัน การเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก หรือการโพสต์ภาพของเด็กในสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการแชร์ตำแหน่งของที่ตั้ง อาจทำให้เด็กอาจไม่ปลอดภัยจากผู้แสวงหาประโยชน์ได้การเผยแพร่ภาพผู้ป่วยขณะรักษา การถ่ายภาพผู้ป่วยในโรงพยาบาล ภาพการเยี่ยมบ้านของครูประจำชั้น ภาพและข้อมูลดังกล่าวอาจจะไม่ได้รับการยินยอมจากผู้ถูกถ่ายนอกจากนั้นการโพสต์ภาพหรือคลิปที่มีผลต่อความรู้สึกและสภาพจิตใจของเด็กอาจเข้าข่ายการละเมิดสิทธิเด็กได้ การรักษาอิสรภาพและความเป็นส่วนตัว ไม่ควรแชร์ตำแหน่งที่ตั้ง หรือกดรับข้อมูลจากการส่งอีเมล แหล่งซื้อสินค้าออนไลน์ ซึ่งจะทำให้เห็นแต่ข้อมูลโฆษณาเดิม ๆ ซ้ำ ๆ นอกจากจะเกิดความรำคาญยังทำให้ตนเองเห็นของยั่วยวนจิตใจตลอดเวลา และเพื่อเป็นการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ด้วยความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น และการเคารพในสิทธิอันเท่าเทียมกันของบุคคลในสังคม

          การใช้สื่อสังคมออนไลน์และการใช้อินเทอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องระมัดระวังและรอบคอบมากยิ่งขึ้น ในการจัดการ ควบคุม กำกับตน รู้ผิดรู้ถูก และรู้เท่าทัน ในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์และอินเทอร์เน็ต จะโพสต์หรือแชร์ข้อมูลอะไร จะต้องคิดให้รอบคอบ คำนึงถึง การรักษาอัตลักษณ์ของตนเอง จัดการข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ปกป้องการสูญเสียทรัพย์สิน รักษาความเป็นส่วนตัว พร้อมที่จะรับผิดชอบ หากข้อมูลหรือภาพนั้นไปละเมิดหรือทำให้บุคคลอื่นเกิดความเสียหาย เพื่อเป็นการจัดการร่องรอยทางดิจิทัลของบุคคลในยุคดิจิทัลได้อย่างชาญฉลาด

แหล่งที่มา

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.  (2561).  ความฉลาดทางดิจิตอล (Digital Intelligence: DQ) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น.  สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2562, จาก http://cclickthailand.com/contents/research/A2.-final.pdf.

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.  (2562). การพัฒนาพลเมือง MILD จุดเน้นตามช่วงวัย. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2562, จาก http://cclickthailand.com/ชุดความรู้สำหรับครู/ความรู้/การพัฒนาพลเมือง-midl-จุดเน้นตามช่วงวัย.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ร่องรอยดิจิทัล, Digital Footprint,บันทึกการใช้งานอินเทอร์เน็ต,ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 12 กันยายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10617 ร่องรอยดิจิทัล (Digital footprint) /article-technology/item/10617-digital-footprint
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ความเชื่อเรื่อง ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ กับความเชื่อมโยงต่อการเปลี ...
ความเชื่อเรื่อง ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ กับควา...
Hits ฮิต (5385)
ให้คะแนน
การเปลี่ยนแปลงของสสารนั้นเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับหลักการทางฟิสิกส์ เคมี และชีววิ ...
“เคมีสีเขียว” กับเทรนรักษ์โลกแบบกรีนคลีน
“เคมีสีเขียว” กับเทรนรักษ์โลกแบบกรีนคลีน
Hits ฮิต (3456)
ให้คะแนน
ท่านผู้อ่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าแนวโน้มในปัจจุบันกับเทรนรักษ์โลกเริ่มมาแรงในกระแสสังคมทุกวันนี้ แต่ท่า ...
จากทรายกลายเป็นแก้ว
จากทรายกลายเป็นแก้ว
Hits ฮิต (32579)
ให้คะแนน
หลายคนเคยอาจสงสัยว่า แก้วหรือวัสดุชนิดที่เป็นแก้วที่เราพบเห็นกันอยู่ทุกวันนี้มีที่มาอย่างไร หลายคนค ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)