logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เทคโนโลยี
  • E-Skin ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์

E-Skin ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์

โดย :
ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 03 ตุลาคม 2562
Hits
1664

          ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยและการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

          Jianliang Xiao นักวิจัยจาก University of Colorado Boulder ได้พัฒนาผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อผู้พิการและผู้สูงอายุ ในการรับรู้ความรู้สึกให้กลับมาอีกครั้ง

10467 1

ภาพ e-skin
ที่มา ดัดแปลงจาก https://pixabay.com,  OpenClipart-Vectors และ https://pixabay.com,  Clker-Free-Vector-Images

คุณสมบัติของผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์

          การพัฒนา “Electronic Skin” หรือผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์ที่ เป็นวัสดุที่บางและโปร่งใสซึ่งสามารถทำหน้าที่เสมือนผิวหนังของมนุษย์ ผ่านการวัดอุณหภูมิความดัน ความชื้น ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์มีลักษณะเป็นสติ๊กเกอร์บางพิเศษเพียง 1 มิลลิเมตร สําหรับปิดทับลงบนผิวหนังโดยตรงบริเวณ ฝ่ามือหรือหลังมือ โดยมีคุณสมบัติสามารถถ่ายเทอากาศ และยืดหยุ่น พร้อมตัวส่งสัญญาณ Nanomesh Electrodes เพื่อตรวจวัดระดับการเต้นของหัวใจ และแสดงผลให้เห็นได้ทันทีด้วย Micro LEDs ที่ติดตั้งไว้

          ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์ยังถูกติดตั้งเซนเซอร์ควบคุมในการช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ เป็นการสร้างความมั่นใจต่อผู้ใช้ว่าหุ่นยนต์จะไม่ทำร้ายมนุษย์ ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์ถูกสร้างขึ้นมาจาก โพลิเมอร์ (polymer) และ อนุภาคนาโนเงิน (silver nanoparticles) ซึ่งเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรง สามารถฟื้นฟูตัวเอง และนำกลับมาใช้ใหม่ได้

การทำงานของผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์

          ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์จะสร้างคลื่นกระแสไฟฟ้าเมื่อเกิดแรงกด  ท่อนาโนคาร์บอนจะยิ่งเข้าใกล้กัน สิ่งนี้จะเป็นการเพิ่มความถี่ของคลื่นกระแสไฟฟ้า ระบบการสัมผัสเทียมที่ผลิตเป็นสัญญาณดิจิทัล ซึ่งสามารถบอกข้อมูลของแรงที่รับได้บริเวณปลายนิ้วผ่านการถอดรหัสด้วยความถี่ของคลื่นกระแสไฟฟ้า ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์มีความสามารถในการสร้างคลื่นกระแสไฟฟ้าที่มีความถี่เหมือนกับผิวหนังของมนุษย์ เป็นระบบที่ใช้พลังงานต่ำ สามารถเลียนแบบสัมผัสของมนุษย์ ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์จะต้องมีเซนเซอร์กว่า 1,000 ตัว ในบริเวณปลายนิ้วมือ ถึงจะรู้สึกได้เป็นอย่างดี ซึ่งนักวิจัยได้ทำการทดลองผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์ไว้และเชื่อมต่อเข้ากับสมองของหนูทดลอง และใช้คอมพิวเตอร์ในการแสดงว่า เมื่อเกิดแรงดันขึ้นบนผิวหนังเทียมของหนู เส้นประสาทของหนูจะเกิดการสื่อสารถึงข้อมูลที่ได้รับการสัมผัสได้

ประโยชน์ของผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์

          ช่วยให้การพัฒนาแขนขาเทียมที่ใช้ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ มีประสิทธิภาพมากขึ้น   ทำให้คนชราหรือผู้พิการสามารถสื่อสารอาการของตัวเองให้คนรอบข้างทราบได้อย่างทันท่วงที ซึ่งสามารถใช้วัดอัตราการเต้นของหัวใจแบบเรียลไทม์ ภายในผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์ ยังมีการฝังเซนเซอร์ ขนาดเล็กเข้าไปเพื่อส่งต่อข้อมูลเข้าสู่อุปกรณ์สมาร์ตโฟน และเก็บไว้ในระบบคลาวด์ เพื่อที่แพทย์จะสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยได้จากระยะไกล ทั้งนี้การใช้ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์ จะมีการแจ้งเตือนการทำงานที่ผิดปกติของผู้ป่วยโรคหัวใจ บนข้อมือของผู้ป่วยได้ อันจะทำให้อุปกรณ์เหล่านี้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดการสูญเสีย เพิ่มสัมผัสความรู้สึกของคนกลุ่มต่าง ๆ ที่สูญเสียความรู้สึกอันเป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับมนุษย์ทุกคน

แหล่งที่มา

เจาะใจ. (2561, 21 กุมภาพันธ์). E Skin’ เทคโนโลยีที่จะช่วยให้หุ่นยนต์มีสัมผัสได้เหมือนมนุษย์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562, จาก http://johjaionline.com/on-looker/e-skin-เทคโนโลยีที่จะช่วยให้หุ่นยนต์มีสัมผัสได้เหมือนมนุษย์

Ahead asia.  (2561, 1 กุมภาพันธ์). Electronic skin ตรวจจับโรคหัวใจ. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562. จาก https://ahead.asia/2018/02/21/ม-โตเกียวelectronic-skin-ตรวจจับ/.

Thongchai Cholsiripong.  (2561, 12 กุมภาพันธ์).  ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์ ทำหุ่นยนต์มีประสาทสัมผัสใกล้เคียงมนุษย์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2562, จาก https://brandinside.asia/e-skin-robot-sense-like-human/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
E-Skin, ผิวหนัง,อิเล็กทรอนิกส์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันพฤหัสบดี, 11 เมษายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เทคโนโลยี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10467 E-Skin ผิวหนังอิเล็กทรอนิกส์ /article-technology/item/10467-e-skin
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
แจกฟรี เอกสารด้านสะเต็มศึกษา
แจกฟรี เอกสารด้านสะเต็มศึกษา
Hits ฮิต (61572)
ให้คะแนน
สสวท. แจกฟรี เอกสารด้านสะเต็มศึกษา ดาวน์โหลดเลย "ความรู้เบืองต้นสะเต็มศึกษา" https://goo.gl/QNimHb ...
พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี
พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ...
Hits ฮิต (36266)
ให้คะแนน
พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ฉบับอิเล็กทรอนิกส์นี้ ประกอบด้วยคำศัพท์หมวดวิชาต่ ...
IPST Digital Maths
IPST Digital Maths
Hits ฮิต (30327)
ให้คะแนน
ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.scimath.org/ipst-digital-maths/item/3978-ipst-digital-maths

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)