logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

กระบวนการทางวิศวกรรมสำคัญกับสะเต็มศึกษาอย่างไร?

โดย :
สุภาวดี สาระวัน
เมื่อ :
วันพุธ, 06 มีนาคม 2562
Hits
40193

       เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สะเต็มศึกษา ( STEM Education) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการบูรณาการศาสตร์ความรู้ 4 แขนงวิชาได้แก่ วิทยาศาสตร์ (S=Science) เทคโนโลยี (T=Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (E=Engineering) และคณิตศาสตร์ (M=Mathematics) หรือที่เรารู้จักกันดีว่าสะเต็ม (STEM) เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้นั้นนำไปสู่การประยุกต์สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ รวมไปถึงกระบวนการแก้ปัญหาในการทำงานและการดำรงชีวิตของผู้เรียน ศาสตร์ความรู้แขนงหนึ่งที่สอดคล้องกับการก่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะการแก้ปัญหาและสามารถตัดสินปัญหาที่เกิดเฉพาะหน้า หรือปัญหาที่มีปัจจัยหรือขอบเขตจำกัด สิ่งสำคัญในกระบวนการแก้ปัญหานี้นอกจากศาสตร์ความรู้และทักษะการสืบเสาะทางด้านวิทยาศาสตร์แล้วนั้นเห็นจะมองข้ามกระบวนการทางวิศวกรรมไปมิได้เช่นเดียวกัน

      กระบวนการทางวิศวกรรมคืออะไร? แตกต่างอย่างไรกับวิศวกรรมศาสตร์? และสำคัญกับสะเต็มศึกษา อย่างไร? หากกล่าวถึง วิศวกรรมศาสตร์นั้นจะหมายถึงศาสตร์ที่เป็นการประยุกต์ความรู้ ทักษะ กระบวนการ และความเชี่ยวชาญในเชิงวิทยาศาสตร์ เศรษฐกิจและการนำไปสู่การปฏิบัติจริง ดังนั้นวิศวกรรมศาสตร์ใน     สะเต็มจึงหมายถึงศาสตร์ด้านกระบวนการ มากกว่าจะเป็นศาสตร์อย่างวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยเน้น การออกแบบ การวางแผนเพื่อแก้ปัญหา การใช้องค์ความรู้ต่างๆมาสร้างสรรค์ออกแบบผลงานภายใต้ข้อจำกัด หรือเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งเป็นกระบวนการออกแบบหรือสร้างบางสิ่งขึ้นมาโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง (สุธีระ ประเสริฐสรรพ์, 2559 อ้างถึงใน สุทธิดา จำรัส, 2560)

9117
ภาพแผนผังกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม
ที่มา http://www.stemedthailand.org

       วิศวกรรมศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ทางด้านแนวคิดที่พัฒนาและประยุกต์มาจากการรวมกันของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนเกิดการเชื่อมโยงและบูรณาการออกมาเป็นสะเต็ม เช่น ศาสตร์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี  โดยกระบวนการทางวิศวกรรมหรือ Engineering Design Process : EDP ในแวดวงวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีในบ้านเรานั้นจะเห็นได้จากตัวอย่าง EDP 5 ขั้นตามรูปแบบของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ดังนี้ เริ่มต้นจาก 1) การระบุประเด็นปัญหา: Identify a Challenge 2) การค้นหาแนวคิดที่เกี่ยวข้อง: Explore Ideas 3) การวางแผนและพัฒนา: Plan & Develop 4) การทดสอบและประเมินผล: Test & Evaluate และ 5) การนำเสนอผลลัพธ์: Present the Solution เราจะเห็นได้ว่ากระบวนการเหล่านี้เน้นที่กระบวนการแก้ปัญหา คิดอย่างเป็นระบบ คิดออกแบบอย่างสร้างสรรค์ การระดมสมองการวางแผนแก้ปัญหา รวมถึงการพัฒนาและนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงในโลกแห่งความจริงอีกด้วย

          วิศวกรรมศาสตร์นั้นมิได้เป็นเพียงแค่ศาสตร์วิชาหนึ่งที่ปรากฎหรือถูกบันทึกไว้ในหลักสูตรเพียงแค่นั้น แต่วิศวกรรมศาสตร์ยังเน้นที่กระบวนการในการแก้ปัญหาหรือที่เราเรียกว่ากระบวนการทางวิศวกรรมนั่นเอง วิศวกรรมศาสตร์ยังก่อให้เกิดการเรียนรู้จากแก้ปัญหาได้จริง การเกิดองค์ความรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเรียนรู้กระบวนการนี่แหละที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ ทำให้ประเทศเกิดการพัฒนาเท่าทันโลกเท่าทันเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำไปมากในยุคปัจจุบัน เราจะสามารถประยุกต์ใช้วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายในการพัฒนานวัตกรรมหรือแก้ปัญหาใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันหรือแม้แต่ในที่ทำงาน ซึ่งเป้าหมายของการเรียนรู้วิศวกรรมศาสตร์ในสะเต็มศึกษาก็คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เฉกเช่นเดียวกับการใช้กระบวนการสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา ซึ่งหากจะกล่าวไปแล้วทั้งสองกระบวนการนี้มีความคล้ายคลึงและสอดคล้องกัน เพราะทั้งคู่ทำให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ด้วยตนเอง ก่อให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลในการเรียนรู้ได้อย่างแท้จริงเช่นเดียวกัน

แหล่งที่มา

สุทธิดา จำรัส. (2560). นิยามของสะเต็มและลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (ก.ค.-ธ.ค.). หน้า 13-34. สืบค้น 13  กันยายน 2561, จาก http://www.edjournal.stou.ac.th/filejournal/

ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ. (2557). รูจักสะเต็ม. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2561,

จาก http://www.stemedthailand.org/

Bybee, R.W. (2010, 27th August). What Is STEM Education?. Retrieved March 18, 2018, from http://science.sciencemag.org/content/329/5995/996

National Research Council, 2012. A Framework for K-12 Science Education: Practices, Crosscutting Concept, and Core Ideas. Committee on New Science Education Standards, Board on Science Education, Division of Behavioral and Social Science and Education. Washington, DC: National Academy Press.

Vasquez, J.A., Sneider, C., and Comer, M. (2013). STEM Lesson Essentials: Integrating Science, Technology, Engineering, and Mathematics. Portsmouth, NH: Heinemann.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สะเต็มศึกษา, STEM, EDP, กระบวนการเชิงวิศวกรรม
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันเสาร์, 13 ตุลาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภาวดี สาระวัน
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
สะเต็มศึกษา
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9117 กระบวนการทางวิศวกรรมสำคัญกับสะเต็มศึกษาอย่างไร? /article-stem/item/9117-2018-10-18-09-00-16
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)