logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ถ้าพูดถึงสะเต็มนึกถึงอะไร

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 26 กรกฎาคม 2561
Hits
22311

         คุณเคยนึกย้อนไปถึงครั้งแรกที่ได้ยินคำว่า สะเต็ม (STEM) กันบ้างหรือไม่ แล้วในขณะนั้นคุณคิดถึงอะไร หรือในความเข้าใจแรกที่คุณเข้าใจ อะไรคือผลลัพธ์ของคำว่า สะเต็ม  บทความนี้เขียนจากประสบการณ์ที่เคยลองสอบถามทั้งจากนักเรียน คุณครู จากหลาย ๆ ท่านว่า ถ้าพูดถึงสะเต็มนึกถึงอะไร รู้หรือไม่ส่วนใหญ่ให้คำตอบว่าอะไร ?

         ส่วนใหญ่ให้คำตอบเหมือนกันว่า คือ หุ่นยนต์หรือ Robot ซึ่งไม่ได้ความว่าเป็นคำตอบที่ถูกหรือผิด เพียงแต่เป็นคำถามเพื่อบอกเล่าประสบการณ์ให้ชวนคิดเท่านั้นเอง ว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราเข้าใจคำว่าสะเต็มกันมากน้อยเพียงใด และเข้าใจว่าอย่างไรบ้าง  คำตอบที่ตอบมาสื่อถึงกระบวนการหรือผลลัพธ์อย่างไร

7867 1
ภาพ ปัญหา ชนวนความคิดของของการเกิดวิวัฒนาการ
ที่มา https://pixabay.com/th , ColiN00B

         แต่ถ้าวิเคราะห์กันจริง ๆ ก็น่าแปลกใจชวนให้ลองสังเกตกิจกรรมเกี่ยวกับสะเต็มที่เราเคยได้พบเห็นหรือได้ทำกันดู ก็อาจจะพบว่าส่วนใหญ่เรามักเห็นความชัดเจนของปลายทางหรือผลลัพธ์ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่มักมีผลลัพธ์เป็นเป็นสิ่งประดิษฐ์หรือสิ่งที่สร้างออกมา  ล้วนเป็นนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่  และเมื่อมองเข้าไปในเชิงลึกตามแนวทางการเรียนรู้แบบสะเต็มที่ต้องการบูรณาการความรู้ทั้ง  4 ด้านคือวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)  ผลลัพธ์ที่ว่านั้นดูเหมือนจะให้ความสำคัญเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีอยู่เสมอ ซึ่งก็ไม่แปลกอะไรนักเพราะจริง ๆ แล้ว เทคโนโลยีล้วนเป็นการบูรณาการร่วมกันจากศาสตร์ทั้ง 3 ด้านที่เหลือมาตั้งแต่เริ่มต้นอยู่แล้ว

         แต่ทว่าในความเป็นจริงถ้าพูดถึง สะเต็ม เราควรดูที่กระบวนการหรือผลลัพธ์ ในความคิดของผู้เขียนคำตอบคือกระบวนการอย่างแน่นอน  กระบวนการเป็นตัวสร้างความเชื่อมโยงของแต่ละศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ คิดเป็น และนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาหรือออกแบบนวัตกรรมต่าง ๆ  ทั้งนี้ก็อาจไม่จำเป็นต้องครบทั้ง 4 ด้าน แต่ต้องให้มองเป็นภาพรวมได้ว่าเมื่อจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการแล้ว ได้เรียนรู้ครบตามจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละด้านครบหรือไม่

          อย่างที่กล่าวไปตั้งแต่แรกว่าไม่มีใครผิดไม่มีใครถูกสำหรับคำถามตั้งต้นนี้ ถึงแม้สะเต็มจะถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนบ้านเราได้นานแล้วก็ตาม คนที่เข้าใจคำว่าสะเต็มอย่างลึกซึ้งก็ยังอาจมีน้อยอยู่ กระบวนการคือสิ่งสำคัญที่สุดของสะเต็ม ก็ต้องใช้เวลาพอสมควรที่จะสร้างบุคลากรต้นแบบเพื่อกระจายความรู้ความเข้าใจนี้ออกไปอย่างกว้างขวาง

          สุดท้ายที่ต้องให้ความสำคัญคือ การเรียนรู้แบบสะเต็ม จำเป็นต้องเน้นฝึกทักษะปฏิบัติมากกว่าเรียนรู้ทางทฤษฎี ประกอบกับการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยผ่านการคิดอย่างสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบตามกระบวนการเรียนรู้แบบสะเต็ม

แหล่งที่มา

สิรินภา กิจเกื้อกูล. สะเต็มศึกษา (ตอนที่ 2): การบูรณาการสะเต็มศึกษาสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน.  สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, วารสารศึกษาศาสตร์
       มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 137-142.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
สะเต็ม, เทคโนโลยี, วิวัฒนาการ, หุ่นยนต์
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 04 มิถุนายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
สะเต็มศึกษา
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7867 ถ้าพูดถึงสะเต็มนึกถึงอะไร /article-stem/item/7867-2018-02-22-02-52-48
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)