logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • กาแฟ คาเฟ่ โกปี้ ตอนที่ 1

กาแฟ คาเฟ่ โกปี้ ตอนที่ 1

โดย :
ณัฐวิญญ์ สิรเดชธราทิพย์
เมื่อ :
วันจันทร์, 28 มกราคม 2562
Hits
11433

          ตื่นเช้ามาหลายคนคงต้องถามหากาแฟ เพราะมีความเชื่อว่ากาแฟจะทำให้เราเกิดการกระปรี้กระเปร่า รู้สึกสดชื่นขึ้น กาแฟกลายเป็นเครื่องดื่มที่นิยมไปทั่วโลกโดยเริ่มจากชาวยุโรป  เส้นทางกาแฟในประเทศไทย ที่หากนับก้าวแรกมีต่างชาตินำกาแฟเข้ามาบริโภคตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งมาจากการติดต่อค้าขายกับชาวยุโรป ว่ากันว่ามีการบันทึกในจดหมายเหตุของออกญาโกษาธิบดีเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสก็มีการบันทึกเกี่ยวกับกาแฟไว้แล้ว

ประวัติการค้นพบกาแฟ

          เชื่อกันว่ากาแฟถูกค้นพบครั้งแรกโดยเด็กเลี้ยงแพะชาวอาบิสซีเนีย (ประเทศเอธิโอเปียในปัจจุบัน) ชื่อคาลดี จากการสังเกตพบว่า แพะดูกระปรี้กระเปร่าขึ้นเมื่อกินผลไม้สีแดงของต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งก็คือต้นกาแฟนั่นเอง ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 16 กาแฟถูกปลูกโดยชาวอาหรับเท่านั้น คำว่ากาแฟ เป็นคำที่มาจากคำว่า "เกาะหฺวะหฺ" ในภาษาอาหรับ แล้วเพี้ยนเป็น กาห์เวห์ ในภาษาตุรกี ก่อนที่จะกลายเป็น คอฟฟี ในภาษาอังกฤษ และกาแฟ ในภาษาไทย ชาวอาหรับหวงแหนพันธุ์กาแฟมาก จึงส่งออกเฉพาะเมล็ดกาแฟที่คั่วสุกแล้วเท่านั้น แต่ในที่สุดเมล็ดกาแฟก็ออกมาสู่โลกกว้าง โดยการลักลอบนำออกมาโดยชาวอินเดียที่ไปแสวงบุญที่เมกกะ และก็ได้แพร่ขยายไปยังชวา เนเธอร์แลนด์ และทั่วยุโรปในที่สุด สำหรับทวีปอเมริกานั้น ต้นกาแฟถูกนำไปอย่างยากลำบาก โดยทหารเรือฝรั่งเศสในต้นศตวรรษที่ 18 ในครั้งแรกนั้น มีต้นกาแฟที่เหลือรอดชีวิตบนเรือมาขึ้นฝั่งอเมริกาได้เพียง 1 ต้น และก็ได้แพร่ขยายเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันดินแดนแห่งนี้ ได้กลายเป็นดินแดนที่ปลูกกาแฟมากที่สุดในโลก

9090 1

ภาพ  ต้นกาแฟ
ที่มา https://pixabay.com , connie_sf

ชนิดของเมล็ดกาแฟ

          ต้นกาแฟอาราบิก้า - บราซิลกาแฟมีมากกว่า 6,000 พันธุ์ แต่พันธุ์หลักๆ ที่ได้รับความนิยมมี 2 พันธุ์ ได้แก่ อาราบิก้า (Arabica) ซึ่งเป็นกาแฟแบบดั้งเดิม และมีรสชาติดี และ โรบัสต้า (Robusta) ซึ่งมีปริมาณกาเฟอีนสูง และสามารถปลูกในที่ที่ปลูกอาราบิก้าไม่ได้ (คำว่า robust ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ทนทาน) ด้วยความที่มีความทนทานมากกว่านี้เอง จึงทำให้กาแพโรบัสต้ามีราคาถูกกว่า แต่ผู้คนนิยมดื่มไม่มากนักเนื่องจากมีรสขมและเปรี้ยว ส่วนโรบัสต้าที่มีคุณภาพดีมักถูกนำไปใช้เป็นส่วนผสมของเอสเพรสโซ่ แบบผสม (เอสเพรสโซ่มีสองแบบใหญ่ ๆ คือแบบที่เป็นอาราบิก้าแท้ๆ กับแบบที่ผสมกาแฟชนิดอื่น ๆ)

          กาแฟอาราบิก้ามักจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามชื่อท่าเรือที่ใช้ส่งออก ท่าเรือที่เก่าแก่ที่สุดสองที่ได้แก่ ม็อคค่า (Mocha) และ ชวา (Java) กาแฟในปัจจุบันยิ่งมีความเจาะจงในที่ปลูกมากขึ้นเรื่อย ๆ ต้องมีการระบุถึงประเทศ ภูมิภาค และบางครั้งต้องบอกว่าปลูกที่พื้นที่บริเวณไหนเลยทีเดียว ผู้เชี่ยวชาญเรื่องกาแฟอาจจะถึงกับต้องประมูลกาแฟกัน โดยดูว่าเป็นล็อตหมายเลขเท่าใด กาแฟชนิดโรบัสต้าที่มีมูลค่าสูงที่สุดชนิดหนึ่งได้แก่ โกปิ ลูวัค (Kopi Luwak) ของอินโดนีเซีย เมล็ดของกาแฟชนิดนี้ถูกเก็บขึ้นมาจากมูลของชะมด (Common Palm Civet) (ตระกูล Paradoxirus) ซึ่งกระบวนการย่อยภายในร่างกายชะมดทำให้ได้รสชาติที่ดีเป็นพิเศษ เรียกเป็นภาษาไทยว่า กาแฟขี้ชะมดเป็นกาแฟที่แพงมาก เมื่อชงกาแฟจะมีราคาขายอยู่ที่แก้วละ 500 -1000 บาท เลยทีเดียว

          สำหรับกาแฟขี้ชะมดนี้มีความเป็นมาโดยถือกำเนิดขึ้นมาจากประเทศอินโดนีเซีย บนเกาะสุมาตรา โดยชาวบ้านเข้าไปเดินป่าแล้วบังเอิญเห็นขี้ชะมดที่มีเมล็ดกาแฟปนอยู่ แล้วเกิดเสียดาย จึงได้นำเมล็ดกาแฟนั้นมาล้างทำความสะอาดแล้วนำไปคั่วและชงดื่ม ปรากฏว่าได้กาแฟที่มีรสชาติดีมาก จึงได้เริ่มมีการเลี้ยงชะมดไว้ในไร่กาแฟ และกลายเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรให้อย่างมาก

          ส่วนกระบวนการผลิตกาแฟขี้ชะมดนั้นก็มีอยู่หลายขั้นตอน อย่างในไร่กาแฟที่มีการเลี้ยงชะมดเพื่อทำกาแฟขี้ชะมดนั้น เมื่อปลูกกาแฟ (สายพันธุ์โรบัสต้า) แล้วรอจนผลกาแฟสุกได้ที่ ก็จะให้เจ้าชะมดมากินผลกาแฟพวกนี้ ซึ่งต้องใช้ชะมดสายพันธุ์เอเชีย (Asia Palm Civet) โดยในประเทศอินโดนีเซีย ต้นกำเนิดของกาแฟขี้ชะมด ชาวพื้นเมืองจะเรียกชะมดว่า “ลูแว็ค” (Luwak)

          เมื่อชะมดกินผลกาแฟสุกเข้าไปแล้ว กรดและเอ็นไซม์ในกระเพาะของชะมดจะทำปฏิกิริยาเคมีคล้ายกับการหมัก โดยกระเพาะจะย่อยเฉพาะเปลือกและเนื้อของเมล็ดกาแฟ เหลือแต่เมล็ดกาแฟที่ย่อยไม่ได้แล้วก็ขับถ่ายออกมาจากนั้นคนก็จะไปเก็บขี้ชะมด แล้วแยกเอาเฉพาะเมล็ดกาแฟออกมาไปทำความสะอาด แล้วตาให้แห้งสุดท้ายก็นำมาคั่ว จนได้เป็นเมล็ดกาแฟคั่วที่สมบูรณ์ สามารถนำมาบดและชงดื่มได้ต่อไป

          สมัยก่อนหากใครอยากจะลิ้มลองรสชาติของกาแฟขี้ชะมดนั้น อาจจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นจากประเทศอินโดนีเซีย ต้นตำรับกาแฟขี้ชะมด ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศติมอร์เลสเต และประเทศเวียดนาม ในปัจจุบันชาวไร่กาแฟจะคัดเลือกผลกาแฟจากไร่มาให้ชะมดกิน เพื่อความรวดเร็ว สำหรับในประเทศไทยก็มีการทำฟาร์มเลี้ยงชะมด เพื่อผลิตกาแฟขี้ชะมดขาย หรือทำไร่กาแฟแล้วให้ชะมดป่ามากินผลกาแฟสุก โดยมีผลิตอยู่ที่ จ.ตราด, อ.หลังสวน จ.ชุมพร และที่ดอยช้าง จ.เชียงราย

ขั้นตอนและวิธีการทำกาแฟขี้ชะมด  ดังนี้

  1.  นำกาแฟเมล็ดสุกสีแดงให้ตัวชะมดกินโดยเริ่มให้กินตั้งแต่ตัวชะมดอายุประมาณ1 ขวบ ครึ่งจากนั้นเมื่อตัวชะมดขับถ่ายมูลออกมาก็เก็บมูลชะมดไปตากแดดบนตาข่ายโดยใช้ระยะเวลาในการตากแดด 7-8 วัน
  2.  เมื่อมูลชะมดแห้งดีแล้วก็เก็บมูลชะมดพร้อมตาข่ายแขวนไว้ในที่สูง โดยมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก เป็นระยะเวลา9 เดือน  เมื่อครบระยะเวลา 9 เดือน ก็สามารถนำกาแฟขี้ชะมดออกจำหน่ายได้

      ตัวชะมด 1 ตัว ขับถ่ายมูลออกมา 5 กิโลกรัมต่อปี กาแฟขี้ชะมดสามารถผลิตได้ปีละ 1 ครั้ง เนื่องจากผลผลิตกาแฟจะออกผลผลิตปีละ 1 ครั้งที่จะให้ตัวชะมดกิน หลังจากที่หมดช่วงหน้ากาแฟก็ให้ตัวชะมดกินนมหรือกล้วยตามปกติ  "การเลี้ยงชะมดเพื่อให้กินกาแฟก็จะต้องขังชะมดไว้กับต้นกาแฟ ชะมดก็จะเลือกกินกาแฟที่สุกพอดี กาแฟจะหมักอยู่ในกระเพาะและลำไส้ชะมด 2-3 วัน จากนั้นกาแฟก็จะดูดเอนไซม์ภายในลำไส้ของชะมดออกมาทำให้กาแฟและมีสรรพคุณทางสมุนไพร ชะมด 1 วันถ่ายออกมา 1 ก้อนเท่านั้น แต่หลังจากที่ต้นกาแฟหยุดให้ผล คนเลี้ยงสามารถให้กินกล้วยแทนได้"

     ในตอนหน้าเรามารู้จักกาแฟแบบอื่นๆ การกินกาแฟจะช่วยให้เรารู้สึกสดชื่นได้อย่างไร

แหล่งที่มา

วัฒนธรรมกาแฟ. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2561.จาก https://www.prachachat.net/columns/news-64435

กาแฟขี้ชะมด. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2561.จาก http://suphani.blogspot.com/p/blog-page_2700.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
กาแฟ ,คาเฟ่ ,โกปี้
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 28 มกราคม 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐวิญญ์ สิรเดชธราทิพย์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ป.1
ป.2
ป.3
ป.4
ป.5
ป.6
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
ปฐมวัย
ประถมศึกษาตอนต้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9090 กาแฟ คาเฟ่ โกปี้ ตอนที่ 1 /article-science/item/9090-1-9090
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ว่าด้วยเรื่องของ “ไฝ”
ว่าด้วยเรื่องของ “ไฝ”
Hits ฮิต (23335)
ให้คะแนน
ว่าด้วยเรื่องของ 'ไฝ' การมีไฝนั้นเป็นความเชื่อมาตั้งแต่โบราณว่าคนที่มีปานหรือไฝตามจุดต่าง ๆ ของร่าง ...
มารู้จักผึ้งในเมืองไทย
มารู้จักผึ้งในเมืองไทย
Hits ฮิต (119688)
ให้คะแนน
....มารู้จัก ผึ้งในเมืองไทย... สุนทร ตรีนันทวัน สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่จัดเป็นสัตว์สังคมการเป็นอยู ...
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้
Hits ฮิต (42322)
ให้คะแนน
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้ สุนทร ตรีนันทวัน เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เรื่องหนึ่ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)