logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

การตรวจหาลายนิ้วมืออย่างง่ายโดยใช้น้ำยาบ้วนปาก

โดย :
ณัฐวิญญ์ สิรเดชธราทิพย์
เมื่อ :
วันจันทร์, 21 มกราคม 2562
Hits
50389

          สำนวน “จับมือใครดม” เป็นสำนวนไทยที่ไว้สำหรับเปรียบเปรยเชิงประชดประชัด ประมาณว่าของหายหาคนขโมยไม่ได้ แต่จริง ๆ เราจะรู้ว่าใครเอาของเราไปไม่ใช่มาจับมือดมแล้วจะรู้ น่าจะหมายถึง เวลาเราทำกับข้าวแล้วมีคนแอบมาหยิบกินไปก่อน พอจับมือดมก็รู้เลยว่ามือมีกลิ่นกับข้าวอะไร ถูกเอาไปชิมก่อน

          คราวนี้พอมาถึงว่าถ้าของเราหายเราจะทำยังไง.....

9085 1

ภาพที่ 1 การตรวจหาลายนิ้วมือ

ที่มา https://pixabay.com , OpenClipart-Vectors

       ในสถานที่เกิดเหตุนักนิติวิทยาศาสตร์จะมีเครื่องมือเพื่อตรวจสอบหาลายนิ้วมือในสถานที่เกิดเหตุว่าใครเป็นคนมีส่วนอยู่ในสถานที่เกิดเหตุบ้าง ตอนนี้หลายคนที่เป็นแฟนการ์ตูนโคนัน จะต้องนึกถึงนักสืบตัวจิ๋วที่ใส่แว่นตาใหญ่ ๆ มีแว่นขยาย มีนาฬิกาคอยยิงยาสลบ เป็นแน่ 

       การตรวจหาลายนิ้วมือในสถานที่เกิดเหตุจะใช้น้ำยาที่มีความเฉพาะและที่สำคัญต้องเรืองแสงได้ด้วย เราจะพบว่านักนิติวิทยาศาสตร์จะใช้ AgNO3 (ซิลเวอร์ไนเตรต) ซึ่งเป็นสารประกอบของเงิน และมีความสามารถในการเรืองแสงยูวี แล้วหลังจากนั้นก็จะใช้ผงถ่านปัดเบาๆ บริเวณที่เกิดรอยนิ้วมือ ปิดด้วยสก็อตเทปแล้วค่อย ๆ แกะลายนิ้วมือมาติดลงบนกระดาษเพื่อเป็นหลักฐานต่อไป ดูเป็นเรื่องง่าย ๆ แต่จริง ๆ แล้วไม่ง่าย ในบทความนี้เราจะมาลองศึกษาการเกิดลายนิ้วมือและมาลองหาลายนิ้วมือกันดูบ้างว่าทำอย่างไร

ลายนิ้วมือเกิดจากอะไร

          ผิวหนังบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้าของเราจะมีลักษณะพิเศษคือ นอกจากจะมีความหนามากกว่าส่วนอื่นแล้ว ก็ยังมีส่วนที่เป็นสัน (Ridge) และส่วนที่เป็นร่อง (Furrow) ซึ่งจะประกอบขึ้นเป็นลวดลายที่ไม่ซ้ำกันเลย ไม่ว่าจะเป็นลายที่บริเวณปลายนิ้ว ฝ่ามือและฝ่าเท้า สันและร่องเหล่านี้จะก่อให้เกิดความฝืด ทำให้เราหยิบจับของได้สะดวกขึ้นประวัติของลายนิ้วมือ

           คนเรารู้จักใช้ลายนิ้วมือให้เป็นประโยชน์กันมานานแล้ว โดยชาวจีนและชาวอัสซีเรียนจะเป็นกลุ่มแรก ที่ใช้รอยพิมพ์ของลายนิ้วมือบนดินเหนียวแทนการเซ็นชื่อในการค้าขาย 

9085 2

ภาพที่ 2 ลายนิ้วมือ
ที่มา https://pixabay.com , OpenClipart-Vectors

        รูปแบบของเส้นนูนที่อยู่บนลายนิ้วมือ เกิดขึ้นตั้งแต่ตอนเป็นทารกอยู่ในครรภ์ของมารดา และจะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ในเดือนที่ 7 ซึ่งการที่เรามีลายนิ้วมือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้นส่วนหนึ่งมาจากยีนที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบของเส้นนูนบนนิ้วมือ ฝ่ามือ นิ้วเท้า และฝ่าเท้า แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะฝาแฝดที่มีดีเอ็นเอเหมือนกันก็ยังมีรูปแบบเส้นนูนที่แตกต่างกันด้วย เนื่องจากมีปัจจัยอื่นที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบของลายนิ้วมือด้วย เช่น ตำแหน่งของตัวอ่อนในครรภ์ การไหลเวียนของน้ำคร่ำ หรือแม้แต่ความยาวของสายสะดือ ทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้ลักษณะของลายนิ้วมือในแต่ละคนมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันไป โอกาสที่เราจะมีลายนิ้วมือเหมือนกับใครอีกคนนั้นมีเพียง 1 ใน 64 พันล้านเท่านั้น

        รูปแบบเหล่านี้เกิดขึ้นบริเวณชั้นผิวหนังที่เรียกว่า Basal Layer ซึ่งมีเซลล์เรียงตัวเป็นแถวเดียว อยู่ระหว่างชั้นล่างสุดของชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) กับชั้นบนสุดของชั้นหนังแท้ (Dermis) ที่ Basal Layer นี้ มี Basal Cells ซึ่งจะแบ่งตัวเพื่อสร้างเซลล์ผิวหนังขึ้นใหม่ทดแทนเซลล์ผิวหนังเก่าที่ตายและดันให้มันหลุดลอกออกไป แต่สำหรับในตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์นั้น Basal Layer จะเติบโตได้เร็วกว่าชั้นล่างสุดของชั้นหนังกำพร้าและชั้นหนังแท้ที่ขนาบอยู่ จึงทำให้เกิดการพับไปมาของ Basal Layer กลายเป็นรูปแบบที่หลากหลายของลายนิ้วมือนั่นเอง เมื่อรูปแบบของลายนิ้วมือเกิดใน Basal Layer ความเสียหายที่ผิวหนังชั้นตื้นที่เกิดจากการขูดขีดเพียงเล็กน้อยหรือแม้แต่การถูกไฟไหม้ จึงไม่สามารถทำให้รูปแบบของลายนิ้วมือเปลี่ยนแปลงไปได้ ผิวหนังที่สร้างขึ้นใหม่จะมีรูปแบบเดิม เว้นเสียแต่ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นในชั้นที่ลึกลงไป

        ลายนิ้วมือถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการระบุตัวอาชญากรครั้งแรก ในแคว้นเบงกอล ประเทศอินเดีย โดยตำรวจชาวอังกฤษชื่อ Sir Edward Richard Henry ในปี พ.ศ. 2445 สหรัฐอเมริกา เริ่มใช้ลายนิ้วมือในการจำแนกตัวบุคคล และในปีต่อมาเรือนจำแห่งรัฐนิวยอร์ก ก็เริ่มการพิสูจน์ยืนยันตัวผู้ต้องขังโดยใช้ลายนิ้วมือ

การหาลายนิ้วมือแฝงแบบง่าย ๆ

          คราวนี้ถึงบทบาทของการเป็นนักสืบจำเป็นด้วยการลองหาลายนิ้วมือแบบง่าย ๆ จากกระดาษ ซึ่งเราจะพบลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษเยอะมาก เช่น ใบเสร็จรับเงินร้านสะดวกซื้อ สลิปจากการกด ATM หรือแม้แต่ธนบัตรซึ่งมีลายนิ้วมือมากมายจนแทบแยกไม่ออกว่าเป็นลายนิ้วมือใคร

          เริ่มต้นเราเอากระดาษที่เราคาดว่ามีลายนิ้วมือ ใช้ปากคีบคีบกระดาษไว้ อย่าให้ลายนิ้วมือของเราไปปนกับลายนิ้วมือแฝงที่อยู่บนกระดาษนั้น

9085 3

ภาพ น้ำยาบ้วนปาก

ที่มา https://pixabay.com , kreatikar

          ต้มน้ำยาบ้วนปาก แต่เราจะไม่ต้มโดยตรงเพราะน้ายาบ้วนปากระเหยได้ง่าย เราจึงต้องใช้การต้มผ่านน้ำร้อนให้ระเหยเป็นไอ

          แต่หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องใช้น้ำยาบ้วนปาก เพราะส่วนประกอบสำคัญของน้ำยาบ้วนปากจะมี ZnNO3 ซึ่งเป็นไนเตรทไอออนเช่นเดียวกับ AgNO3 ซึ่งเป็นสารสำหรับใช้ในการหาลายนิ้วมือแฝง และที่สำคัญหาได้ง่ายกว่า ราคาก็ถูกกว่าด้วย

9085 4

ภาพ ลายนิ้วมือแฝง

ที่มา https://pixabay.com , ar130405

        เมื่อมีไอของน้ำยาบ้วนปากเกิดขึ้น ให้เราใช้ปากคีบ คีบกระดาษที่มีรอยนิ้วมือแฝงไปอังไอของน้ำยาบ้วนปากที่ระเหยขึ้นมา สักครู่ลายนิ้วมือแฝงที่อยู่ในกระดาษก็จะปรากฏให้เห็น แต่ถ้าไม่ชัดให้ใช้แปรงขนกระต่าย หรือใช้แปรงบรัชออนปัดด้วยผงถ่านสีดำ แต่ถ้าไม่มีก็ใช้ผงบรัชออนนั่นแหละปัดเบาๆ ลายนิ้วมือก็จะชัดเจนขึ้นเอง

แหล่งที่มา

ลายนิ้วมือเกิดขึ้นได้อย่างไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561. จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/HIP/2013/09/30/entry-1

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ตรวจหา,ลายนิ้วมือ,อย่างง่าย,น้ำยาบ้วนปาก
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 21 ธันวาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐวิญญ์ สิรเดชธราทิพย์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
ฟิสิกส์
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 9085 การตรวจหาลายนิ้วมืออย่างง่ายโดยใช้น้ำยาบ้วนปาก /article-science/item/9085-2018-10-18-07-49-48
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)