ข้าวเป็นธัญญาหารหลักของชาวโลกจัดเป็นพืชสายพันธุ์เดียวกับหญ้า ซึ่งนับได้ว่าเป็นหญ้าที่มีขนาด ใหญ่ที่สุดในโลก และมีความหลากหลายทางชีวภาพสามารถปลูกขึ้นได้ง่าย มีความทนทานต่อทุกสภาพภูมิ ประเทศในโลก ไม่ว่าจะเป็นถิ่นแห้งแล้งแบบทะเลทราย พื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง หรือแม้กระทั่งบนเทือกเขาที่หนาวเย็น ข้าวก็ยังสามารถงอกขึ้นมาได้อย่างทรหดอดทน แต่อย่างไรก็ตามข้าวมักจะแสดงอาการเจ็บป่วยได้เช่นเดียวกับมนุษย์ มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ มีตาย มีโรคภัย มีศัตรูเฝ้ารุมเร้าทำลาย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ชาวนาไทยต้องคอยสังเกตสถานการณ์ที่เกิดขึ้น สังเกตสภาพดินฟ้าอากาศเพื่อการแก้ไขปัญหาป้องกันโรคภัย และป้องกันศัตรูเข้ามาทำลายต้นข้าว
ภาพที่ 1 แปลงนาเกษตรกร อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
ที่มา วรางรัตน์ เสนาสิงห์
ปัจจุบันในการปลูกข้าวของประเทศไทยยังพบปัญหาที่สำคัญและระบาดรุนแรงของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (brown planthopper) ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำมีรูปร่าง 2 ลักษณะคือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) ชนิดมีปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกลโดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่มส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบโดยวางไข่เป็นกลุ่มเรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอมมีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4 มิลลิเมตร เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย นอกจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะจัดเป็นแมลงศัตรูข้าวสำคัญทางเศรษฐกิจประเภทปากดูด ยังมีแมลงศัตรูข้าวสำคัญชนิดอื่นๆ เช่น แมลงประเภทเพลี้ยต่างๆ เช่น เพลี้ยกระโดดหลังขาว เพลี้ยจักจั่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยแป้ง เป็นต้น
ภาพที่ 2 วิธีตรวจนับจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ที่มา วรางรัตน์ เสนาสิงห์
ลักษณะการทำลาย
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากเซลล์ท่อน้ำท่ออาหารบริเวณโคนต้นข้าวระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวกแห้งตายเป็นหย่อมๆ เรียก "อาการไหม้" (hopperburn) โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวงซึ่งตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2–3 (generation) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวนาข้าวที่ขาดน้ำ ตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าวหรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัส โรคใบหงิก (rice ragged stunt) มาสู่ต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็นต้นเตี้ยใบสีเขียวแคบและสั้น ใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น
ภาพที่ 3 อาการปลายใบข้าวเหี่ยวแห้งและเริ่มไหม้
ที่มา วรางรัตน์ เสนาสิงห์
ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาด
วิธีการปลูกข้าว การปลูกข้าวแบบนาหว่านน้ำตมมีปัญหาการระบาดมากกว่านาดำ เพราะนาหว่านมีจำนวนต้นข้าวหนาแน่นทำให้อุณหภูมิและความชื้นในแปลงนาเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ประกอบกับนาหว่านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้อย่างต่อเนื่อง
การใช้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยอัตราสูงโดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้การเพิ่มจำนวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากปุ๋ยไนโตรเจนทำให้ใบข้าวเขียวหนาแน่น ต้นข้าวมีสภาพอวบน้ำเหมาะแก่การเข้าดูดกินและขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
การควบคุมน้ำในนาข้าว สภาพนาข้าวที่มีน้ำขังในนาตลอดเวลาทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มจำนวนได้มากกว่าสภาพที่มีการระบายน้ำในนาออกเป็นครั้งคราวเพราะมีความชื้นเหมาะแก่การเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
การใช้สารฆ่าแมลง การใช้สารฆ่าแมลงในระยะที่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นตัวเต็มวัยชนิดปีกยาว หรือช่วงที่อพยพเข้าในนาข้าวใหม่ ๆ (ข้าวระยะ 30 วันหลังหว่าน) ศัตรูธรรมชาติจะถูกทำลาย และสารฆ่าแมลงก็ไม่สามารถทำลายไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ทำให้ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่มีโอกาสรอดชีวิตสูง
การบริหารจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
และเมื่อพบว่าแมลงส่วนใหญ่เป็นตัวเต็มวัย จำนวนมากกว่า 1 ตัวต่อ 1 ต้นให้ใช้สารฉีดพ่นดังนี้
ส่วนในระยะที่ข้าวตั้งท้องถึงออกรวง เมื่อพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 10 ตัวต่อกอ หรือ 1 ตัวต่อ 1 ต้นให้ฉีดพ่นสารดังนี้
แหล่งที่มา
ประพาส วีระแพทย์. (2561, 22 สิงหาคม). ประวัติศาสตร์ของข้าวโลก. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2561, จาก http://www.arda.or.th/kasetinfo/rice/rice-histories.html
ภิรมณ์ญา ธรรมสอน. (2561, 22 สิงหาคม). ประวัติความเป็นมาของข้าว. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2561, จาก https://thairicebuu.wordpress.com/
สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว. (2561, 22 สิงหาคม). ศัตรูข้าว และการป้องกันกำจัด. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2561, จาก http://www.ricethailand.go.th/rkb/disease%20and%20insect/index.php-file=content.php&id=46.htm
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด
The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.
Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved.
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)