logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ฟีโรโมนนำทางของมดตัดใบไม้

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 12 พฤศจิกายน 2561
Hits
18924

          ดูเหมือนว่า มดหรือแมลงจะมีความคล้ายคลึงกับมนุษย์ในเรื่องของความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของกลุ่มจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่างกาย เมื่อการศึกษาใหม่เผยให้เห็นว่า สารเคมีนำทางที่มดใช้ในการสื่อสารระหว่างกันนั้นอาจไม่ได้ถูกสังเคราะห์ขึ้นจากมดทั้งหมด แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้ของพวกมัน

8497 1

ภาพที่ 1 การสื่อสารซึ่งกันและกันระหว่างมด
ที่มา https://www.flickr.com ,Andreas Kay

          เคมีนำทางหรือที่เรียกว่า ฟีโรโมน (Pheromone) นั้นเป็นสารประกอบเคมีที่สำคัญที่ถูกใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อประสานงานระหว่างประชากรของมดตัวเพื่อประโยชน์ในการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การรวบรวมทรัพยากรในด้านอาหารหรือพฤติกรรมเตือนภัย (Alarm behaviors) อย่างไรก็ดีการค้นพบที่น่าสนใจนี้เกิดขึ้นในมดตัดใบไม้ (Leafcutter ant) สายพันธุ์ Atta sexdens rubropilosa ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไปในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่รัฐเท็กซัสตลอดจนทางตอนเหนือของประเทศอาร์เจนตินาในแถบอเมริกาใต้

          การศึกษาพบว่า มดตัดใบไม้มีความสัมพันธ์กับแบคทีเรียที่ผลิตสารประกอบเคมีที่เรียกว่า Pyrazines โดยสารดังกล่าวนี้เป็นสารประกอบเฮเทอโรไซคลิก (Heterocyclic compounds) ธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่า เป็นสารประกอบระเหยในฟีโรโมนนำทาง (Trail pheromone) ที่หลั่งออกมาจากต่อมสร้างพิษ (Poison gland) ในมดตัดใบไม้

8497 2

ภาพที่ 2 มดตัดใบไม้ (Leafcutter ant) สายพันธุ์ Atta sexdens rubropilosa
ที่มา https://www.eurekalert.org/multimedia_ml/pub/5162.php

          นักชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาเปาลู ประเทศบราซิลค้นพบว่า แบคทีเรีย Serratia marcescens ที่อาศัยอยู่ภายในลำไส้ของมดตัดใบไม้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตสารระเหย Pyrazines รวมทั้งอาจเชื่อมโยงถึงการเป็นสื่อกลางการติดต่อสื่อสารภายในอาณาจักรของมดอีกด้วย แต่ถึงเช่นนั้นนักชีววิทยาก็ยังคงไม่แน่ใจในกระบวนการทำงานและยังมีข้อสงสัยที่ว่า เชื้อแบคทีเรีย S. marcescens ผลิตฟีโรโมนนำทางขึ้นหรือเพียงแค่มีส่วนช่วยในกระบวนการทั้งหมดเท่านั้น

          ด้วยข้อสงสัยที่ทำให้นักชีววิทยาสนใจนี้ ทีมนักวิจัยจึงได้รวบรวมฝูงมด รวมทั้งมดราชินี เพื่อนำมาใช้ทำการศึกษา โดยทำการแยกเชื้อแบคทีเรียจากมดและเลี้ยงเชื้อไว้ในอาหารเลี้ยงเชื้อ (Culture medium) และจากผลการศึกษาปรากฏว่า เชื้อที่แยกได้จากแบคทีเรีย S. marcescens ที่เพาะเลี้ยงไว้นั้นมีกลิ่นเช่นเดียวกับมด ทีมนักวิจัยจึงได้ทำการตรวจสอบสารประกอบระเหยที่ผลิตโดยแบคทีเรียเพิ่มเติม โดยในกรณีของมดตัดใบไม้สายพันธุ์ Atta sexdens rubropilosa นั้นตรวจพบสาร 2,5-dimethylpyrazine และ 3-ethyl-2,5-dimethylpyrazine ซึ่งถูกระบุว่าเป็นสารประกอบเคมีที่เป็นฟีโรโมนนำทางในมด  อย่างไรก็ดีจากการศึกษายังพบแบคทีเรียในต่อมสร้างพิษของมดด้วย นั่นจึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ยังคงข้องใจถึงกระบวนการสังเคราะห์สาร เนื่องด้วยมีความเป็นไปได้ว่า แบคทีเรียอาจมีการผลิตสารเคมีนี้ขึ้นก่อนที่มดตัดใบไม้จะเก็บสารดังกล่าวไว้ในต่อมสร้างพิษของพวกมัน

          แม้ว่าการศึกษาครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกที่มีการรายงานถึงการสังเคราะห์ทางเคมีที่เกิดขึ้นในมดและแบคทีเรียที่เกี่ยวข้อง แต่การค้นพบสาร Pyrazines ซึ่งผลิตขึ้นจากกลุ่มจุลินทรีย์ของมดตัดใบไม้ก็เป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของบทบาทของสารเคมีที่เฉพาะกลุ่ม ทั้งนี้ทีมงานวิจัยยังคงมีความตั้งใจที่จะศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดของมดตัดใบไม้เพื่อจำกัดกระบวนการสังเคราะห์สาร Pyrazines ให้แคบลง รวมทั้งยังมีศึกษาเชื้อแบคทีเรีย S. marcescens ในมดชนิดอื่นๆ อีกด้วย

แหล่งที่มา

MICHELLE STARR. (2018, April 11). The Chemical Ants Use to Communicate Might Not Be Produced by Ants. Retrieved May 22, 2018, From https://www.sciencealert.com/leafcutter-ants-microbiome-may-produce-communication-chemical-pyrazine

Eduardo A. Silva-Junior, Antonio C. Ruzzini, Camila R. Paludo, Fabio S. Nascimento, Cameron R. Currie, Jon Clardy.et al. Pyrazines from bacteria and ants: convergent chemistry within an ecological niche. Scientific Reports. 2018. 8; 2595.  Retrieved May 22, 2018,  From https://www.nature.com/articles/s41598-018-20953-6

Trail pheromone.  Retrieved May 22, 2018, From https://en.wikipedia.org/wiki/Trail_pheromone

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
มด, มดตัดใบไม้, ฟีโรโมน, Pheromone, สารเคมีนำทาง, จุลินทรีย์, พฤติกรรมเตือนภัย, Alarm behaviors, Pyrazines, สารประกอบเฮเทอโรไซคลิก, Heterocyclic compounds, Trail pheromone, ต่อมสร้างพิษ, Poison gland, สารละเหย
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 22 กรกฎาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
ประถมศึกษาตอนปลาย
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8497 ฟีโรโมนนำทางของมดตัดใบไม้ /article-science/item/8497-2018-07-18-04-43-51
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)