logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

วิทยาศาสตร์ของฟองอากาศ

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 08 พฤศจิกายน 2561
Hits
51420

          สีสันที่สดใสและรูปร่างทรงกลมที่ลอยสู่อากาศเป็นสิ่งที่ทำให้เด็กตื่นตาตื่นใจ นั่นจึงทำให้การเป่าฟองอากาศเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สร้างความสนุกเพลิดเพลิน รวมทั้งยังมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการในเรื่องของการเคลื่อนไหวและการมองเห็นให้กับเด็ก ๆ ทั้งนี้จากรูปร่างที่เห็นเป็นทรงกลมนั้นมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ควรทำความเข้าใจไว้เนื่องด้วยอาจเป็นประโยชน์สำหรับการตอบข้อสงสัยของเด็กน้อยช่างสังเกต

8492 1

ภาพที่  1 เด็ก ๆ ชอบเล่นฟองอากาศ
ที่มา https://pixabay.com , dagon

          ในความเป็นจริงแล้วฟองอากาศไม่ได้มีรูปร่างเป็นทรงกลมเพียงอย่างเดียว แต่สามารถมีรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปตามอุปกรณ์ที่ใช้สร้างฟองอากาศ อย่างไรก็ดีสำหรับบทความนี้จะอธิบายให้เข้าใจถึงรูปร่างโดยทั่วไปของฟองอากาศที่มีลักษณะเป็นทรงกลม

          ฟองอากาศ (Bubbles) หรือฟองสบู่เป็นชั้นฟิล์มบาง ๆ ของน้ำสบู่ที่ห่อหุ้มอากาศไว้และก่อตัวเป็นทรงกลม โดยมีพื้นผิวเป็นสีรุ้ง เมื่อมีแสงตกกระทบพื้นผิวของฟองสบู่จึงจะทำให้มองเห็นสีที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้สีของพื้นผิวของฟองสบู่จะแตกต่างจากสีรุ้งของรุ้งกินน้ำที่เกิดจากการหักเหของแสงที่ความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน โดยสีที่มองเห็นในฟองสบู่นั้นเกิดขึ้นจากการแทรกสอดของแสงที่สะท้อนออกมาจากแสงที่ตกกระทบชั้นฟิล์มบาง ๆ ของฟองสบู่ทั้งด้านนอกและด้านใน ซึ่งมีทั้งการแทรกสอดแบบหักล้างและเสริมกัน ขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นฟิล์มของฟองสบู่และมุมที่แสงตกกระทบ

8492 2

ภาพที่ 2 พื้นผิวของฟองสบู่มีสีรุ้งที่เปลี่ยนแปลงไปมา
ที่มา https://pixabay.com , PublicDomainPictures

          โดยทั่วไปในธรรมชาติ เรามักจะพบเห็นหยดน้ำเล็ก ๆ หรือหยดน้ำค้างบนใบไม้ซึ่งมีลักษณะเป็นทรงกลมเช่นเดียวกับฟองสบู่ ลักษณะเช่นนั้นเป็นผลมาจากพื้นผิวของของเหลวมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเข้าด้วยกัน และพยายามที่ดึงพื้นผิวของของเหลวให้ตึง โดยแรงดังกล่าวเรียกว่า แรงตึงผิวของของเหลว

          แรงตึงผิว (Surface Tension Force) เป็นแรงที่เกิดขึ้นบริเวณพื้นผิวของของเหลวที่พยายามดึงโมเลกุลที่ผิวหน้าของของเหลวเพื่อทำให้มีพื้นที่ผิวที่น้อยที่สุดหรือเพื่อไม่ให้พื้นผิวขาดออกจากกัน โดยมีทิศขนานกับผิวของของเหลว และตั้งฉากกับเส้นขอบที่ของเหลวสัมผัส

8492 3

ภาพที่ 3 แรงตึงผิวของของเหลวทำให้หยดน้ำค้างมีลักษณะเป็นทรงกลม
ที่มา https://pixabay.com , ju1959jjj

          ในกรณีของฟองของเหลวหรือฟองสบู่นั้นจะประกอบด้วยชั้นของฟิล์มบาง ๆ สองชั้น โดยมีชั้นของของเหลวอยู่ระหว่างพื้นผิวทั้งสอง ทั้งนี้แรงตึงผิวจะดึงโมเลกุลที่ผิวหน้าของของเหลวเข้าหากัน และพยายามทำให้ฟองอากาศมีพื้นที่ผิวที่น้อยที่สุดด้วยการหดตัวลงและบีบอัดอากาศภายในจนถึงจุดสมดุล ซึ่งเป็นจุดที่อากาศภายในฟองสบู่มีแรงดันที่เพิ่มขึ้นและต้านการหดตัวของชั้นฟิล์มทั้งสองในทุกทิศทางเพื่อไม่ให้หดตัวต่อไปได้อีก ด้วยเหตุนี้ฟองสบู่จึงมีลักษณะเป็นทรงกลม อย่างไรก็ตามฟองสบู่จะคงอยู่เพียงไม่กี่วินาที และมักจะระเบิดออกเมื่อสัมผัสกับสิ่งอื่นหรือระเบิดออกด้วยตัวเองเมื่อโมเลกุลของของเหลวที่อยู่ระหว่างผิวชั้นนอกและชั้นในระเหยไปจนหมด

8492 4

ภาพที่ 4 ฟองสบู่
ที่มา https://pixabay.com ,  Alexas_Fotos

          แม้ว่าการเป่าฟองสบู่จะกระตุ้นการทำงานร่วมกันระหว่างการเคลื่อนไหวและการมองเห็นได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือความสะอาดและสารเคมีที่เป็นส่วนผสมผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างฟองอากาศที่จะต้องไม่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังที่บอบบางของเด็ก ๆ

แหล่งที่มา

Soap bubble. Retrieved May 21, 2018, From https://en.wikipedia.org/wiki/Soap_bubble

Surface tension. Retrieved May 21, 2018, From https://en.wikipedia.org/wiki/Surface_tension

Ashish. (2018, April 19). Why Are Bubbles Round?. Retrieved May 21, 2018, From https://www.scienceabc.com/pure-sciences/why-are-bubbles-round.html

จุฑาทิพ ดันน์. ลูกโป่งฟองสบู่เสริมสร้างพัฒนาการ.  สืบค้นวันที่ 21 พฤษภาคม 2561. จาก https://th.theasianparent.com/ลูกโป่งฟองสบู่เสริมสร้างพัฒนาการ

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ฟองอากาศ, Bubbles, ฟอง, ฟองสบู่, สีรุ้ง, การหักเหของแสง, ความยาวคลื่น, การแทรกสอดของแสง, หยดน้ำ, หยดน้ำค้าง, แรงตึงผิว, Surface, Tension Force, แรงตึงผิวของของเหลว, ของเหลว, ฟิล์ม
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 22 กรกฎาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8492 วิทยาศาสตร์ของฟองอากาศ /article-science/item/8492-2018-07-18-04-33-57
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)