logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

6 สิ่งช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพุธ, 26 กันยายน 2561
Hits
17526

          อายุเป็นทั้งตัวเลขที่เพิ่มขึ้นและตัวเลขที่บ่งบอกถึงอัตราการเพิ่มขึ้นของภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ทั้งนี้อายุยังเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของภาวะสมองเสื่อมร่วมกับอิทธิพลของพันธุกรรมด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าเราจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอายุหรือข้อมูลทางพันธุกรรมของตัวเองได้ แต่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตก็มีส่วนสำคัญไม่น้อยที่จะช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะสมองเสื่อมได้

8473 1

ภาพที่ 1 ผู้สูงอายุ
ที่มา https://pixabay.com ,geralt

           “ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) มีความหมายครอบคลุมกลุ่มของอาการต่าง ๆ ทั้งการสูญเสียความทรงจำ ความสับสน รวมทั้งความสามารถในการคิดวิเคราะห์และดำเนินกิจกรรมประจำวัน ซึ่งโรคอัลไซเมอร์เป็นหนึ่งในรูปแบบที่พบได้บ่อยที่สุดและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสมองอย่างที่สุดเช่นกัน

  1. การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกระตุ้นสติปัญญา

          แม้การศึกษาจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม และมีหลายงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มคนที่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานจะเป็นกลุ่มคนที่มีโอกาสในพัฒนาการเกิดภาวะสมองเสื่อม แต่ถึงอย่างนั้น เราก็สามารถเสริมสร้างสุขภาพของสมองได้ด้วยตัวเองผ่านความสำเร็จในการทำงานหรือกิจกรรมนันทนาการ อย่างเช่น การอ่านหนังสือ การเล่มเกมไพ่ (เกมที่ไม่ใช่การพนัน)  การเล่มเกมปริศนาอักษรไขว้ (Puzzle or Crossword game) รวมทั้งการเรียนรู้ภาษาหรือทักษะใหม่ ๆ อย่างไรก็ดีหากมีการใช้ความคิดอยู่ตลอดเวลาจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้

8473 2

ภาพที่ 2 เกมครอสเวิร์ด
ที่มา https://pixabay.com ,stevepb

  1. รักษาความสัมพันธ์ทางสังคม

          จากคำกล่าวของอริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีกที่ว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม (Human being is social animal) ที่มีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกัน มีความสัมพันธ์ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ตามลำพังแต่เพียงผู้เดียวได้ ดังนั้นการติดต่อทางสังคมจึงมีความเชื่อมโยงกับภาวะสมองเสื่อม

          การมีส่วนร่วมในกิจกรรมกลุ่มอย่างเช่น การเป็นอาสาสมัคร เข้าร่วมหลักสูตรการเรียนโยคะหรือการออกกำลังกายในรูปแบบอื่น ๆ หรือการรับประทานอาหาร การดูภาพยนตร์  การเยี่ยมเยือนและการพูดคุยสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์หรือช่องทางอื่น ๆ มีส่วนช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์และลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้  อย่างไรก็ดี ไม่จำเป็นว่าคุณจะต้องกลายเป็นหนุ่มสาวสังคมจัดหรือมีชีวิตทางสังคมอยู่กับงานเลี้ยงสังสรรค์ตลอดเวลาเพื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม  เพียงแค่มีการติดต่อถึงกันอยู่เป็นประจำกับเพื่อนหรือคนที่ห่วงใยคุณและทำให้คุณรู้สึกยินดีที่ได้พูดคุยกันก็เพียงพอแล้วสำหรับการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพทางสมอง ทั้งนี้สิ่งที่น่าสนใจคือ ขนาดของมิตรภาพมีความสำคัญน้อยกว่าการติดต่อที่บ่อยครั้งและเป็นประจำ

  1. ควบคุมน้ำหนักและดูแลสุขภาพหัวใจ

          การมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนสามารถเพิ่มความดันโลหิตและความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภท 2 ซึ่งปัญหาสุขภาพทั้งสองอย่างนี้มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์และโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ทั้งนี้ในโรคอัลไซเมอร์หรือในบางครั้งอาจเรียกว่า “โรคเบาหวานในสมอง” การอักเสบและภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ของโรคทำร้ายเซลล์ประสาทและยับยั้งการสื่อสารระหว่างเซลล์สมอง ดังนั้นการปรับนิสัยการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายสามารถช่วยลดการอักเสบและช่วยปกป้องสมองได้ ทั้งนี้เคล็ดลับการรับประทานอาหารเหล่านี้อาจเป็นคำแนะนำที่ดีสำหรับการดูแลสุขภาพ

  • ลดอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไป
  • รับประทานอาหารจำพวกผัก ถั่ว ธัญพืช ปลาและน้ำมันมะกอก รวมทั้งลดการบริโภคอาหารสำเร็จรูป
  • หลีกเลี่ยงไขมันทรานส์ โดยหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารจานด่วนที่ปรุงด้วยวิธีการทอดด้วยน้ำมันพืชเติมไฮโดรเจน
  • รับประทานผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักใบเขียว ผลเบอร์รี่ และผักตระกูลกะหล่ำเช่น บร็อคโคลี่ เพื่อเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามิน
  • ปรุงอาหารเอง การปรุงอาหารเองจะทำให้คุณมั่นใจว่าได้รับวัตถุดิบที่สดใหม่และอุดมไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
  1. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

          การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของปอด หัวใจ และส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนโลหิต ทั้งนี้สารเคมีที่พบในบุหรี่ยังกระตุ้นการอักเสบและการเปลี่ยนแปลงภายในหลอดเลือดในสมอง รวมทั้งกระตุ้นการเกิดภาวะเครียดที่เกิดจากออกซิเดชัน (Oxidative stress) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เซลล์ภายในสิ่งมีชีวิตถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระ โดยกระบวนการเหล่านี้อาจนำไปสู่การพัฒนาเป็นภาวะสมองเสื่อมได้ ดังนั้นผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่เพื่อสุขภาพสามารถติดต่อขอคำแนะนำและปรึกษาได้ที่ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติหรือโทร 1600

  1. ออกกำลังกายให้มากขึ้น

          การออกกำลังกายอย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที เป็นเวลาที่เพียงพอต่อการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและหายใจแรงและเร็วขึ้น โดยกิจกรรมที่ดีสำหรับผู้เริ่มต้นคือ การเดิน การปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ หรือการเต้นรำ ทั้งนี้การออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะในวัยกลางคนหรือผู้สูงอายุจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม นอกจากนี้การออกกำลังกายยังเป็นกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพหัวใจและสุขภาพจิตด้วย อย่างไรก็ดีการออกกำลังกายเป็นประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมากแม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำเพื่อลดน้ำหนักก็ตาม

  1. การจัดการกับความเครียด

          ความเครียด ทั้งที่เป็นความเครียดเรื้อรังและถาวรส่งผลกระทบต่อสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่สมองในส่วนของหน่วยความจำที่สำคัญ ทั้งยังขัดขวางการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาท และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมได้ ดังนั้นการจัดการกับความเครียดจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดผลกระทบของปัญหาสุขภาพที่เป็นอันตราย ทั้งนี้วิธีเหล่านี้อาจช่วยให้คุณรับมือกับความเครียดได้

8473 3

ภาพที่ 3 การเล่นโยคะ
ที่มา https://pixabay.com ,StoclSnap

  • หายใจเข้าลึก ตอบสนองความเครียดอย่างเงียบ ๆ ด้วยการหายใจเข้าลึก ๆ
  • กำหนดกิจกรรมพักผ่อนประจำวัน ทั้งการเดินเล่นในสวน เล่นโยคะ หรือการอาบน้ำจะช่วยให้ผ่อนคลายได้มากขึ้น
  • การสร้างความสงบภายในด้วยการสวดมนต์หรือนั่งสมาธิอาจเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีต่อผลกระทบจากความเครียด
  • มีส่วนร่วมในกิจกรรมสันทนาการ การโหมงานหนักอย่างเดียวโดยไม่มีกิจกรรมผ่อนคลายไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อสุขภาพสมอง ดังนั้นควรใช้เวลาว่างสำหรับการฟังเพลง เล่นกีฬา หรือเล่นดนตรี ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีและทำให้มีความสุขมากขึ้น

แหล่งที่มา

Melinda Smith and Jeanne Segal. (March 2018). Preventing Alzheimer's Disease.  Retrieved April 16, 2018,  from https://www.helpguide.org/articles/alzheimers-dementia-aging/preventing-alzheimers-disease.htm

Helen Macpherson. (2018, April 4). Six things you can do to reduce your risk of dementia.  Retrieved April 16, 2018, from https://theconversation.com/six-things-you-can-do-to-reduce-your-risk-of-dementia-93061

How to reduce your risk of dementia.  Retrieved April 16, 2018, from https://www.alzheimers.org.uk/info/20010/risk_factors_and_prevention/737/how_to_reduce_your_risk_of_dementia

         

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ภาวะสมองเสื่อม, สมองเสื่อม, Dementia, ผู้สูงอายุ, พันธุกรรม, สูญเสียความทรงจำ, ความจำ, โรคอัลไซเมอร์, อัลไซเมอร์, Alzheimer's Disease
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 22 กรกฎาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8473 6 สิ่งช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อม /article-science/item/8473-6-8473
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)