logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเสียบสายชาร์จไว้กับแหล่งจ่ายไฟ แต่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพุธ, 19 กันยายน 2561
Hits
19495

           อุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้าที่ยังคงเสียบคาอยู่ที่ปลั๊กไฟติดผนังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าภายในครัวเรือน และอาจรวมถึงความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

8468 1

ภาพที่  1 การเสียบสายชาร์จอุปกรณ์ไฟฟ้า
ที่มา https://pixabay.com , StockSnap

          บ่อยครั้งที่เรามักจะลืมถอดอุปกรณ์ชาร์จพลังงานไฟฟ้าออกจากแหล่งจ่ายไฟหลัก (Main power supply) นั่นทำให้อุปกรณ์ชาร์จพลังงานยังคงเชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟโดยที่ไม่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าเชื่อมต่อกับสายชาร์จ ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ พลังงานไฟฟ้าที่สูญเสียไปและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่อุปกรณ์ถูกเชื่อมต่อกับแหล่งจ่ายไฟเป็นเวลานาน

          โดยทั่วไปแล้วระบบไฟฟ้าที่ใช้ในครัวเรือนจะมีแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 100 - 240 โวลต์ ความถี่ 50 - 60 เฮิรตซ์ ขึ้นอยู่กับระบบไฟฟ้าของแต่ละประเทศ ซึ่งในประเทศไทยจะใช้ไฟฟ้าที่แรงดัน 220 โวลต์ ความถี่ 50 เฮิรตซ์ อย่างไรก็ดีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นลำดับแรกก็คือ อุปกรณ์ชาร์จพลังงานไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่แปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating current หรือ AC) จากแหล่งจ่ายไฟหลักมาเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (Direct current หรือ DC) เพื่อให้ได้แรงดันไฟฟ้าที่ต่ำลงมาเท่ากับความต้องการของอุปกรณ์ไฟฟ้า

8468 2

ภาพที่ 2 แท่นชาร์จผนัง (Wall charger)
ที่มา https://pixabay.com , pagefact

          สำหรับแท่นชาร์จผนัง (Wall charger) ที่เป็นอุปกรณ์ชาร์จพลังงานไฟฟ้าในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างสมาร์ตโฟนนั้น จะประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ วงจรแปลงไฟฟ้า AC-DC (AC-DC convertor) หม้อแปลงไฟฟ้าแบบลดแรงดันไฟฟ้า (Step-down transformer) และอุปกรณ์รักษาระดับแรงดันไฟฟ้า (Regulator) ทั้งนี้แม้ว่าในปัจจุบันอุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้าจะมีการออกแบบที่แตกต่างกันออกไปแต่โดยกลไกพื้นฐานยังคงเป็นเช่นเดิม

          ด้วยแรงดันไฟฟ้าในครัวเรือนที่มีแรงดันสูงถึง 220 โวลต์ แรงดันไฟฟ้าสูงเช่นนี้ไม่สามารถใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ ดังนั้นหม้อแปลงไฟฟ้าแบบลดแรงดันไฟฟ้าในแท่นชาร์จผนัง จะช่วยลดแรงดันไฟฟ้าขาเข้าจากแหล่งจ่ายไฟหลักเป็นแรงดันไฟฟ้าขาออกที่ต่ำลงเพื่อให้สามารถใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้ เมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าแบบลดแรงดันไฟฟ้าลดแรงดันไฟฟ้าลงเหลือ 5 โวลต์ซึ่งเป็นแรงดันไฟฟ้าที่ถูกใช้เพื่อชาร์จแบตเตอรี่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ วงจรแปลงไฟฟ้า AC-DC จะแปลงไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้ากระแสตรง จากนั้นอุปกรณ์รักษาระดับแรงดันไฟฟ้าจะทำหน้าที่ในการควบคุมการไหลของกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาแรงดันที่จ่ายให้กับโหลดให้มีค่าคงที่

          โหลด (Load) หรือภาระทางไฟฟ้า เป็นกำลังไฟฟ้าที่ถูกใช้โดยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือวงจรไฟฟ้าต่างๆ ที่ต่ออยู่กับระบบจำหน่ายไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (Watt)

8468 3

ภาพที่ 3 สมาร์ตโฟนจะใช้แรงดันไฟฟ้าประมาณ 5 โวลต์ ในการชาร์จแบตเตอรี่
ที่มา https://pixabay.com , StockSnap

          ในกรณีที่มีการดึงสายชาร์จอุปกรณ์ออกจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เมื่อแบตเตอรี่แสดงการชาร์จ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ได้ถอดอุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้าออกจากปลั๊กไฟ อุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้าจะยังคงดึงกระแสไฟฟ้าที่น้อยที่สุดจากแหล่งจ่ายไฟหลัก ซึ่งนั่นทำให้เกิดการสูญเสียพลังงานไฟฟ้าโดยเปล่าประโยชน์ อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าจะสูญเสียพลังงานไฟฟ้า แต่ก็เป็นจำนวนเงินในอัตราที่น้อยมากต่อใบเสร็จค่าไฟฟ้ารายเดือน  สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงมากกว่าเงินที่ต้องเสียไป ในกรณีที่มีการเสียบอุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้าไว้เป็นเวลานาน ควรจะเป็นเรื่องของความปลอดภัย เนื่องด้วยพฤติกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดไฟไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรได้  ดังนั้นอย่าปล่อยให้เรื่องเล็ก ๆ อย่างการถอดอุปกรณ์ชาร์จพลังงานไฟฟ้ากลายเป็นเรื่องยุ่งยากที่เราละเลย อย่างน้อยที่สุดที่ควรตระหนักถึงก็คือ ความคุ้มค่าที่จะไม่เสี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตหรือทรัพย์สินจากอัคคีภัย

แหล่งที่มา

Ashish. (2018, March 30). What Happens If A Charger Is Plugged Into A Power Supply, But Not Connected To Any Device?.  Retrieved May 2, 2018,  From https://www.scienceabc.com/innovation/what-happens-if-a-charger-is-plugged-in-a-power-supply-but-not-connected-to-any-device.html

Alternating current.  Retrieved May 2, 2018,  From https://en.wikipedia.org/wiki/Alternating_current

Power Adapters.  Retrieved May 2, 2018,  From http://physics.highpoint.edu/~jregester/potl/Electronics/ACAdapter/ACAdapters.html

ผศ. ชายชาญ โพธิสาร. (31 พฤษภาคม 2560). บทที่ 1 พื้นฐานระบบไฟฟ้า.  สืบค้นวันที่ 2 พฤษภาคม 2561. จาก http://www.temcathai.com/iframe/download/2017-05-31/02/data-file-01.pdf  

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
อุปกรณ์ไฟฟ้า, อุปกรณ์ชาร์จไฟฟ้า, สายชาร์จ, ชาร์จ, ไฟฟ้า, ปลั๊กไฟ, ระบบไฟฟ้า, เชื่อมต่อ, แหล่งจ่ายไฟ, โทรศัพท์, สมาร์ทโฟน, แบตเตอรี่
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 22 กรกฎาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8468 สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเสียบสายชาร์จไว้กับแหล่งจ่ายไฟ แต่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ /article-science/item/8468-2018-07-18-03-58-12
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)