logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ภาวะมีโซโฟเนีย (Misophonia) กับเสียงที่น่าหงุดหงิด

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 27 สิงหาคม 2561
Hits
36256

         การรับประทานอาหารและพูดคุยกับคนในครอบครัวในช่วงมื้อค่ำ อาจไม่ใช่กิจกรรมที่ส่งเสียงดังรบกวนมากพอ แต่สำหรับบางคน เพียงแค่ได้ยินเสียงกลืนอาหาร เสียงลมหายใจ หรือเสียงเท้ากระทบพื้นก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้รู้สึกหัวเสีย และหากคุณมีอาการเช่นนั้นนั่นหมายความว่า คุณเป็นหนึ่งในผู้คนที่มีความทุกข์ทรมานจากความผิดปกติที่เรียกว่า ภาวะมีโซโฟเนีย (Misophonia)

8391 1

ภาพที่ 1 การรับประทานอาหารร่วมกันกับครอบครัว
ที่มา https://unsplash.com ,Kelsey Chance

          ภาวะมีโซโฟเนีย (Misophonia) หรืออาการเกลียดเสียง เป็นความผิดปกติที่มีความไวต่อเสียงที่เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้อื่น และโดยทั่วไปแล้วจะเป็นเสียงที่ผู้คนมักไม่ได้ให้ความสนใจเช่น เสียงเคี้ยวหมากฝรั่ง เสียงเคี้ยวอาหาร เสียงลมหายใจ เสียงกดปากกา เสียงกดบนแป้นพิมพ์ หรือเสียงเหรียญกระทบกัน ซึ่งเสียงเหล่านี้สามารถกระตุ้นการตอบสนองที่เรียกว่า การตอบสนองโดยการเผชิญหน้าหรือหลบหนี (fight-or-flight) ทำให้ผู้ที่มีอาการเกิดความรู้สึกด้านลบ มีอารมณ์ขุ่นเคือง รู้สึกหงุดหงิด จนถึงการแสดงอารมณ์โกรธเกรี้ยว หรืออยากหลีกหนีไปให้ไกลจากต้นเหตุของเสียง อย่างไรก็ดีการศึกษาเกี่ยวกับภาวะมีโซโฟเนียยังคงมีจำกัด และไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนว่าเป็นความผิดปกติทางคลินิก

          ความพยายามในการพิสูจน์ข้อสงสัยที่ว่า ภาวะมีโซเฟียเป็นความผิดปกติทางการแพทย์จริงหรือไม่? ทำให้ทีมงานนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษค้นพบว่า คนที่มีภาวะมีโซโฟเนียมีความผิดปกติเกี่ยวกับกลไกการทำงานของสมองในส่วนของสมองส่วนหน้า (Frontal lobe) และสมองกลีบอินซูลาส่วนหน้า (Anterior insular cortex หรือ AIC) ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่มีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์นั้นส่งผลให้ผู้ป่วยมีความไวต่อการตอบสนองต่อเสียงที่เฉพาะเจาะจงหรือที่เรียกว่า “Trigger sound”

8391 2

ภาพที่ 2 อาการเกลียดเสียง
ที่มา https://www.flickr.com ,Laurentiu Lese

          สำหรับการศึกษา ทีมนักวิจัยได้ทำการทดสอบด้วยการใช้เครื่องตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI) วัดการทำงานของสมองของอาสาสมัครที่ทั้งมีและไม่มีภาวะมีโซโฟเนียในขณะที่ฟังเสียงต่าง ๆ โดยแบ่งเป็นเสียงทั่วไป (Neutral sound) ได้แก่ เสียงฝน เสียงน้ำเดือด และเสียงความวุ่นวายในคาเฟ่ และเสียงที่ไม่พึงประสงค์ (Unpleasant sound) ได้แก่ เสียงเด็กร้องไห้ เสียงกรีดร้องของคน ในขณะที่เสียงกระตุ้น (Trigger sound) จะเป็นเสียงลมหายใจและเสียงการเคี้ยวอาหาร โดยการศึกษาพบว่า เสียงกระตุ้นทำให้สมองของผู้ที่มีภาวะมีโซโฟเนียมีการทำงานที่แตกต่างกันกับผู้ที่ไม่มีภาวะความผิดปกติ อย่างไรก็ดีไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากเสียงทั่วไปและเสียงที่ไม่พึงประสงค์

          การทำงานของสมองส่วนกลีบอินซูลาส่วนหน้ามีบทบาทสำคัญต่อการประมวลผลอารมณ์และควบคุมการตอบสนองต่อสิ่งเร้าภายนอกซึ่งผลการทดสอบพบว่า เมื่อกลุ่มตัวอย่างได้ฟังเสียงกระตุ้น ภาพสมองของผู้ที่มีภาวะมีโซโฟเนียจะแสดงให้เห็นถึงการทำงานที่สูงขึ้นอย่างชัดเจนของสมองส่วนหน้าและสมองกลีบอินซูลาส่วนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่รับผิดชอบต่อความทรงจดระยะยาว ความกลัว และอารมณ์ต่างๆ ในขณะที่ผู้ไม่มีภาวะความผิดปกตินี้จะมีการทำงานที่สูงขึ้นในส่วนของสมองกลีบอินซูลาส่วนหน้า แต่จะลดลงในส่วนของสมองส่วนหน้า นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่า เสียงกระตุ้นเหล่านั้นอาจทำให้เกิดการตอบสนองทางสรีรวิทยาในการมีอัตราการเต้นของหัวใจและการขับเหงื่อที่เพิ่มมากขึ้น

          จากข้อมูลดังกล่าวมีความสมเหตุสมผลและชี้ให้เห็นว่า กลไกการควบคุมการทำงานที่ผิดปกติของสมองทั้ง 2 ส่วน และความแตกต่างในรูปแบบของการเชื่อมต่อมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การพิสูจน์เงื่อนไขทางการแพทย์ของภาวะมีโซโฟเนียได้ และแม้ว่าภาวะมีโซโฟเนียจะยังไม่มีวิธีวินิจฉัยทางการแพทย์ แต่ผลการศึกษาก็เป็นข้อพิสูจน์ที่เป็นรูปธรรมได้ว่าอาการเกลียดชังเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงที่เกิดขึ้นจากการเคี้ยวหรือเสียงลมหายใจเป็นหนึ่งในอาการทางคลินิก อีกทั้งนักวิจัยยังเชื่อว่า ข้อมูลการค้นพบนี้จะช่วยให้สามารถประเมินทางเลือกในการรักษาได้

แหล่งที่มา

Misophonia.

          Retrieved March 26, 2018,
          from https://en.wikipedia.org/wiki/Misophonia

James Cartreine. (2017, April 27). Misophonia: When sounds really do make you “crazy”

          Retrieved March 26, 2018,
          from https://www.health.harvard.edu/blog/misophonia-sounds-really-make-crazy-2017042111534

 ALEXANDRA SIMON-LEWIS. (2017, February 3). If you hate the sound of people chewing or babies crying you may have misophonia

          Retrieved March 26, 2018,
          from http://www.wired.co.uk/article/misophonia-condition-receives-clinical-recognition

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ภาวะมีโซโฟเนีย (Misophonia) กับเสียงที่น่าหงุดหงิด
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 12 มิถุนายน 2561
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8391 ภาวะมีโซโฟเนีย (Misophonia) กับเสียงที่น่าหงุดหงิด /article-science/item/8391-misophonia
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)