logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

อันตรายจากยาที่ไม่ควรทานคู่กัน

โดย :
ณัฐดนัย เนียมทอง
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 16 สิงหาคม 2561
Hits
76657

          เราคงเคยได้ยินเรื่องการกินยาตีกัน กินยาหลายชนิดด้วยกัน หรือกินเครื่องดื่มผิดประเภท ขึ้นชื่อว่ายาแล้วก็เป็นอันตรายทั้งสิ้น ก่อนรับประทานต้องศึกษาให้ดีเป็นอย่างยิ่ง วันนี้มีข้อมูลมาฝากให้อ่านเตือนกันไว้นะครับ

          อันตรายจากการรับประทานยาเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกผู้คน แต่กลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษคือกลุ่มที่มีโรคประจำตัวที่มีความจำเป็นต้องรับประทานยาอยู่เป็นประจำเช่น กลุ่มผู้ป่วยเรื้องรังประเภทต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเอดส์ เป็นต้น หรืออาจเกิดกับผู้ป่วยที่เลือกการรักษากับสถานพยาบาลมากกว่าหนึ่งแห่งด้วยเช่นกัน

7949 1
ภาพ ยา
ที่มา https://pixabay.com

          ลักษณะอาการหนึ่งที่อาจเรียกฤทธิ์ของยาตัวหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเมื่อได้รับยาอีกตัวหนึ่งร่วมด้วย มักเรียกกันว่า ยาตีกัน ซึ่งอาจเกิดอันตรายจากการทานยาคู่กันดังกล่าวได้เช่น ทำให้เกิดอาการแพ้ยาหรืออาจจะทำให้ผลการรักษาลดลง และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตก็เป็นได้

กลุ่มยาที่มักพบเกิดปัญหาตีกัน

ยาลดความดันโลหิตสูงกับยาแก้ปวด

          แน่นอนว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องทานยาเป็นประจำในช่วงเวลาหลังอาหาร เพื่อควบคุมความดันโลหิต แต่ด้วยที่ว่ากลุ่มผู้ป่วยโรคนี้ก็มักมีอาการปวดเมื่อยตามข้อ ก็มักจะทานยาแก้ปวดเพื่อช่วยบรรเทาอาหารปวดเมื่อด้วยเช่นกัน แต่ยาแก้ปวดเองก็มีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหดตัว เมื่อทานยาทั้งสองชนิดเข้าไปในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน หรือติดต่อกันเป็นระยะเวลานานก็อาจมีผลทำให้ไปกดฤทธิ์ยาลดความดันโลหิต ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถลดความดันโลหิตได้

ยาลดความดันโลหิตสูงกับยาแก้แพ้อากาศ

          เช่นเคยที่ว่ายาลดความดันโลหิตสูงที่มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด ในขณะที่ยาลดอาการแพ้หรือแก้แพ้ที่เราคุ้นเคยกันดีในการแก้อาการแพ้ จาม น้ำมูกไหล เป็นหวัด คัดจมูก มีฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหดตัว ซึ่งหากรับประทานคู่กันไประยะเวลานานก็มีผลเสียทำให้ยาตีกันและทำให้ควบคุมความดันไม่ได้

ยารักษาโรคเบาหวานกับยาแก้แพ้อากาศ

          ผู้ป่วยเบาหวานมีความจำเป็นที่ต้องกินยาควบคุมไว้ตลอด ซึ่งตามปกติก็อาจเป็นไปได้ที่ผู้ป่วยก็อาจมีภาวะอาการป่วยแทรกซ้อนเช่น การเป็นหวัดคัดจมูก ก็จำเป็นต้องใช้ยาแก้แพ้เพื่อรักษาอาการ ทั้งนี้ยาแก้แพ้มีผลต่อการเพิ่มระดับอุณหภูมิในเลือด โดยอาจจะส่งผลให้ยาที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานรับประทานอยู่นั้นซึ่งมีการการออกฤทธิ์ของยาลดน้ำตาลในเลือดมีประสิทธิภาพลดลง

ยาแก้ท้องเสียชนิดคาร์บอนกับยาเบาหวานและยาลดความดันโลหิตสูง

          ยาแก้ท้องเสียชนิดคาร์บอนมีฤทธิ์ช่วยดูดสารพิษ และเมื่อทานยาลดความดันโลหิตหรือยาลดระดับน้ำตาลในเลือด คาร์บอนจะเข้าไปดูดซับยาชนิดที่กล่าวไป ซึ่งมีผลต่อการทำงานของตัวยาคือประสิทธิภาพของยาทำงานได้น้อยลง 

ยาปฏิชีวนะกลุ่มฆ่าเชื้อบางชนิดกับยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

          ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาจมีความจำเป็นที่ต้องทานยาลดกรดเป็นประจำ ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีภาวะอาการท้องเสียจึงต้องทานยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ แต่เนื่องด้วยยาลดกรดจะมีแร่ธาตุพวกแคลเซียม อลูมิเนียม ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้อาจไปจับกลุ่มยาฆ่าเชื้อ ทำให้ยาฆ่าเชื้อมีประสิทธิภาพการทำงานลดลง

ยาแก้ปวดไมเกรนกับยาต้านไวรัสเอดส์บางกลุ่ม

          ผู้ป่วยที่มีเชื้อ HIV อยู่ในร่างกาย หรือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเป็นโรคเอดส์ ซึ่งมีความจำเป็นต้องทานยาต้านไวรัสอยู่เป็นประจำทุกวัน เช่น กลุ่มยาต้านไวรัสสูตรที่มียา เอฟฟาไวเรนซ์ ( Efavirenze) หรือมียากลุ่มพีไอ (PIs) เช่น โลพินาเวียร์/ริโทนาเวียร์ (Lopinavir/ritonavir), อทาสนาเวียร์ (Atasnavir), ดารุนาเวียร์ (Darunavir) เป็นต้น มีข้อห้ามที่ควรรู้ไว้เป็นอย่างยิ่งคือ ห้ามรับประทานยารักษาอาการไมเกรนกลุ่มเออร์กอต (Ergot) เช่น คาเฟอร์กอต (Cafergot), เออร์โกมาร์ (Ergomar) โดยเด็ดขาด เพราะตัวยามีผลตีกันอย่างรุนแรงทำให้เกิดอาการชาปลายมือปลายเท้า อาการแขนขาอ่อนแรง ผิวหนังบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้าจะมีสีม่วงคล้ำขึ้นจนเปลี่ยนเป็นสีดำที่เรียกว่า เกิดเนื้อตาย ซึ่งมีความจำเป็นต้องตัดแขนตัดขาทิ้งในที่สุด

         นอกจากนี้เรายังพบการตีกันระหว่างกลุ่มสารอาหารประเภทต่าง ๆ กับยาชนิดต่าง ๆ ยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

น้ำมันปลากับยาแอสไพริน

        น้ำมันปลาซึ่งมีฤทธิ์ช่วยให้เลือดใส ส่วนแอสไพรินยากลุ่มต้านการอักเสบ ทั้งสองชนิดมีฤทธิ์ในการยับยั้งการแข็งตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง

แคลเซียมในธรรมชาติกับแคลเซียมชนิดผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

        ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีสารอาหารชนิดแคลเซียมเพียงพออยู่แล้ว หรือเกินที่ปริมาณที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ หากเราทานแคลเซียมชนิดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อาจอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ชนิดเม็ดนั้น ก็จะทำให้ร่างกายอาจได้รับแคลเซียมมากเกินไป และไปจับกับหลอดเลือดทำให้ตับแข็งได้

ธาตุเหล็กกับเลือดจางธาลัสซีเมีย(ยาบำรุงเลือด)

        ความเชื่อที่ว่าถ้าเลือดจางต้องกินธาตุเหล็กอาจใช้ไม่ได้ผลเสมอไป เพราะหากผู้ป่วยโรคเลือดจางชนิดธาลัสซีเมียทานอาหารเสริมที่เป็นธาตุเหล็กเพิ่มเข้าไปในร่างกาย ซึ่งเป็นปริมาณที่มากเกินไปสำหรับร่างกายและมีผลร้ายกับอวัยวะภายในร่างกายอย่างหัวใจและตับได้

การแพ้ยา

         การแพ้ยาเกิดจากกระบวนการในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอย่างเฉียบพลันหลังจากได้รับยา เป็นการเกิดเฉพาะรายเฉพาะบุคคล จึงมีโอกาสในการเกิดและระดับความรุนแรงของอาการแตกต่างกันไป ซึ่งเป็นผลมากจากฤทธิ์ของยาที่รับประทาน กับการไม่ตอบสนองจนเกิดอาการแพ้ตั้งแต่เล็กน้อยถึงขั้นรุนแรง  และไม่สามารถทราบได้ล่วงหน้า อาการที่ควรสังเกตที่อาจเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากใช้ยา ประกอบด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งคือ ผื่นลมพิษ เปลือกตาบวม หน้าบวม หายใจมีเสียงผิดปกติ (เสียงหวีดหวิว) หายใจลำบาก หน้ามืดเป็นลม ความดันโลหิตต่ำ มีผื่นหรือผิวหนังลอกบริเวณปาก เป็นต้น

         ดังนั้นท่านผู้อ่านทุกท่านควรตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ควรสอบถามและศึกษาข้อมูลชนิดของยาที่ใช้อยู่เป็นประจำว่ามีข้อปฏิบัติและข้อห้ามอย่างไรบ้าง การรับการรักษาจากหลายสถานพยาบาลก็ควรแจ้งแก่แพทย์ผู้รักษาว่าเราทานยาอะไรอยู่บ้าง แพ้ยาอะไรบ้าง  และไม่ควรซื้อยาและอาหารเสริมมากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

แหล่งที่มา

นพ.กฤษดา ศิรามพุช. ยาที่ไม่ควรกินคู่กัน. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
         http://medinfo2.psu.ac.th/shf/data/pr55_MayJun.pdf

ยาตีกัน...ยาตัวไหน ห้ามกินกับตัวไหน???. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
         http://oknation.nationtv.tv/blog/DIVING/2013/03/26/entry-1

เภสัชกรหญิงทิพวรรณ   วงเวียน. อันตราย...จากยาตีกัน. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
         http://www.somdej.or.th/index.php/2016-01-18-07-17-40

ยาต้านไวรัส HIV ที่ห้ามกินร่วมกับยาไมเกรน. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561, จาก
         http://www.fortkawila.com/home/?p=1577

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ยา, ยารักษาโรค, แพ้ยา, ยาตีกัน, อันตรายจากการใช้ยา
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันจันทร์, 11 มิถุนายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
ณัฐดนัย เนียมทอง
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ช่วงชั้น
ทุกช่วงชั้น
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7949 อันตรายจากยาที่ไม่ควรทานคู่กัน /article-science/item/7949-2018-03-20-08-21-06
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)