logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อแมลงหายไปจากโลกนี้?

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 06 สิงหาคม 2561
Hits
22883

 

       สะบัดตัวหรือใช้นิ้วดีดแมลงออกไปให้ไกลตัวเป็นปฏิกิริยาที่พบเห็นได้ทั่วไปในผู้คนที่รู้สึกว่ามีแมลงกำลังคลานอยู่บนลำตัวของเขา ความรู้สึกขยะแขยงนี้ ไม่เพียงแต่เป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับแมลง แต่อาจเป็นเรื่องที่ทำให้มนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อาศัยร่วมกันอยู่บนโลกใบนี้ประสบกับปัญหาที่เลวร้ายได้หากไม่มีพวกมันเป็นเพื่อนร่วมโลก

7936 1

ภาพที่ 1 แมลงช่วยผสมเกสร
ที่มา Myriams-Fotos/Pixabay

       หลายคนอาจไม่เคยคิดถึงความสำคัญของสัตว์ตัวเล็กๆ ที่มีต่อโลกและความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์มนุษย์ แต่เป็นเรื่องจริงที่ว่าชีวิตทุกชีวิตบนโลกจะต้องสิ้นสุดลงเมื่อไม่มีแมลงอยู่ในระบบนิเวศ และเพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น สิ่งแรกที่ควรทราบคือ แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ซึ่งเมื่อเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยแล้ว ส่วนของร่างกายจะแบ่งได้เป็น 3 ส่วนคือ ส่วนหัว ทรวงอก และช่องท้อง มีหนวด 1 คู่ และมีขาสามคู่ ทั้งยังเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนและความหลากหลายมากที่สุดในโลก

       แมลงเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญต่อห่วงโซ่อาหาร (Food chain) เพราะไม่เพียงแต่เป็นอาหารให้กับมนุษย์ที่ชื่นชอบการรับประทานแมลง สิ่งมีชีวิตเช่น นกขนาดเล็ก กบ สัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำชนิดอื่นๆ หรือแม้แต่สัตว์ที่เป็นอาหารของมนุษย์ก็มีชีวิตรอดอยู่ได้ด้วยการกินแมลงหรือกินพืชผักผลไม้ที่ต้องอาศัยแมลงช่วยในการสืบพันธุ์พืชเป็นอาหาร

        อาจเป็นเรื่องดีที่ไม่ต้องมียุงบินหึ่งๆ อยู่ข้างหูให้รู้สึกรำคาญ ไม่มีแมลงวันบินวนเวียนอยู่บนหัว ไม่มีต่อแตนหรือแมลงอื่น ๆ ที่เป็นพาหะของโรคติดต่อร้ายแรงเช่น โรคไข้เลือดออก ที่ฆ่าชีวิตผู้คนนับแสนในแต่ละปี และเกษตรกรก็ไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันแมลงที่มาก่อกวนพืชผลทางการเกษตร แต่หากว่าเป็นเช่นนั้น อาหารสำหรับดำรงชีพก็คงไม่มีเช่นกัน เนื่องจากร้อยละ 50-90 ของแหล่งอาหารของมนุษย์มาจากพืชดอก (Angiosperm) ที่ต้องอาศัยผึ้ง ผีเสื้อ หรือแมลงอื่น ๆ ช่วยในการถ่ายละอองเรณู และแม้ว่าลมหรือสัตว์อื่นๆ อาจช่วยในการผสมเกสรได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วหน้าที่ดังกล่าวเป็นของแมลง ดังนั้นหากไม่มีแมลงคอยช่วยถ่ายละอองเรณูในพืชดอก สัตว์ที่กินแมลงหรือนกขนาดเล็กจำนวนมากก็จะหายไป และแม้แต่สัตว์ที่ไม่กินแมลงก็จะไม่มีพืชผักหรือผลไม้ให้กินเป็นอาหาร สุดท้ายแล้วมนุษย์ก็จะไม่มีอาหารเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิต จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ผลกระทบของการหายไปของสัตว์ขนาดเล็กเช่นแมลงนั้นส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตอย่างต่อเนื่องกันเป็นผลกระทบแบบโดมิโน (Domino effect)

         นอกจากนี้แมลงยังมีความสำคัญต่อกระบวนการย่อยสารอินทรีย์อย่างซากพืชและซากสัตว์ให้กลายเป็นธาตุอาหารในดิน ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของพืชต่างๆ และสร้างความสมดุลให้กับสิ่งแวดล้อม เช่นนั้นแล้วหากไม่มีแมลง สิ่งมีชีวิตที่หมดอายุขัยคงเน่าเปื่อยได้ช้าลง หรือมากไปกว่านั้น สิ่งที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของมนุษย์และมีความสำคัญอย่างมากต่อการค้าอย่าง ผ้าไหมและน้ำผึ้ง ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแมลงก็คงเป็นเพียงตำนานเช่นกัน อย่างไรก็ดีหากได้ติดตามข่าวสารจะทราบว่า ในปัจจุบัน จำนวนประชากรผึ้งกำลังลดลงอย่างมาก เนื่องจากการได้รับสารเคมีจากการทำเกษตรกรรม การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการสูญเสียที่อยู่อาศัย

       ดังนั้นในครั้งถัดไปที่พบเห็นว่ามีแมลงบินวนเวียนอยู่ใกล้ ๆ ตัวคุณ เปลี่ยนวิธีลดความรำคาญด้วยการตบหรือตีพวกมันเป็นการเอาถ้วยมาครอบหรือใช้กระดาษสักแผ่นช่วยนำมันไปปล่อยมันคืนสู่ธรรมชาติจะเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะไม่เพียงแต่ช่วยให้อาหารมีเพียงพอสำหรับสิ่งมีชีวิตในระบบแล้ว ยังเป็นการช่วยชีวิตเพื่อนที่เราแบ่งพื้นที่บนโลกใบนี้ในการอาศัยอยู่ร่วมกันอีกด้วย

แหล่งที่มา

Insect.
      Retrieved March 3, 2018,
      from https://en.wikipedia.org/wiki/Insect

Adam Hadhazy. (2015, 11 November). What If All of Earth's Insects Keeled Over?
      Retrieved March 3, 2018,
      from https://www.livescience.com/52752-what-if-all-insects-died.html

CHRIS OPFER. What if insects disappeared from the planet?
     Retrieved March 3, 2018,
     from https://science.howstuffworks.com/science-vs-myth/what-if/what-if-insects-disappeared-from-planet.htm

Elina L. Niño. (2016, 24 May). Deciphering the mysterious decline of honey bees.
     Retrieved March 3, 2018,
     from https://theconversation.com/deciphering-the-mysterious-decline-of-honey-bees-56648

 

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
แมลง, ห่วงโซ่อาหาร
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 10 เมษายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 7936 อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อแมลงหายไปจากโลกนี้? /article-science/item/7936-2018-03-20-03-50-31
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)