logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • คำถามที่พบบ่อย
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ

  • คำถามที่พบบ่อย
  • สมัครสมาชิก
  • Forgot your password?
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

ยุง!! ทำไมชอบดูดเลือด

โดย :
Jiraporn Pakorn
เมื่อ :
วันศุกร์, 17 มีนาคม 2560
Hits
26926

 

1

ยุง!!  ทำไมชอบดูดเลือด

โลกเของเรามียุงอยู่ประมาณ 3,000 ชนิด เชื่อกันว่าโลกของเรามียุงมาตั้งแต่ 30 ล้านปีก่อน ยุงตัวเมียเท่านั้นที่ดูดเลือดกินเป็นอาหาร เนื่องจากมันอาศัยโปรตีน และธาตุเหล็กที่อยู่ในเลือดเพื่อสร้างไข่ของมันหลายๆ คนคงอยากจะรู้ว่า ยุง(ตัวเมีย) เสาะหาอาหาร (ซึ่งก็คือเลือด)ได้อย่างไร คำตอบก็คือมันมี Chemical Sensors ซึ่งสามารถตรวจจับคาร์บอนไดออกไซด์และกรด Lactic ได้ในระยะไกลถึง 100 ฟุต หลังจากที่มันจับสัญญานได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่ใกล้เคียง (สิ่งมีชีวิตหายใจออกมาเป็นก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์) มันก็จะอาศัยจมูกของมันนำทางไปยังเหยื่อของมันทันที ในขณะที่ยุงดูดเลือด เพื่อให้การดูดเลือดของมันสะดวกขึ้น มันจะปล่อยโปรตีนชนิดหนึ่งออกมาซึ่งมีผลกับการแข็งตัวของเลือด และทำให้เรารู้สึกคัน 

Picture1

ภาพเมื่อยุงใช้งวง จิ้มผ่านผิวหนัง เข้าสู่เส้นเลือดของเรา

พวกเราหลายคนคงสัยสัยกันว่าทำไมบางคนจะถูกยุงกัดมากกว่าคนอื่น และมักจะได้รับการอธิบายว่าเป็นคนที่แพ้ยุง ความจริงแล้วสาเหตูเกิดจากยุงใช้จมูกของมันในการเลือกเหยื่อ หลังจากที่มันจับสัญญานสิ่งมีชีวิตโดย Chemical Sensors แล้วมันก็จะบินตรงไปที่จุดที่มีสิ่งชีวิต ระบบ odor-based navigation system ก็จะทำงานเพื่อเลือกเหยื่ออันโอชะทันที จมูกของยุงจะมีปฏิกิริยากับกลิ่นจากส่วนประกอบทางเคมี ที่ขับออกจากร่างกายของเราทางผิวหนัง และใครบางคนที่ถูกยุงกัดบ่อยกว่าคนอื่นก็เพราะยุงชอบกลิ่น ที่เกิดจากส่วนประกอบทางเคมีที่ ผิวหนังของคนผู้นั้นขับออกมามากกว่าคนอื่น

ความจริงยุงไม่ได้กัดเรา แต่ ยุงใช้งวงจิ้มผ่านผิวหนังด้านนอก เหมือนอย่างที่เราใช้หลอดดูดน้ำ เมื่อผ่านผิวหนังชั้นนอกมันจะใช้งวงหาเส้นเลือดในผิวหนัง ชั้น dermal layer เมื่อยุงพบเส้นเลือดมันจะปล่อยน้ำลายออกมา ในน้ำลายยุงจะมีสาร Anti-coagulant ซึ่งจะช่วยให้เลือดไหลโดยไม่แข็งตัวให้ ยุง สามารถดูดกินได้อย่างสบายพุง แดงๆของมัน เมื่อระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของเรา รู้สึกถึงสิ่งแปลกปลอม ที่ บุกรุกสู่ร่างกาย ร่างกายจะสร้างสาร Histamine ขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม  ระดับ Histamine ที่เพิ่มขึ้นบริเวณที่ถูกยุงกัด เป็นเหตุให้หลอดเลือดในบริเวณนั้นขยายตัว ทำให้เกิดอาการบวมแดง ทำให้เส้นประสาทในบริเวณนั้นได้รับการกระตุ้น และ ระคายเคือง อย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการคันขึ้น

การกินเลือดของยุงแต่ละครั้งมีปัญหาสำคัญคือเรื่องของอุณหภูมิ ยุงเป็นสัตว์เลือดเย็นที่อุณหภูมิในร่างกายจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิแวดล้อม ดังนั้นเลือดร้อนๆ ที่ยุงซดเข้าไปทุกอึกจะส่งผลให้อุณหภูมิร่างกายของยุงเพิ่มขึ้น ถ้าหากร้อนมากเกินไป ยุงก็อาจตายได้

ทีมวิจัยที่นำโดย Claudio Lazzari แห่ง University of Tours ของประเทศฝรั่งเศส พบว่าเลือดที่ยุงปล่อยออกมาทางก้นขณะที่ดูดเลือดมีส่วนช่วยไม่ให้ร่างกายยุงร้อนเกินไป

จากการทดลองโดยให้ยุงสองชนิด คือ ยุงลาย Aedes aegypti และยุงก้นปล่อง Anopheles stephensi กินเลือดแล้วจับภาพอุณหภูมิด้วยกล้องอินฟราเรด ผลปรากฏว่ายุงก้นปล่องที่มีนิสัยชอบปล่อยเลือดออกมาทางก้นขณะกินอาหารมีอุณหภูมิร่างกายคงที่มากกว่ายุงลายซึ่งไม่ปล่อยเลือดออกมา

นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่าการระเหยของเลือดซึ่งเป็นของเหลวช่วยลดอุณหภูมิร่างกายของยุงได้ ท่าทางการกินเลือดของยุงก้นปล่องก็จะชูก้นตั้งฉากกับผิวหนังของเหยื่อที่ยุงกัดอยู่แล้ว ทำให้เลือดที่ปล่อยออกมาจากก้นจะอาบล้อมส่วนท้องของยุงเอาไว้ เป็นตัวระบายความร้อนตามธรรมชาติ

งานวิจัยก่อนหน้านี้โดยทีมของ David Denlinger แห่ง Ohio State University ก็มีการค้นพบว่ายุงมีกลไกทางชีวเคมีเพื่อรับมือกับความร้อนของเลือดด้วยโปรตีนที่เรียกว่า heat shock protein

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสรีรวิทยาของยุงจะมีส่วนช่วยในการควบคุมยุงและเชื้อโรคที่มันเป็นพาหะในอนาคต แต่ว่าจะมีส่วนช่วยได้มากน้อยแค่ไหน ไม่มีใครรู้

ส่วนยุงเพศผู้ไม่ดูดเลือดเมื่อผสมพันธุ์แล้วก็จะตายไป และน้ำหวานจากดอกไม้ (nectar)  น้ำจากพืชผักผลไม้ (juices)  อันที่จริงยุงบางสายพันธุ์ทั้งตัวเมียและตัวผู้ล้วนกินน้ำหวานดอกไม้และน้ำ ผักผลไม้เป็นอาหาร ยุงตัวเมียจะดื่มเลือดเฉพาะช่วงเวลาที่พวกเธอวางไข่เท่านั้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://www.gotoknow.org/posts/384660

http://www.prd.go.th/ewt_news.php?nid=57762

COSMOS Magazine

http://wowboom.blogspot.com/2010/08/why-do-mosquito-bites-itch.html

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ยุง,ดูด,เลือด
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 03 มีนาคม 2560
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
Jiraporn Pakorn
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 6726 ยุง!! ทำไมชอบดูดเลือด /article-science/item/6726-2017-03-17-03-57-55
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)