logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • ทำไม??เราถึงจำเหตุการณ์ในวัยเด็กไม่ได้

ทำไม??เราถึงจำเหตุการณ์ในวัยเด็กไม่ได้

โดย :
Jiraporn Pakorn
เมื่อ :
วันศุกร์, 06 มีนาคม 2558
Hits
33882

ทำไม??เราถึงจำเหตุการณ์ช่วงวัยเด็กเล็กไม่ได้เลย แต่พอโตขึ้นเราก็เริ่มจำรายละเอียดวัยต่างๆ ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งหมดนี้เกี่ยวกับเรื่องพัฒนาการระบบความจำของคนเรานั่นเอง

มีคนจำนวนน้อยมาก ที่จะจำเรื่องราวในวัยเด็กตอนอายุก่อน 4 ขวบได้ เพราะในวัยนี้ระบบความจำในสมองยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ยิ่งในช่วง 2 ปีแรก สมองส่วนฮิปโปแคมปัส (ส่วนที่สร้างความทรงจำระยะยาวและการเรียนรู้) และอะมิกดาลา(ส่วนที่สำคัญในการควบคุมระบบความจำ) เพิ่งเริ่มพัฒนาตามวัยค่ะ      
- วันเกิดขวบแรก แทบจะไม่มีใครจำเหตุการณ์ได้เลยว่าตอนนั้นเป็นยังไง ทำอะไร นอนกี่โมง แม่อาบน้ำให้เรายังไง
- วันเกิดขวบที่สอง ช่วงนี้อาจจะจำรายละเอียดเล็กๆ ในด้านอารมณ์ความรู้สึกได้บ้าง แต่ความจำตรงนี้อยู่ได้ประมาณ 1-2 อาทิตย์หรือเดือนนึง จากนั้นก็จะค่อยๆ เลือนหายไป แล้วในที่สุดก็หายไปเลย กลายเป็นจำไม่ได้ 
ดังนั้นการที่จำอะไรในช่วงนั้นไม่ได้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย เพราะสมองเราแทบจะบันทึกอะไรไว้ไม่ได้เลยนั่นเอง ทั้งความจำที่อาศัยประสบการณ์ (Episodic memory) และ การจำความหมาย (Semantic memory)


ช่วงที่เริ่มจดจำอะไรต่างๆ ได้บ้างแล้ว ก็คือ ตอนอายุประมาณ 4 ขวบ ระบบความจำจะพัฒนาอย่างเต็มที่ และนี่อาจเป็นเหตุผลด้วยว่าทำไมเราถึงต้องเริ่มเรียนกันในช่วงนี้ เราจะเริ่มจำเหตุการณ์ในห้องเรียนวัยอนุบาลได้บางเหตุการณ์  แต่ก็มีข้อแม้ว่า จำได้แค่ความทรงจำสั้นๆ เรื่องไม่ปะติดปะต่อ นึกได้เป็นเรื่องๆ ไป เช่น จำเพื่อนร่วมห้องได้ จำครูได้ จำวิธีไปโรงเรียนได้ จำได้ว่าเรียนแล้วได้นอนกลางวันด้วย แต่ประเภทที่ว่าจำรายละเอียดวันใดวันหนึ่งทั้งวันในวัยเด็ก หรือเรียงลำดับเหตุการณ์ ก็ยังเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้อยู่ดีค่ะ

หลังจากนั้นเมื่อโตขึ้นเรื่อยๆ สมองที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำจะทำงานเต็มที่ อะไรที่ผ่านเข้ามาในชีวิต กระบวนการในระบบความจำ ก็จะเปลี่ยนจากข้อมูลที่ได้รับจากประสาทสัมผัสต่างๆ ไปเป็นข้อมูลบันทึกไว้ในความจำ โดยปกติเมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ความทรงจำระยะยาวจะยังไม่เกิดขึ้นหรอกค่ะ แต่ข้อมูลความจำจะย้ายเข้าไปในระบบความทรงจำระยะยาวอย่างช้าๆ ยิ่งเหตุการณ์ไหนที่มีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกก็จะยิ่งจดจำได้แม่นและยาวนานขึ้น ลองสังเกตดูว่าเรื่องที่เราจำได้แต่ละอย่าง ถ้าไม่ใช่ดีใจแบบสุดขีด ก็เสียใจแบบสุดๆ หรือไม่ก็เป็นเรื่องที่ประทับใจ หรือมีผลต่อชีวิตของเรามากๆ เช่น ความรู้สึกตอนขับรถออกถนนครั้งแรก ประสบการณ์ไปเรียนโรงเรียนใหม่วันแรก เป็นต้น

ภาวะการจดจำได้ในเด็กทารก หมายถึง การจำได้ว่าเคยได้เห็นหรือเคยได้ยินอะไร ไม่ใช่แค่เคยทำแต่เพียงอย่างเดียว เมื่อเด็กอายุ 3-4 เดือน เด็กทารกจะสามารถจ้องมอง หรือเปล่งเสียง คล้ายกับว่าสนใจและมีความสนุกสนานเมื่อเราโชว์รูปหรือของต่างๆ รวมทั้งสามารถจำภาพดังกล่าวได้ในอีกหลายนาทีต่อมา ส่วนเด็กที่อายุ 5 เดือนขึ้นไปสามารถจำรูปภาพนั้นได้เกือบ 2 อาทิตย์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า การจำความได้ในทารกนั้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่สมองได้รับการกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมใหม่ๆนั่นเอง ดังนั้นถ้าคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกมีความสนใจใฝ่รู้ในสิ่งใหม่ๆแล้ว  คุณพ่อคุณแม่อาจจะเริ่มต้นโดยการลองเปลี่ยนที่วางของเล่นสลับไปสลับมาทุกๆ 2-3 อาทิตย์ เพราะของเล่นบางอย่างเมื่อเล่นนานๆเด็กอาจจะรู้สึกเบื่อ แต่เมื่อนำกลับมาเล่นอีกใน 2 อาทิตย์ต่อมา ก็อาจช่วยให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเล่นใหม่ได้

และมีความเชื่อที่ว่า เด็กจะจำความได้เมื่ออายุ 3 ปีขึ้นไป กลายเป็นสมมติฐานที่ผิดไปเสียแล้ว เมื่อมีนักประสาทชีววิทยาจาก Chicago Medical School ได้กล่าวไว้ในงานวิจัยเมื่อเกือบ 10 ปีก่อนว่า จริงๆแล้ว เด็กทารกมีความสามารถจะจดจำและนำข้อมูลกลับมาใช้ได้ประหนึ่งการเรียนรู้คือกลีบดอกกุหลาบ คือเป็นขั้นๆทีละชั้นและไม่ซับซ้อนมากนั่นเอง ซึ่งหมายความว่า กลีบกุหลาบชั้นในๆนั้นก็เหมือนความทรงจำที่ต้องใช้เวลาในการดึงกลับออกมานั่นเอง

ตัวอย่างเช่น เมื่อเด็กอายุ 2 เดือน เด็กสามารถจดจำจากจิตใต้สำนึกที่ว่า รางวัลจะมาพร้อมกับการกระทำบางอย่าง เด็กจะมีการลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆจนกระทั่งรู้อย่างแน่ชัดว่า การกระทำใดทำให้ได้รับรางวัลกันแน่ สมมติว่า ถ้าเราผูกเชือกที่ข้อเท้าเด็ก 2 เดือนไว้กับสายของลูกโป่ง เด็กจะรู้ได้เกือบจะทันทีว่าการถีบทำให้สายลูกโป่งนั้นเลื่อนออกจากข้อเท้าของตนเองได้ และยังคงจำได้ในวันหรือสองวันต่อมา เมื่อเด็กเห็นสายลูกโป่งซึ่งแม้จะไม่ได้ผูกไว้ที่ขา เด็กจะจำได้ทันทีว่าน่าจะต้องถีบขาตัวเอง ในขณะที่เด็ก 3 เดือนอาจจะจำทริกนี้ได้เป็นอาทิตย์ ส่วนเด็ก 6 เดือนสามารถจำได้ถึง 2 อาทิตย์เป็นต้น แต่ต้องเข้าใจว่า ความสามารถในการจดจำนี้เป็นเรื่องเฉพาะบุคคลและเฉพาะวิธีการ คือถ้าเปลี่ยนวิธีการผูกเชือกอาจทำให้เด็กลืมวิธีการในการแก้เชือกโดยเบื้องต้นได้


ความทรงจำในวัยเด็ก . . . อยู่ไหน


เจ้าของทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ซิกมันด์ ฟรอยด์ เชื่อว่า การที่เราไม่สามารถจำเหตุการณ์ในวัยเด็กได้ เนื่องจากว่าความทรงจำในช่วงแรก ๆ ของเรานั้นโดนกดเอาไว้หรือไม่ก็ถูกแทนที่ด้วยความจำที่มากมายและซับซ้อนกว่า ในช่วงเวลาต่อมา และความทรงจำที่ถูกกดไว้นั้นก็ได้แสดงออกเป็นลักษณะตัวตนของเราเมื่อโตขึ้น

แต่มีการศึกษาเกี่ยวกับสมองที่พบว่าการที่เราไม่สามารถจดจำเรื่องราวในวัย ทารกได้เนื่องจากสมองที่เกี่ยวกับความทรงจำระยะยาวนั้นยังพัฒนาได้ไม่เต็ม ที่ แต่ทารกก็สามารถเรียนรู้และจดจำในช่วงเวลาสั้น ๆ ได้

การที่เราเรียนรู้และพัฒนาทักษะบางอย่างในช่วงวัยทารกไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ยืน เดิน หรือส่งเสียงเพื่อการสื่อสารนั้น ต้องอาศัยความจำทั้งสิ้น นั่นคือจำว่าเดินอย่างไรหรือส่งเสียงอย่างไร ซึ่งเป็นเสมือนฐานที่ทำให้เราเติบโตและมีพัฒนาการต่อๆมาค่ะ

เราคงไม่สามารถจะจดจำเรื่องราวได้ทั้งหมด ดังนั้นหากได้เก็บความทรงจำที่ดีๆ ผ่านสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นรูปถ่าย หรือของที่ระลึกต่างๆ เมื่อย้อนกลับไป แม้จะจำเรื่องราวไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็จะทำให้เรื่องราวที่ผ่านมาเป็นความทรงจำที่ล้ำค่า และเป็นบทเรียนชีวิตที่ไม่อาจย้อนเวลากลับไปแก้ไขเรื่องราวได้

 

ขอขอบคุณข้อมุลจาก

http://www.wesunchild.com/

http://women.kapook.com/view12266.html

https://doctorpariie.wordpress.com/2013/03/07/2/

http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/nervous/4_2.htm

นิตยสาร Science Illustrated ฉบับ เดือนมกราคม 2557

(2557). จริงหรือที่ว่า...คนเราไม่สามารถจำเหตุการณ์ช่วงสี่ปีแรกของชีวิตได้.  ไซแอนซ์ อิลลัสเตรเต็ด (Science Illustrated). 31, 25.

ขอขอบคุณรูปภาพจาก

ecmhc.org

http://taamkru.com/th/

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ทำไม,เหตุการณ์,วัยเด็ก
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 06 มีนาคม 2558
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
Jiraporn Pakorn
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 4709 ทำไม??เราถึงจำเหตุการณ์ในวัยเด็กไม่ได้ /article-science/item/4709-2015-03-06-06-28-48
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
ว่าด้วยเรื่องของ “ไฝ”
ว่าด้วยเรื่องของ “ไฝ”
Hits ฮิต (23335)
ให้คะแนน
ว่าด้วยเรื่องของ 'ไฝ' การมีไฝนั้นเป็นความเชื่อมาตั้งแต่โบราณว่าคนที่มีปานหรือไฝตามจุดต่าง ๆ ของร่าง ...
มารู้จักผึ้งในเมืองไทย
มารู้จักผึ้งในเมืองไทย
Hits ฮิต (119688)
ให้คะแนน
....มารู้จัก ผึ้งในเมืองไทย... สุนทร ตรีนันทวัน สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่จัดเป็นสัตว์สังคมการเป็นอยู ...
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้
Hits ฮิต (42322)
ให้คะแนน
สารพิษ ในหัวกลอย กินแล้วอาจตายได้ สุนทร ตรีนันทวัน เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เรื่องหนึ่ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)