logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
ลงชื่อเข้าสู่ระบบ
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

เกร็ดน่ารู้ของ...แว่นตา

โดย :
Administrator
เมื่อ :
วันศุกร์, 08 กุมภาพันธ์ 2556
Hits
18399


หลากคำถามเกี่ยวกับการใส่แว่นตา การตัดแว่นตา รวมทั้งการดูแลรักษา ที่หลายคนอยากรู้ และสงสัย วันนี้ คุณหมอจะมาให้คำตอบกันค่ะ


การวัดสายตา จำเป็นต้องวัดกับจักษุแพทย์หรือไม่

การวัดสายตาประกอบแว่น เป็นวิธีการแก้ปัญหาสายตาสั้น ยาว หรือเอียงที่ยังได้รับความนิยมมาก แม้จะมีวิธีการอื่น เช่น คอนแทคเลนส์ หรือการใช้เลเซอร์ผ่าตัดแก้สายตา
การวัดระดับสายตาผิดปกติในปัจจุบัน นิยมใช้เครื่องวัดสายตาอัตโนมัติ ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั้งในโรงพยาบาลและร้านแว่นตาทั่วไป แต่ในสภาวะความเป็นจริง กำลังสายตาผิดปกติที่ทดสอบได้จากเครื่องเป็นเพียงค่าประมาณขึ้นกับการเพ่งของสายตาขณะตรวจ ซึ่งการสั่งตัดแว่นยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมด้วยอีกมาก

 

ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตา ควรปรึกษาจักษุแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องและได้รับแว่นตาที่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กที่สงสัยว่ามีสายตาผิดปกติ ต้องรับการตรวจสายตาจากจักษุแพทย์หลังการหยอดยาคลายการเพ่งของตาก่อนเสมอ จึงจะได้เบอร์ของแว่นตาที่ถูกต้องสำหรับเด็กเท่านั้น

หลักการเลือกกรอบแว่นตา
การเลือกกรอบแว่นที่ดีจะมีส่วนช่วยให้ผู้ใส่แว่นตาสามารถปรับตัวเข้ากับแว่นได้ดี นอกจากนั้นยังอาจมีส่วนช่วยเสริมให้ใบหน้าดูดีขึ้นได้ โดยมีหลักการที่ควรทราบคือ
1. ในผู้ที่เริ่มใส่แว่นตา เด็ก หรือมีสายตาผิดปกติมาก ไม่ควรเลือกกรอบที่มีขนาดใหญ่เกินไป เพราะทำให้ต้องใช้เลนส์ขนาดใหญ่ตามขนาดกรอบ จึงหนัก ใส่ไม่สบาย และแว่นจะห้อยต่ำลงมา
2. การเลือกกรอบแว่นเพื่อเหตุผลทางด้านความสวยงาม ได้แก่

คนหน้ายาว ให้ใช้กรอบที่แนวนอนยาวกว่าแนวตั้ง เพื่อให้หน้าดูยาวน้อยลง ส่วนคนใบหน้าแคบ ใช้กรอบแว่นใหญ่ จะดึงความสนใจของผู้พบเห็นไปได้
คนหน้ารูป 3 เหลี่ยม หรือ 4 เหลี่ยม ควรเลือกแว่นทรงกลม หรือทรงรี หรือกรอบโลหะ หลีกเลี่ยงแว่นลักษณะเป็นเหลี่ยม ส่วนคนหน้ากลมควรใช้แว่นทรง 4 เหลี่ยมหรือทรงรี
คนจมูกเล็ก ใช้แว่นที่มีแท่นรองจมูกเล็ก ๆ ส่วนในคนจมูกใหญ่ใช้แว่นที่แท่นรองจมูกต่ำและสีเข้ม

ปัจจุบันนิยมใช้แว่นไร้กรอบ ซึ่งเป็นเทคนิคการทำแว่นโดยไม่ต้องมีกรอบแว่น ทำให้ดูสวยงาม มีน้ำหนักเบา แต่มีราคาแพง ไม่ทนทาน แตกหักง่าย ไม่เหมาะสำหรับเด็กและผู้สวมใส่ที่ชอบเล่นกีฬา

ตัดแว่นตาที่ไหนดี
การตัดแว่นตา หรือการวัดสายตาประกอบแว่น เป็นวิธีแก้ปัญหาตามัวจากสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น ยาว หรือเอียงที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน โดยมีการขายแว่นตาทั้งในโรงพยาบาล คลินิกแพทย์ ร้านแว่นตา จนถึงตามแผงข้างทาง ดังนั้น จึงอาจเกิดความสงสัยว่า เราควรตัดแว่นตาที่ไหนดี

หากกรณีต้องการใส่แว่นเพื่อตามสมัยนิยม อาจสามารถเลือกซื้อแว่นที่ถูกใจจากที่ใดก็ได้ แต่หากมีปัญหาสายตาสั้น หรือเอียงมาก ๆ ปัญหาสายตาในเด็ก หรือผู้ที่มีโรคทางตาอื่น ๆ แนะนำให้พบจักษุแพทย์ก่อนพิจารณาตัดแว่น และวัดสายตาจะปลอดภัยที่สุด

แว่นอ่านหนังสือ ซื้อจากแผงลอยได้หรือไม่
กรณีแว่นอ่านหนังสือที่ซื้อสำเร็จรูปตามแผงทั่วไป เปรียบเสมือนการซื้อเสื้อผ้าโหล อาจไม่พอดีกับสายตาแต่ละคน ต่างจากการวัดสายตาเพื่อประกอบแว่น ก็จะได้เบอร์แว่นที่ตรงกับสายตาของเราเหมือนการวัดตัวตัดเสื้อผ้า แต่ข้อดีของแว่นสำเร็จรูปคือจะมีราคาถูกกว่ามาก

ดังนั้น กรณีแว่นอ่านหนังสือ มักจำเป็นต้องเปลี่ยนทุกปี และต้องใช้เพียงบางเวลา ถ้าสายตาก่อนเริ่มมีสายตายาว ไม่เคยมีปัญหาสายตาสั้นหรือเอียงมาก่อน อาจทดลองเบอร์แว่นสายตายาวสำเร็จรูป ถ้าเบอร์ใดใส่แล้วมองเห็นหนังสือชัดเจนดี ไม่งง หรือเวียนศีรษะ อาจซื้อมาใช้เฉพาะเวลาอ่านหนังสือหรือมองใกล้ๆ ได้

การดูแลรักษาแว่น
1. ควรทำความสะอาดเลนส์แว่นตาด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ แล้วเช็ดด้วยผ้านุ่มๆ เป็นประจำทุกวัน ไม่ใช้สารเคมี หรือแอลกอฮอล์เช็ดแว่น เพราะอาจทำอันตรายต่อเลนส์แว่นหรือสารที่เคลือบอยู่ได้
2. การใส่และถอดแว่น ต้องจับขาแว่นด้วยมือทั้ง 2 ข้าง เพื่อป้องกันขาแว่นหักหรือเบี้ยว และระวังการนอนหรือนั่งทับแว่น เพราะอาจทำให้แว่นบิดเบี้ยวหรือหักได้
3. การวางแว่น ห้ามเอาส่วนเลนส์แว่นคว่ำลง เพราะจะทำให้เป็นรอยขีดข่วนได้ ควรเก็บแว่นในซองแว่น และเมื่อแว่นมีรอยขีดข่วนมาก หรือเริ่มมองเห็นภาพไม่ชัด ควรไปวัดสายตาเพื่อเปลี่ยนแว่นตาใหม่


ขอขอบคุณบทความจาก วิชาการ.คอม

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
น่ารู้,แว่นตา
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 08 กุมภาพันธ์ 2556
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
Administrator
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 3347 เกร็ดน่ารู้ของ...แว่นตา /article-science/item/3347-2013-02-08-07-31-48
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
รู้จักความอัจฉริยะของสมอง
รู้จักความอัจฉริยะของสมอง
Hits ฮิต (31474)
ให้คะแนน
....รู้จักความอัจฉริยะของสมอง.... ปรียานุช ขุนเณร หากเปรียบเทียบโลกใบนี้กับจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพรศา ...
ไข่เยี่ยวม้า ตอนที่ 1
ไข่เยี่ยวม้า ตอนที่ 1
Hits ฮิต (21416)
ให้คะแนน
ไข่เยี่ยวม้า ตอนที่ 1 สุนทร ตรีนันทวัน ไข่เป็นอาหารที่สำคัญของคนเราทุกเพศทุกวัย นอกจากเราจะใช้ไข่ทำ ...
สารซาลิซิน ( SALICIN ) ในเปลือกของต้นหลิว
สารซาลิซิน ( SALICIN ) ในเปลือกของต้นหลิ...
Hits ฮิต (26925)
ให้คะแนน
สารซาลิซิน ( SALICIN ) ในเปลือกของต้นหลิว สุนทร ตรีนันทวัน ในสมัยโบราณเคยมีบันทึกไว้ว่า ชาวกรีก อิน ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ

SciMath ใช้คุกกี้ เพื่อจัดการข้อมูลส่วนบุคคล และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานให้กับผู้ใช้
ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้งาน และ นโยบายความเป็นส่วนตัว

ตกลง
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)